WI-WH-014 คู่มือการใช้รถฟอร์คลิฟท์และการบำรุงรักษา
1. วัตถุประสงค์
“รถฟอร์คลิฟท์” เป็นเครื่องจักรที่สำคัญในกระบวนการขนย้าย (Material Handling) ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ให้ถูกวิธีและประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง มีทักษะการขับที่ดีและลดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดความปลอดภัยเอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือการใช้งานรถโฟร์คลิฟท์ของพนักงานขับรถโฟร์คลิฟท์ เพื่อให้สามารถใช้งานและบำรุงรักษารถโฟร์คลิฟท์ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย
2. ขอบข่าย
เอกสารฉบับนี้เป็นคู่มือการใช้งานรถโฟร์คลิฟท์และการดูแลรักษาซ่อมบำรุงที่ถูกต้อง เพื่อให้พนักงานขับรถโฟร์คลิฟท์และผู้รับผิดชอบสามารถนำไปปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและมีความปลอดภัยในการทำงาน
3. คำจำกัดความ
รถโฟร์คลิฟท์ หมายถึง รถยกหรือเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการขนย้ายสินค้า แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทใช้ไฟฟ้าและประเภทใช้น้ำมัน
4. หน้าที่ความรับผิดชอบ
พนักงานขับรถโฟร์คลิฟท์
- ลงชื่อเบิกจ่าย-กุญแจรถประจำวัน โดยกำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน
- เป่าฝุ่นทำความสะอาดและตรวจเช็คประจำวันหากพบความผิดปกติให้ลงใน Checklist และแจ้งพนักงานป้องกันการสูญเสียทันที
- ถ่ายภาพการทำความสะอาดและการตรวจเช็คประจำวันลงในกลุ่ม Telgram ทุกวัน
- ผู้ขับขี่จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถโฟร์คลิฟท์ และต้องปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานอย่างถูกต้องและตระหนักถึงความปลอดภัยในการขับขี่ทุกครั้งที่ใช้งาน
- หากเกิดอุบัติเหตุหรือข้อผิดพลาดจากการทำงานให้แจ้งพนักงานป้องกันการสูญเสียรับทราบทันที
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
5.1. การใช้รถยก FORKLIFT อย่างถูกวิธี
ผู้ที่ได้รับการอนุญาต และอบรมอย่างถูกต้องเท่านั้น ควรเป็นผู้ขับขี่รถยก
- ท่านเป็นผู้มีความสามารถพอที่จะขับรถยกได้หรือไม่
- ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับรถยกที่ท่านใช้งานอยู่บ้างหรือไม่
- ท่านสวมเสื้อผ้ารัดกุมและหมวกนิรภัยระหว่างปฏิบัติงานหรือไม่
ก่อนเริ่มงาน ควรตรวจสภาพของรถยก
- หยุดคิดสักนิดเพื่อความปลอดภัย ก่อนจะเริ่มงานประจำวันของท่านรถที่จะพร้อมทำงานได้ต้องอยู่ในสภาพที่ดีพร้อม
- ปฏิเสธการทำงานทันที ถ้าท่านเห็นว่ารถยกไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงาน อันอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
รายงานโดยทันทีทันใดต่อหัวหน้างาน เมื่อตรวจพบ สิ่งบกพร่องเสียหาย หรือเมื่อต้องการซ่อม
