เหล็กเส้น
เหล็กเส้นมีกี่ประเภท แต่ละประเภทใช้งานแตกต่างกันอย่างไร
เหล็กเส้นมีกี่ประเภท แต่ละประเภทใช้งานแตกต่างกันอย่างไร
เหล็กเส้นมีกี่ประเภท แต่ละชนิดใช้งานแตกต่างกันอย่างไร หรือสามารถใช้แทนกันได้หรือไม่..ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับผู้ที่ต้องการนำเหล็กเส้นมาใช้ก่อสร้าง เพราะ เหล็กเส้นมีหลายแบบ หลากหลายชนิดและขนาดก็ต่างกันด้วย รวมถึง ราคาก็ต่างกันเช่นกัน ดังนั้น การรู้จักประเภทของเหล็กเส้น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ต้องการใช้ คือ ได้เหล็กเส้นที่ตรงกับงานก่อสร้างที่ต้องการ, ได้ราคาเหล็กที่เหมาะสมไม่โดนโกง, ได้ขนาดเหล็กที่ถูกสเปคไม่เหลือไม่ขาด แนะนำปรึกษา เลคกล้า ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเหล็ก โดยตรง
เหล็กเส้นกลม
- เหล็กเส้นกลม เหล็กกลม หรือเรียกสั้นๆว่า RB คือ เหล็กเส้นที่มีพื้นที่ภาคตัดขวางเป็นรูปกลม มีลักษณะพื้นผิวที่เรียบเกลี้ยงไม่บิดเบี้ยว มีคุณสมบัติคงทน และสามารถรับแรงได้ดี
- เหล็กเส้นกลมจะมีลักษณะคล้ายกับเหล็กเพลาขาว แต่จะต่างกันที่เกรดเหล็ก โดยเกรดของเหล็กเส้นกลมจะใช้เป็น SR24
- เหล็กเส้นกลมมักนิยมนำไปใช้ในงานคอนกรีตเสริมเหล็ก, งานก่อ ผนังทั่วไป หรือใช้เป็นเหล็กปลอกในคาน ในเสา สาหรับงาน ก่อสร้างขนาดเล็ก และขนาดกลาง
- ขนาดของเหล็กเส้นกลมท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีความยาวความยาว 10 เมตร และ 12 เมตร โดยมีขนาดตั้งแต่ 6 mm. 9 mm. ,12 mm. ,15 mm. ,19 mm. และ 25 mm.
เหล็กข้ออ้อย
- เหล็กอ้อย เหล็กข้ออ้อย หรือเรียกว่า เหล็ก DB เหล็กเส้นที่มีพื้นที่ภาคตัดขวางเป็นรูปกลม โดยมีบั้ง และมีครีบที่พื้นผิว มีลักษณะเหมือนปล้องขนาดเท่าๆกัน เพื่อเสริมกำลังในการยึดระหว่างเหล็กเส้นกับเนื้อคอนกรีตให้มีความเหนียวแน่นในการยึดเกาะมากยิ่งขึ้น
- ตามมาตรฐาน มอก. 24-2548 กำหนดให้เหล็กข้ออ้อยมีชั้นคุณภาพหลายชั้น ประกอบด้วย SD30, SD40 และ SD50
- เหล็กข้ออ้อยนิยมนำไปใช้ในงานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องการความแข็งแรงสูงมากเป็นพิเศษ เช่น เขื่อน สะพาน อาคารขนาดใหญ่ หรือตึกที่มีความสูงมากๆ
-
เหล็กเส้นกลม (Round Bars RB) หรือเรียกสั้นๆว่า RB หรือ เหล็ก RB เหล็กเส้นกลมเป็น เหล็กพื้นฐานสำหรับงานก่อสร้างที่ต้องใช้เหล็ก เพราะทุกโครงการก่อสร้างจำเป็นต้องใช้เหล็กเส้นกลม เป็นเหล็กที่ใช้งานจำนวนมากและใช้งานสม่ำเสมอ
เหล็กเส้นกลม คือเหล็กเสริมคอนกรีตชนิดหนึ่ง
เหล็ก SR24 (Steel Round 24) ขนาดความยาว 10 เมตร (เหล็กพับ) และ12 เมตร (เหล็กตรง) เหล็กเส้นกลม SR24 เหมาะสำหรับงาน ก่อสร้างขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น อาคารพาณิชย์ บ้าน และงานก่อสร้างทั่วๆ ไป ,งานก่อสร้างเสริมคอนกรีต เช่น อาคารพาณิชย์, สำนักงาน, ที่พักอาศัย, บ้านเรือนทั่วไป, งานเฟอร์นิเจอร์, สะพาน, ทำรั้ว, ถนน, พื้น, วัสดุอุปกรณ์งานการเกษตร และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ เหล็กเส้นกลมผลิตตามมาตรฐาน มอก. 20-2543 ชั้นคุณภาพ SR24 เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 6 มม. – 34 มม. ขนาดความยาว 10 เมตร และ 12 เมตร Round Bars Round Bars are suitable for using as reinforced bars for small and medium buildings such as commercial buildings and houses. The round bars are made to the TIS 20-2543. The standard sizes are 6-34 mm. at 10 and 12 meter long.
