Skip to main content

WI-WH-014 คู่มือการใช้รถฟอร์คลิฟท์และการบำรุงรักษา

1. วัตถุประสงค์

“รถฟอร์คลิฟท์” เป็นเครื่องจักรที่สำคัญในกระบวนการขนย้าย (Material Handling) ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ให้ถูกวิธีและประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง มีทักษะการขับที่ดีและลดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดความปลอดภัยเอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือการใช้งานรถโฟร์คลิฟท์ของพนักงานขับรถโฟร์คลิฟท์ เพื่อให้สามารถใช้งานและบำรุงรักษารถโฟร์คลิฟท์ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย

2. ขอบข่าย

เอกสารฉบับนี้เป็นคู่มือการใช้งานรถโฟร์คลิฟท์และการดูแลรักษาซ่อมบำรุงที่ถูกต้อง เพื่อให้พนักงานขับรถโฟร์คลิฟท์และผู้รับผิดชอบสามารถนำไปปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและมีความปลอดภัยในการทำงาน

3. คำจำกัดความ

รถโฟร์คลิฟท์   หมายถึง    รถยกหรือเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการขนย้ายสินค้า แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทใช้ไฟฟ้าและประเภทใช้น้ำมัน

4. หน้าที่ความรับผิดชอบ

5. พนักงานขับรถโฟร์คลิฟท์

  1. ลงชื่อเบิกจ่าย-กุญแจรถประจำวัน โดยกำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน
  2. เป่าฝุ่นทำความสะอาดและตรวจเช็ครถประจำวันตาม Checklist หากพบความผิดปกติแจ้งพนักงานป้องกันการสูญเสียทันที
    2.1. ตรวจดูความสะอาดภายนอก
    2.2. ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ
    2.3. ตรวจระดับน้ำมันเครื่อง
    2.4. ตรวจดูระดับน้ำมันเชื้อเพลิง
    2.5. ตรวจดูระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
    2.6. ตรวจระดับน้ำมันไฮโดรลิค
    2.7. ตรวจระดับน้ำมันเกียร์พวงมาลัย
    2.8. ตรวจดูระดับน้ำมันเบรค
    2.9. ตรวจระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่
    2.10. ตรวจความตึงของสายพานเครื่องยนต์
    2.11. ตรวจการทำงานของเบรคมือและขาเบรค
    2.12. ตรวจระบบสัญญาณไฟเลี้ยว ไฟถอยหลัง ไฟส่องสว่างและสัญญาณแตร
    2.13. ตรวจสภาพความตึงของโซ่ยกของ
    2.14. ตรวจสภาพยาง
    2.15. ตรวจวัดลมยางและเติมให้ได้แรงดันตามที่กำหนดไว้
    2.16. ตรวจรอยรั่วซึมตามจุดต่าง ๆ



  3. ถ่ายภาพการทำความสะอาดและการตรวจเช็คประจำวันลงในกลุ่ม Telgram ทุกวัน
  4. ผู้ขับขี่จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถโฟร์คลิฟท์ และต้องปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานอย่างถูกต้องและตระหนักถึงความปลอดภัยในการขับขี่ทุกครั้งที่ใช้งาน
  5. เมื่อเลิกปฏิบัติงานให้พนักงานที่มีหน้าที่ดูแลรถโฟร์คลิฟท์ทำการตรวจเช็ครถ ตาม ข้อ5.2.3. หลังการใช้งาน ขณะเครื่องยนต์ยังติดอยู่ และข้อ5.2.4. หลังดับเครื่องยนต์
  6. เมื่อมีการขับรถโฟร์คลิฟ ต้องมีผู้คอยให้สัญญาณ การเข้าหรือการถอยจากมุมอับสายตา ของคนขับรถโฟร์คลิฟ และวางกรวยจราจรเมื่อต้องปฏิบัติงานคนเดียว

  7. เมื่อตรวจเช็ครถหลังเลิกใช้งานแล้วให้พนักงานที่มีหน้าที่ดูแลรถโฟร์คลิฟท์นำกุญแจไปคืนให้หัวหน้างาน
  8. กรณีการใช้พาเลทขึ้นของให้กับลูกค้า สินค้าต้องกำหนดชัดเจนว่ากลุ่มสินค้าปูนซีเมนต์ จำนวน 20 ถุงขึ้นไป จึงจะสามารถจ่ายโดยการใช้พาเลทได้ แต่หากกรณีที่ดันพาเลทเข้าตัวรถลูกค้าแล้วเกิดความเสียหาญ ทางพนักงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบ 