- หยุดใช้งานชั่วคราวสำหรับรถยกที่บกพร่องหรือรถที่ต้องการซ่อมแซมจนกว่าจะได้รับการซ่อมให้คืนสภาพเดิม
- ระลึกไว้เสมอว่าการทำงานที่ปลอดภัย ขึ้นอยู่กับรถยก ที่มีสภาพสมบูรณ์
อย่าบรรทุกน้ำหนักเกิน
ตรวจสอบน้ำหนักของ ของที่จะยกว่าไม่เกินขีดจำกัดของรถยก(ในแต่ละรุ่นที่ใช้)พึงระวังเรื่องน้ำหนักและจุดศูนย์ถ่วง การทำงานจะปลอดภัย ขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่ยกไม่เกินขีดจำกัดของรถยก
เลือกใช้ PALLET ให้เหมาะสมกับของที่จะยก
PALLET ที่ใช้เป็นฐานรองต้องอยู่ในสภาพดี การยุบหรือหักพัง เกิดขึ้นเพราะ PALLET อยู่ในสภาพที่ไม่แข็งแรงพอ
ตั้งระยะความกว้างของงาให้พอเหมาะ
- ก่อนเข้ายกของ จงมั่นใจว่าระยะกว้างของงาอยู่ในระยะที่พอดีกับ PALLET
- การจัดระยะความกว้างของงาให้เหมาะสม ช่วยให้การยกของมืความทรงตัวดียิ่งขึ้น
ระมัดระวังและรอบคอบในเรื่องน้ำหนักบรรทุก
- ในกรณีที่สิ่งของที่บรรทุกเป็นหีบห่อ ต่างน้ำหนักและขนาด
- บรรทุกแต่พอควร รวมทั้งการจัดวางตำแหน่งของหีบห่อ เพื่อความปลอดภัย
น้ำหนักของสิ่งของที่บรรทุกบนงาควรจัดให้ได้ศูนย์ถ่วง
เมื่อบรรทุกของที่มีความกว้างเกินส่วนกว้างของงาควรทำงานด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันสิ่งของที่บรรทุกเลื่อนหลุดออกจากงา ในกรณีที่บรรทุกของที่มีความยาวมากๆ ระวังสิ่งของที่บรรทุกและหลุดเลื่อนออกจากแผงกั้นหน้ารถยก เช่น ท่อนซุง
อย่ายกของที่บรรทุกไว้สูง ขณะที่รถยกวิ่งผ่านพื้นลาดเอียงต่างระดับ
เมื่อบบรรทุกของและรถต้องวิ่งผ่านพื้นลาดเอียงต่างระดับอย่ายกงาที่บรรทุกของไว้สูงๆ ควรยกให้สูงจากพื้นถนนเพียงเล็กน้อย เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระเทือนเพราะแรงสะดุด ซึ่งอาจทำให้รถคว่ำได้
ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดอยู่ในระหว่างบริเวณของรถยก
ห้ามยืนหรือเดินผ่านใต้งาของรถยก ไม่ว่าจะบรรทุกของอยู่หรือไม
ขณะขับรถ อย่ายื่นมือหรือเท้าออกไปเกินส่วนที่เป็นเสาของรถยก
ห้ามโดยเด็ดขาด มีให้ยื่นมือหรือเท้าออกไปเกินส่วนที่เป็นเสาของรถยกมิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุแก่ผู้ขับขี่ได้
ให้ตะแกรงกั้นของและหลังคานิรภัยสำหรับการใช้งานยกของสูงๆ
ระมัดระวังอย่างเต็มที่เพื่อมิให้มีของเลื่อนหลุดออกจากงา เมื่อใช้งานยกของสูงๆ
เมื่อบรรทุกของอย่ายกงาขึ้นสูง ถ้าเสาอยู่ในลักษณะเอนหน้า
เมื่อบรรทุกของอยู่บนงา เสาควรอยู่ในลักษณะตรงหรือ เอนหลังตลอดเวลาเว้นแต่เมื่อจะเข้าวางของลงบนชั้น
เมื่อบรรทุกของและนำรถออกวิ่งอย่ายกงาสูง
รักษาระดับงาให้สูงจากพื้นถนนประมาณ 100 ถึง 150 มิลลิเมตร (4-6นิ้ว)อย่ายกงานให้สูงเมื่อบรรทุกของและนำรถออกวิ่งโดยไม่จำเป็น
ปรับให้เสาเอนหน้าหลัง เพื่อให้หีบห่อซึ่งบรรทุก อยู่บนงาแนบชิดกับแผงกั้น
สอดงาเข้าใต้ของที่จะบรรทุกให้สุดความยาว ปรับเสาให้เอนหลังเพื่อให้หีบห่อที่บรรทุกอยู่บนงาแนบชิดกันแผงกั้น