ตัวอย่างขนาดเหล็กเส้นกลม
ชื่อเรียก ความหนา (mm.) นน.ต่อเมตร (kg./m.) นน.ต่อเส้นพับ (kg./10m.) นน.ต่อเส้นตรง (kg./12m.) SR 6 6 0.222 2.22 - SR 9 9 0.499 4.99 - SR 12 12 0.888 8.88 10.656 SR 15 15 1.387 13.87 16.664 SR 19 19 19 19 26.712 SR 25 SR 25 3.853 38.53 46.236 เหล็กเส้นข้ออ้อย
เหล็กข้ออ้อย SD30, SD40, SD50 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000, 4000, 5000 ksc.ตามลำดับ โดยปกติจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น DB10(หาในตลาดทั่วไปยาก), DB12(หมายถึง Deformed Bar ขนาด ศก.12มม.), DB16, DB20, DB25, DB28, DB32 ผิวของเหล็กเส้นจะมีลักษณะเป็นปล้องเพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้น
การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40, และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นสำคัญ ลักษณะของเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ดี ต้องมีระยะบั้งที่เท่ากันและสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีสนิมรอยตำหนิ ไม่มีรอยปริและแตกร้าว ชนิดและความแตกต่างของเหล็กเส้น
ความยาวโดยปกติที่ขายกันในท้องตลาด คือ 10 ม. แต่อาจจะสั่งพิเศษ เช่น 12 ม. หรือมากกว่านั้นก็ต้องสั่งทำพิเศษเหล็ก SD (Steel Deformed Bar) ก็คือเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตประเภทข้ออ้อย หรือเหล็กข้ออ้อย ตามที่เรียกกันทั่วไปส่วนเลขต่อท้าย คือชั้นคุณภาพซึ่ง มอก. 24-2548 ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับ (มาตรฐานบังคับคือใครจะผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานบังคับอยู่ ต้องผลิตให้ได้ตามมาตรฐานเท่านั้น เช่นสินค้าพวกเหล็กก่อสร้าง เนื่องจากเกี่ยวกับ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน)
ทำให้เหล็กข้ออ้อย ต้องได้มาตรฐาน มอก. กำหนด โดยผูผลิตเหล็กเส้นในปัจจุบันมีดังนี้เหล็กเส้น มอก.โรงใหญ่ แบนด์ TATA , BSI , BSBM , SKY, TY , SSS , บลกท , TDC , TSC , MILLCON, ZUBB , PSL , TSB , แบนด์ใหม่TXS ไทยซิง สตีล
เหล็กข้ออ้อยมีมาตรฐานและรายละเอียดดังนี้
SD – 40 หมายถึง กำลังจุดครากของเหล็ก 4,000 kg/cm2
SD – 50 หมายถึง กำลังจุดครากของเหล็ก 5,000 kg/cm2SD40, SD50 ขนาดความยาว 10, 12 เมตร เหมาะสำหรับใช้งานก่อสร้างเสริมคอนกรีตที่ต้องการโครงสร้างแข็งแรง เช่น อาคารสูง, คอนโดมิเนียม, สะพาน, ถนนคอนกรีต, เขื่อน, สนามบิน, อุปกรณ์การเกษตร และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ โดยมีรายละเอียดขนาดและน้ำหนักดังนี้
Size ความหนา (mm.) นน./ม. (kg./m.) นน./เส้นพับ (kg./10m.) นน./เส้นตรง (kg./12m.) SD 10 10 0.616 6.17 7.404 SD 12 12 0.888 8.88 10.656 SD 16 16 1.578 15.78 18.936 SD 20 20 2.466 24.66 29.592 SD 25 25 3.853 38.53 46.236 SD 28 28 4.834 48.34 58.008 SD 32 32 6.313 63.13 75.756
เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเหล็กเส้นแต่ละประเภท