    Link Link PAR อุบัติเหตุจากการใช้โฟร์คลิฟดันพาเลทสินค้า


    6. หลังติดเครื่อง

    1. ตรวจเช็คว่ามีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนตืหรือไม่
    2. ตรวจดูไฟที่หน้าปัดดับหมดหรือไม่
    3. ตรวจระยะฟรีของพวงมาลัยและการบังคับเลี้ยว
    4. ตรวจการทำงานของชุดควบคุมอุปกรณ์ยกงาว่าทำงานเรียบร้อยหรือไม่

    7. หลังการใช้งาน ขณะเครื่องยนต์ยังติดอยู่

    1. จอดรถในสถานที่จอดรถกำหนดไว้
    2. ลดงาของรถให้อยู่ในแนวราบกับพื้นโรงงาน
    3. ล็อคเบรคมือให้เรียบร้อย
    4. หล่อลื่นตามจุดต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เช่น โซ่ยกของ ชุดแผ่นทองเหลืองหลังเสา
    5. ตรวจเช็คดูการรั่วซึมจากการใช้งาน เช่น น้ำมันไฮโดรลิค น้ำมันเกียร์ น้ำมันเครื่อง และน้ำในหม้อน้ำ
    6. ตรวจเช็คฟังเสียงว่ามีเสียงอะไรผิดปกติหรือไม่
    7. หลังจากการใช้งาน ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาในตำแหน่งเกียร์ว่างประมาณ 3 นาที จึงค่อยดับเครื่องยนต์

    8. หลังดับเครื่องยนต์

    1. เติมน้ำมันให้เต็มถังเพื่อพร้อมการใช้งานในวันต่อไป
    2. ปลดเกียร์ว่างไว้เสมอ และดึงลูกกุญแจรถออกเก็บยังที่เก็บ

การใช้รถยก FORKLIFT อย่างถูกวิธี

ผู้ที่ได้รับการอนุญาต และอบรมอย่างถูกต้องเท่านั้น ควรเป็นผู้ขับขี่รถยก

  1. ท่านเป็นผู้มีความสามารถพอที่จะขับรถยกได้หรือไม่
  2. ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับรถยกที่ท่านใช้งานอยู่บ้างหรือไม่
  3. ท่านสวมเสื้อผ้ารัดกุมและหมวกนิรภัยระหว่างปฏิบัติงานหรือไม่

1. รายงานโดยทันทีทันใดต่อหัวหน้างาน เมื่อตรวจพบ สิ่งบกพร่องเสียหาย หรือเมื่อต้องการซ่อมและต้องแจ้งพนักงานป้องกันการสูญเสียทันที

  • หยุดใช้งานชั่วคราวสำหรับรถยกที่บกพร่องหรือรถที่ต้องการซ่อมแซมจนกว่าจะได้รับการซ่อมให้คืนสภาพเดิม
  • ระลึกไว้เสมอว่าการทำงานที่ปลอดภัย ขึ้นอยู่กับรถยก ที่มีสภาพสมบูรณ์


4.jpg

2. อย่าบรรทุกน้ำหนักเกิน

ตรวจสอบน้ำหนักของ ของที่จะยกว่าไม่เกินขีดจำกัดของรถยก(ในแต่ละรุ่นที่ใช้)พึงระวังเรื่องน้ำหนักและจุดศูนย์ถ่วง การทำงานจะปลอดภัย ขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่ยกไม่เกินขีดจำกัดของรถยก

5.jpg

3. เลือกใช้ PALLET ให้เหมาะสมกับของที่จะยก

PALLET ที่ใช้เป็นฐานรองต้องอยู่ในสภาพดี การยุบหรือหักพัง เกิดขึ้นเพราะ PALLET อยู่ในสภาพที่ไม่แข็งแรงพอ

4. ตั้งระยะความกว้างของงาให้พอเหมาะ

  • ก่อนเข้ายกของ จงมั่นใจว่าระยะกว้างของงาอยู่ในระยะที่พอดีกับ PALLET
  • การจัดระยะความกว้างของงาให้เหมาะสม ช่วยให้การยกของมืความทรงตัวดียิ่งขึ้น