ก่อนออกรถ มองหน้า-หลังให้ดี
ก่อนออกรถต้องแน่ใจว่า เสา งา และของที่บรรทุกอยู่ในสภาพเรียบร้อย และเส้นทางที่จะนำรถออกวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือหลังนั้นว่าง
ออกและหยุดรถอย่างนิ่มนวล
- หลีกเลี่ยงการออกหรือหยุดรถโดยเร็วหรือกระตุกโดยเฉพาะเมื่อบรรทุกของหรือเข้าวางของ อย่าใช้ความเร็วสูง
- เมื่อจะเลี้ยวรถ ควรลดความเร็วลงแล้วจึงเลี้ยงรถ
ใช้รถด้วยความระมัดระวัง
- ขับขี่ด้วยระมัดระวัง โดยใช้ความเร็วให้เหมาะสม
- พึงระลึกไว้เสมอว่าท่านทำงานอยู่ในบริเวณที่จำกัด
เว้นระยะห่างให้กับรถยกคันอื่นบ้างเพื่อความปลอดภัย
กะระยะเผื่อรถคันหลังไว้บ้าง ในกรณีที่ต้องหยุดรถโดยกะทันหัน
อย่าแซงรถคันอื่น
อย่าแซงรถคันอื่น ซึ่งวิ่งไปให้เส้นทางเดียวกัน อาจเกิดจุดบอดทำให้มองไม่เห็นอันก่อให้เกิดอันตรายโดย ไม่คาดคิดขึ้น
อย่าขับรถยกในขณะที่มีอาการมึนงง หรือใช้รถยก เป็นเครื่องเล่นตลก
เมื่อท่านจับพวงมาลัยพึงระลึกไว้เสมอว่า ความปลอดภัย เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดดังนั้นอย่ากระทำการใด ๆ อันก่อให้เกิดเหตุยุ่งยากแก่ท่านและผู้อื่น
อยู่ในสภาพพร้อมเสมอ อย่าหลับใน
ไม่ว่าจะขับขี่ไปในทิศทางใด ใช้สายตาของท่านให้เป็นประโยชน์
ขับช้าๆ เมื่อผ่านที่เปียกหรือลื่น
ต้องเข้าใจว่ารถยกอาจจะเสียการทรงตัวในที่เปียกหรือลี่นได้ง่ายเราขับรถยกมิใช่แข่งแรลลี่ ดังนั้นควรระมัดระวัง
เบาเครื่อง ให้สัญญาณแตรเมื่อจะเลี้ยวหัวมุม
ถ้าสถานที่ทำงานของท่านไม่มีกระจกโค้งให้ดูทางตรงหัวมุมต้องระมัดระวังเมื่อจะเลี้ยวโดยการเบาเครื่อง
แล้วให้สัญญาณแตร และเลี้ยวไปด้วยความระมัดระวัง
การขับรถยกข้ามทางรถไฟ ต้องไปช้าๆ เป็นแนวทะแยง (ดูรูปประกอบ)
การขับรถยกที่บรรทุกของเข้ามาทางรถไฟ ย่อมทำให้เกิดกระเทือนดังนั้นเพื่อลดแรงกระเทือน ควรขับทะแยงมุมออกไป เพื่อให้ล้อของรถยกข้ามทางรถไฟทีละล้ออันจะช่วยลดแรงกระเทือนได้
หลีกเลี่ยงการที่จะทำให้เสียการทรงตัว
หลีกเลี่ยงการขับรถยกลงในหลุ่ม-บ่อ หรือสิ่งกีดขวาง อันจะทำให้รถเสียการทรงตัว
เมื่อยกงาขึ้นสูง พึงระวังสิ่งกีดขวางด้านบน
พึงระวังสิ่งกีดขวางจากระดับสูง เช่น โคมไฟ สายไฟฟ้าท่อติดเพดาน ท่อน้ำระบบดับเพลิงอัตโนมัติ ไม้หรือหิน
ที่วางขวางอยู่บนประตู และสายพานต่างๆ ลดระดับของงาลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในบริเวณที่จำกัดความสูง
ระมัดระวังด้านข้าง
เมื่อบรรทุกของที่มีความกว้างที่ยื่นเลยออกไปจากตัวรถมากๆตั้งหลักให้ดี กะระยะให้รถยกวิ่งไประหว่างกึ่งกลางของทางวิ่ง
อันจะเป็นการป้องกันมิให้เกิดการกระทบกระทั่งจนเกิดความเสียหายต่อสิ่งของหรือตัวบุคคล
อย่ายื่นมือหรือเท้าออกนอกเขตตัวรถ
ขณะขับรถยก อย่ายื่นแขน-เท้าหรือส่วนหนึ่งส่วนใดออกนอกตัวรถอวัยวะเหล่านี้มีเพียงติดตัวมาเท่านั้น เปลี่ยนไม่ได้เหมือนอะไหล่รถยก ควรรักษาไว้ให้ดี