เหล็กเป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่ส่วนใหญ่เรานำมาใช้ในการก่อสร้าง เหล็กเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญในงานโครงสร้างที่จะทำให้สิ่งก่อสร้างเป็นรูปร่างและมีความคงทนแข็งแรง ซึ่งเหล็กในแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เหล็กเส้นกลม (Round Bar) ช่างโดยทั่วไปมักเรียกกันว่า เหล็ก RB มีลักษณะภายนอกจะมีผิวเรียบเกลี้ยง หน้าตัดกลม ซึ่งที่มีขายกันอยู่ทั่วไป ใช้ในการยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับคอนกรีต ต้องมีการงอเพื่อที่จะสามารถถ่ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนมากจะใช้สำหรับงานโครงสร้าง เช่น ปลอกเสา ปลอกคาน โครงถนน งานก่อสร้างขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นต้น เหล็กชนิดนี้จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6 -25 มิลลิเมตร สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมในการใช้งาน
มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.20-2559 ชั้นคุณภาพของเหล็กประเภทนี้คือ SR24 ที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้คือ เหล็ก Tata tiscon, บลกท, RSM, TDC
- RB6 (เหล็กเส้นกลม 2 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก นิยมใช้ทำปอกเสา และปอกคาน
- RB9 (เหล็กเส้นกลม 3 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก คล้ายกับเหล็กเส้นกลม 2 หุน
- RB12 (เหล็กเส้นกลม 4 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่เน้นงานยึดเกาะ เพราะเหล็กมีลักษณะเรียบมน ทำให้ยึดเกาะปูนไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนมากนิยมใช้กับงานกลึง เช่น งานกลึงหัวน๊อตต่างๆ
- RB19 ใช้สำหรับงานทำถนน
- RB25 ใช้ทำเป็นเหล็กสตัท เกรียวเร่ง สำหรับงานยึดโครงป้ายขนาดใหญ่สามารถรับแรง และน้ำหนักได้ดี
มาตรฐานของเหล็กเส้นมี 2 ประเภท คือ
1. เหล็กเต็มหรือเหล็กโรงใหญ่ หมายถึงเหล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักของเหล็กได้มาตรฐาน มอก.เลขที่ 24-2559
2. เหล็กเบาหรือเหล็กโรงเล็ก เป็นเหล็กที่ผลิตให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน มอก. มักเป็นเหล็กรีดซ้ำ (นำเศษเหล็กที่ใช้งานแล้วหรือเศษเหล็กเสียสภาพมารีดใหม่อีกครั้ง) เหล็กเบาจะมีราคาต่ำกว่าเหล็กเต็มประมาณ 40 สตางค์ – 1 บาทต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่อาจก่อให้เกิดอันตราย เพราะอาจจะไม่สามารถรับน้ำหนักตามที่แบบกำหนดไว้ได้
ลักษณะเหล็กที่ดี มีคุณภาพ ควรมีข้อพิจารณา 4 ประการ
1. เหล็กเส้นกลมผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีปีก หน้าตัดกลม ไม่เบี้ยว ไม่มีรอยปริแตก
2. เหล็กข้ออ้อย ต้องมีบั้งระยะเท่ากัน สม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น
3. เส้นผ่านศูนย์กลางและน้ำหนักถูกต้อง
4. เมื่อดัดโค้ง งอ ต้องไม่ปริแตก หักง่าย
No Comments