5. ระมัดระวังและรอบคอบในเรื่องน้ำหนักบรรทุก

  • ในกรณีที่สิ่งของที่บรรทุกเป็นหีบห่อ ต่างน้ำหนักและขนาด
  • บรรทุกแต่พอควร รวมทั้งการจัดวางตำแหน่งของหีบห่อ เพื่อความปลอดภัย


8.jpg

6. น้ำหนักของสิ่งของที่บรรทุกบนงาควรจัดให้ได้ศูนย์ถ่วง

เมื่อบรรทุกของที่มีความกว้างเกินส่วนกว้างของงาควรทำงานด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันสิ่งของที่บรรทุกเลื่อนหลุดออกจากงา ในกรณีที่บรรทุกของที่มีความยาวมากๆ ระวังสิ่งของที่บรรทุกและหลุดเลื่อนออกจากแผงกั้นหน้ารถยก เช่น ท่อนซุง

7. อย่ายกของที่บรรทุกไว้สูง ขณะที่รถยกวิ่งผ่านพื้นลาดเอียงต่างระดับ

เมื่อบบรรทุกของและรถต้องวิ่งผ่านพื้นลาดเอียงต่างระดับอย่ายกงาที่บรรทุกของไว้สูงๆ ควรยกให้สูงจากพื้นถนนเพียงเล็กน้อย เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระเทือนเพราะแรงสะดุด ซึ่งอาจทำให้รถคว่ำได้



10.jpg

8. ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดอยู่ในระหว่างบริเวณของรถยก

ห้ามยืนหรือเดินผ่านใต้งาของรถยก ไม่ว่าจะบรรทุกของอยู่หรือไม

11.jpg

9. ขณะขับรถ อย่ายื่นมือหรือเท้าออกไปเกินส่วนที่เป็นเสาของรถยก

ห้ามโดยเด็ดขาด มีให้ยื่นมือหรือเท้าออกไปเกินส่วนที่เป็นเสาของรถยกมิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุแก่ผู้ขับขี่ได้

12.jpg

10. ให้ตะแกรงกั้นของและหลังคานิรภัยสำหรับการใช้งานยกของสูงๆ

ระมัดระวังอย่างเต็มที่เพื่อมิให้มีของเลื่อนหลุดออกจากงา เมื่อใช้งานยกของสูงๆ

13.jpg

11. เมื่อบรรทุกของอย่ายกงาขึ้นสูง ถ้าเสาอยู่ในลักษณะเอนหน้า

เมื่อบรรทุกของอยู่บนงา เสาควรอยู่ในลักษณะตรงหรือ เอนหลังตลอดเวลาเว้นแต่เมื่อจะเข้าวางของลงบนชั้น

14.jpg

12. เมื่อบรรทุกของและนำรถออกวิ่งอย่ายกงาสูง

รักษาระดับงาให้สูงจากพื้นถนนประมาณ 100 ถึง 150 มิลลิเมตร (4-6นิ้ว)อย่ายกงานให้สูงเมื่อบรรทุกของและนำรถออกวิ่งโดยไม่จำเป็น

15.jpg

13. ปรับให้เสาเอนหน้าหลัง เพื่อให้หีบห่อซึ่งบรรทุก อยู่บนงาแนบชิดกับแผงกั้น

สอดงาเข้าใต้ของที่จะบรรทุกให้สุดความยาว ปรับเสาให้เอนหลังเพื่อให้หีบห่อที่บรรทุกอยู่บนงาแนบชิดกันแผงกั้น

16.jpg

14. ก่อนออกรถ มองหน้า-หลังให้ดี

ก่อนออกรถต้องแน่ใจว่า เสา งา และของที่บรรทุกอยู่ในสภาพเรียบร้อย และเส้นทางที่จะนำรถออกวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือหลังนั้นว่าง17.jpg

15. ออกและหยุดรถอย่างนิ่มนวล

  • หลีกเลี่ยงการออกหรือหยุดรถโดยเร็วหรือกระตุกโดยเฉพาะเมื่อบรรทุกของหรือเข้าวางของ อย่าใช้ความเร็วสูง
  • เมื่อจะเลี้ยวรถ ควรลดความเร็วลงแล้วจึงเลี้ยงรถ

18.jpg

 16. ใช้รถด้วยความระมัดระวัง

  • ขับขี่ด้วยระมัดระวัง โดยใช้ความเร็วให้เหมาะสม
  • พึงระลึกไว้เสมอว่าท่านทำงานอยู่ในบริเวณที่จำกัด 