ระวังท้ายปัด
ให้สถานที่ที่ค่อนข้างแคบ ควรระวังท้ายรถเวลาเลี้ยวท้ายรถอาจจะไปกระทบกับเสาหรือกำแพงได้
อย่ายกงาค้างเอาไว้
เมื่อวิ่งรถเปล่า ควรลดลงไว้ในระดับต่ำเสมอ เพื่อป้องกันมิให้งาไปเฉี่ยวหรือทิ่มแทงสิ่งของหรือตัวบุคคล
บรรทุกของใหญ่ของสูง วิธีดีที่สุดคือวิ่งถอยหลัง
ถ้าไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดช่วยบอกทางให้ เมื่อบรรทุกของใหญ่หรือของจำนวนมากๆ อันทำให้มองไม่เห็นทางข้างหน้า ถอยหลังวิ่งดีที่สุด
สังเกตพื้นที่จำกัดน้ำหนัก
อย่า-ตายใจพื้นต่อหรือเสริมจะรับน้ำหนักรถยกได้ ไม่ว่าจะบรรทุกของหรือเป็นรถเปล่าๆควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นต่อหรือพื้นเสริมนั้นๆ ตรึงไว้แน่นและแข็งแรง พอที่จะรับน้ำหนักรถยกของเราได้
ห้ามล้อและวัสดุกันมิให้ล้อเลื่อน
เมื่อต้องทำงานโดยให้รถยกของลงจากรถบรรทุก ขอให้แน่ใจว่ารถบรรทุกนั้นๆ ให้ห้ามล้อ และใช้วัสดุที่กันมิให้เกิดการไหลของรถไว้แล้ว เพราะถ้ารถบรรทุกเกิดเลื่อนออกไปข้างหน้าอุบัติเหตุร้ายแรงจะเกิดขึ้นกับผู้ขับขี่รถยกแน่นอน
การขับขึ้นที่ชันหรือลงที่ต่ำ
การขึ้นที่ชันให้เดินหน้าขึ้น และเมื่อจะลงที่ลาดต่ำ ให้ถอยหลังลง อย่าบรรทุกของและเดินหน้าสู่ที่ต่ำของอาจเลื่อนตกได้ พึงระวังไว้ว่า ในกรณีนี้ควรเดินหน้าหรือถอยหลังช้าๆ
ควรมีผู้ช่วยบอกทาง เมื่อบรรทุกของสูงใหญ่บังสายตา
เมื่อบรรทุกของใหญ่ และบังสายตามองทางข้างหน้าไม่เห็นควรมีผู้ช่วยบอกทาง เพื่อความสะดวกและปลอดภัย
อย่าใช้รถยกแทนลิฟท์
รถยกออกแบบมาเพื่อความสะอาดในการยกสิ่งของมิใช่เป็นลิฟท์สำหรับบุคคล อันตรายมากในกรณีที่ไปใช้เช่นนั้น
รถยกมิใช่รถเมล์
อย่านำรถยกไปยกของอื่นที่ทางโรงงานไม่ได้ออกแบบให้ยกไม่เป็นการปลอดภัยเลยที่จะบรรทุกผู้คนไปบนรถยก
ดับเครื่องยนต์เมื่อเลิกใช้งาน
ไม่ควรจอดรถไว้ที่มีพื้นที่มีพื้นลาดเอียง เพราะอาจจะไหลไปชนใครต่อใครได้ ไม่ควรลืมห้ามล้อ ปลดเกียร์ว่างและดับเครื่องยนต์เสีย
ห้ามสูบบุหรี่ขณะเติมเชื้อเพลิง
ดับเครื่องยนต์ เมื่อเติมน้ำมัน หรือตรวจสอบแบตเตอรี่ ห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
ตรวจตรารถยกเมื่อเลิกงาน
การหมั่นตรวจตรารถยกเป็นเรื่องที่ดี ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าโสหุ้ยในการซ่อม และยังส่งผลความปลอดภัย มายังผู้ขับขี่ด้วย ถ้าตรวจพบสิ่งผิดปกติในการทำงานของรถยกรีบรายงานต่อผู้รับผิดชอบทันที
เรียนรู้เกี่ยวกับรถยกให้มากที่สุดแล้วท่านจะสะดวกใจ
ท่านจะใช้งานรถยกโตโยต้าได้ด้วยความมั่นใจ ในความปลอดภัย สะดวกและรวดเร็วถ้าปฏิบัติตามข้อแนะนำต่างๆ ตามที่แจ้งให้ทราบแล้ว
5.2. การบำรุงรักษาโฟร์คลิฟท์
5.2.1. การบำรุงรักษาประจำวัน ก่อนติดเครื่อง
- ตรวจดูความสะอาดภายนอก
- ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ
- ตรวจระดับน้ำมันเครื่อง
- ตรวจดูระดับน้ำมันเชื้อเพลิง
- ตรวจดูระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
- ตรวจระดับน้ำมันไฮโดรลิค
- ตรวจระดับน้ำมันเกียร์พวงมาลัย
- ตรวจดูระดับน้ำมันเบรค
- ตรวจระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่
- ตรวจความตึงของสายพานเครื่องยนต์
- ตรวจการทำงานของเบรคมือและขาเบรค
- ตรวจระบบสัญญาณไฟเลี้ยว ไฟถอยหลัง ไฟส่องสว่างและสัญญาณแตร
- ตรวจสภาพความตึงของโซ่ยกของ
- ตรวจสภาพยาง
- ตรวจวัดลมยางและเติมให้ได้แรงดันตามที่กำหนดไว้
- ตรวจรอยรั่วซึมตามจุดต่าง ๆ
5.2.2. หลังติดเครื่อง
- ตรวจเช็คว่ามีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนตืหรือไม่
- ตรวจดูไฟที่หน้าปัดดับหมดหรือไม่
- ตรวจระยะฟรีของพวงมาลัยและการบังคับเลี้ยว
- ตรวจการทำงานของชุดควบคุมอุปกรณ์ยกงาว่าทำงานเรียบร้อยหรือไม่
5.2.3. หลังการใช้งาน ขณะเครื่องยนต์ยังติดอยู่
- จอดรถในสถานที่จอดรถกำหนดไว้
- ลดงาของรถให้อยู่ในแนวราบกับพื้นโรงงาน
- ล็อคเบรคมือให้เรียบร้อย
- หล่อลื่นตามจุดต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เช่น โซ่ยกของ ชุดแผ่นทองเหลืองหลังเสา
- ตรวจเช็คดูการรั่วซึมจากการใช้งาน เช่น น้ำมันไฮโดรลิค น้ำมันเกียร์ น้ำมันเครื่อง และน้ำในหม้อน้ำ
- ตรวจเช็คฟังเสียงว่ามีเสียงอะไรผิดปกติหรือไม่
- หลังจากการใช้งาน ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาในตำแหน่งเกียร์ว่างประมาณ 3 นาที จึงค่อยดับเครื่องยนต์
5.2.4. หลังดับเครื่องยนต์
- เติมน้ำมันให้เต็มถังเพื่อพร้อมการใช้งานในวันต่อไป
- ปลดเกียร์ว่างไว้เสมอ และดึงลูกกุญแจรถออกเก็บยังที่เก็บ
5.3. ขั้นตอนในการปฏิบัติงานประจำวัน
- เมื่อเริ่มปฏิบัติงานให้พนักงานที่มีหน้าที่ดูแลรถโฟร์คลิฟท์แต่ละคันเบิกกุญแจรถที่หัวหน้างาน
- ให้พนักงานที่มีหน้าที่ดูแลรถโฟร์คลิฟท์ทำการตรวจเช็ครถเบื้องต้นก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้งตาม เอกสารแบบฟอร์ม FM-WH-002 : Checklist รถโฟร์คลิฟท์ เพื่อเป็นการบำรุงรักษารถให้พร้อมใช้งาน
- ขณะใช้งานรถโฟร์คลิฟท์ควรปฏิบัติอย่างถูกต้องตาม ข้อ 5.1. การใช้รถยก FORKLIFT อย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น และจะต้องมีสติ ความระมัดระวังอยู่เสมอขณะขับรถโฟร์คลิฟท์
- เมื่อเลิกปฏิบัติงานให้พนักงานที่มีหน้าที่ดูแลรถโฟร์คลิฟท์ทำการตรวจเช็ครถ ตาม ข้อ5.2.3. หลังการใช้งาน ขณะเครื่องยนต์ยังติดอยู่ และข้อ5.2.4. หลังดับเครื่องยนต์
- เมื่อมีการขับรถโฟร์คลิฟ ต้องมีผู้คอยให้สัญญาณ การเข้าหรือการถอยจากมุมอับสายตา ของคนขับรถโฟร์คลิฟ
รูป
6. กรณีผู้ปฎิบัติงาน ต้องทำงานคนเดียว ไม่มีผู้ให้สัญญาณ ผู้ขับจะต้องตั้งแผงกั้นเพื่อแสดงถึงการทำงานของรถโฟร์คลิฟ
รูป
7. เมื่อตรวจเช็ครถหลังเลิกใช้งานแล้วให้พนักงานที่มีหน้าที่ดูแลรถโฟร์คลิฟท์นำกุญแจไปคืนให้หัวหน้างาน