19.jpg

17. เว้นระยะห่างให้กับรถยกคันอื่นบ้างเพื่อความปลอดภัย

กะระยะเผื่อรถคันหลังไว้บ้าง ในกรณีที่ต้องหยุดรถโดยกะทันหัน

20.jpg

18. อย่าแซงรถคันอื่น

อย่าแซงรถคันอื่น ซึ่งวิ่งไปให้เส้นทางเดียวกัน อาจเกิดจุดบอดทำให้มองไม่เห็นอันก่อให้เกิดอันตรายโดย ไม่คาดคิดขึ้น

21.jpg

19. อย่าขับรถยกในขณะที่มีอาการมึนงง หรือใช้รถยก เป็นเครื่องเล่นตลก

เมื่อท่านจับพวงมาลัยพึงระลึกไว้เสมอว่า ความปลอดภัย เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดดังนั้นอย่ากระทำการใด ๆ อันก่อให้เกิดเหตุยุ่งยากแก่ท่านและผู้อื่น

22.jpg

20. อยู่ในสภาพพร้อมเสมอ อย่าหลับใน

ไม่ว่าจะขับขี่ไปในทิศทางใด ใช้สายตาของท่านให้เป็นประโยชน์

23.jpg
ขับช้าๆ เมื่อผ่านที่เปียกหรือลื่น

ต้องเข้าใจว่ารถยกอาจจะเสียการทรงตัวในที่เปียกหรือลี่นได้ง่ายเราขับรถยกมิใช่แข่งแรลลี่ ดังนั้นควรระมัดระวัง

24.jpg

21. เบาเครื่อง ให้สัญญาณแตรเมื่อจะเลี้ยวหัวมุม

ถ้าสถานที่ทำงานของท่านไม่มีกระจกโค้งให้ดูทางตรงหัวมุมต้องระมัดระวังเมื่อจะเลี้ยวโดยการเบาเครื่อง

แล้วให้สัญญาณแตร และเลี้ยวไปด้วยความระมัดระวัง

25.jpg

22. การขับรถยกข้ามทางรถไฟ ต้องไปช้าๆ เป็นแนวทะแยง (ดูรูปประกอบ)

การขับรถยกที่บรรทุกของเข้ามาทางรถไฟ ย่อมทำให้เกิดกระเทือนดังนั้นเพื่อลดแรงกระเทือน ควรขับทะแยงมุมออกไป เพื่อให้ล้อของรถยกข้ามทางรถไฟทีละล้ออันจะช่วยลดแรงกระเทือนได้

26.jpg

23. หลีกเลี่ยงการที่จะทำให้เสียการทรงตัว

หลีกเลี่ยงการขับรถยกลงในหลุ่ม-บ่อ หรือสิ่งกีดขวาง อันจะทำให้รถเสียการทรงตัว

27.jpg

23. เมื่อยกงาขึ้นสูง พึงระวังสิ่งกีดขวางด้านบน

พึงระวังสิ่งกีดขวางจากระดับสูง เช่น โคมไฟ สายไฟฟ้าท่อติดเพดาน ท่อน้ำระบบดับเพลิงอัตโนมัติ ไม้หรือหิน

ที่วางขวางอยู่บนประตู และสายพานต่างๆ ลดระดับของงาลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในบริเวณที่จำกัดความสูง28.jpg

24. ระมัดระวังด้านข้าง

เมื่อบรรทุกของที่มีความกว้างที่ยื่นเลยออกไปจากตัวรถมากๆตั้งหลักให้ดี กะระยะให้รถยกวิ่งไประหว่างกึ่งกลางของทางวิ่ง

อันจะเป็นการป้องกันมิให้เกิดการกระทบกระทั่งจนเกิดความเสียหายต่อสิ่งของหรือตัวบุคคล
29.jpg

25. อย่ายื่นมือหรือเท้าออกนอกเขตตัวรถ

ขณะขับรถยก อย่ายื่นแขน-เท้าหรือส่วนหนึ่งส่วนใดออกนอกตัวรถอวัยวะเหล่านี้มีเพียงติดตัวมาเท่านั้น เปลี่ยนไม่ได้เหมือนอะไหล่รถยก ควรรักษาไว้ให้ดี
30.jpg

26. ระวังท้ายปัด

ให้สถานที่ที่ค่อนข้างแคบ ควรระวังท้ายรถเวลาเลี้ยวท้ายรถอาจจะไปกระทบกับเสาหรือกำแพงได้
31.jpg

27. อย่ายกงาค้างเอาไว้

เมื่อวิ่งรถเปล่า ควรลดลงไว้ในระดับต่ำเสมอ เพื่อป้องกันมิให้งาไปเฉี่ยวหรือทิ่มแทงสิ่งของหรือตัวบุคคล
32.jpg

28. บรรทุกของใหญ่ของสูง วิธีดีที่สุดคือวิ่งถอยหลัง

ถ้าไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดช่วยบอกทางให้ เมื่อบรรทุกของใหญ่หรือของจำนวนมากๆ อันทำให้มองไม่เห็นทางข้างหน้า ถอยหลังวิ่งดีที่สุด
33.jpg

29. สังเกตพื้นที่จำกัดน้ำหนัก

อย่า-ตายใจพื้นต่อหรือเสริมจะรับน้ำหนักรถยกได้ ไม่ว่าจะบรรทุกของหรือเป็นรถเปล่าๆควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นต่อหรือพื้นเสริมนั้นๆ ตรึงไว้แน่นและแข็งแรง พอที่จะรับน้ำหนักรถยกของเราได้
34.jpg

30. ห้ามล้อและวัสดุกันมิให้ล้อเลื่อน

เมื่อต้องทำงานโดยให้รถยกของลงจากรถบรรทุก ขอให้แน่ใจว่ารถบรรทุกนั้นๆ ให้ห้ามล้อ และใช้วัสดุที่กันมิให้เกิดการไหลของรถไว้แล้ว เพราะถ้ารถบรรทุกเกิดเลื่อนออกไปข้างหน้าอุบัติเหตุร้ายแรงจะเกิดขึ้นกับผู้ขับขี่รถยกแน่นอน

35.jpg

31. การขับขึ้นที่ชันหรือลงที่ต่ำ

การขึ้นที่ชันให้เดินหน้าขึ้น และเมื่อจะลงที่ลาดต่ำ ให้ถอยหลังลง อย่าบรรทุกของและเดินหน้าสู่ที่ต่ำของอาจเลื่อนตกได้ พึงระวังไว้ว่า ในกรณีนี้ควรเดินหน้าหรือถอยหลังช้าๆ
36.jpg

32.ควรมีผู้ช่วยบอกทาง เมื่อบรรทุกของสูงใหญ่บังสายตา

เมื่อบรรทุกของใหญ่ และบังสายตามองทางข้างหน้าไม่เห็นควรมีผู้ช่วยบอกทาง เพื่อความสะดวกและปลอดภัย



37.jpg

33. อย่าใช้รถยกแทนลิฟท์

รถยกออกแบบมาเพื่อความสะอาดในการยกสิ่งของมิใช่เป็นลิฟท์สำหรับบุคคล อันตรายมากในกรณีที่ไปใช้เช่นนั้น

38.jpg

34. รถยกมิใช่รถเมล์

อย่านำรถยกไปยกของอื่นที่ทางโรงงานไม่ได้ออกแบบให้ยกไม่เป็นการปลอดภัยเลยที่จะบรรทุกผู้คนไปบนรถยก

39.jpg

35. ดับเครื่องยนต์เมื่อเลิกใช้งาน

ไม่ควรจอดรถไว้ที่มีพื้นที่มีพื้นลาดเอียง เพราะอาจจะไหลไปชนใครต่อใครได้ ไม่ควรลืมห้ามล้อ ปลดเกียร์ว่างและดับเครื่องยนต์เสีย40.jpg

36. ห้ามสูบบุหรี่ขณะเติมเชื้อเพลิง

ดับเครื่องยนต์ เมื่อเติมน้ำมัน หรือตรวจสอบแบตเตอรี่ ห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
41.jpg

37. ตรวจตรารถยกเมื่อเลิกงาน

การหมั่นตรวจตรารถยกเป็นเรื่องที่ดี ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าโสหุ้ยในการซ่อม และยังส่งผลความปลอดภัย มายังผู้ขับขี่ด้วย ถ้าตรวจพบสิ่งผิดปกติในการทำงานของรถยกรีบรายงานต่อผู้รับผิดชอบทันที


42.jpg