WI-WH-013 มาตรฐานการทำงานในคลังเหล็ก
1. การจัดการพื้นที่
-
จัดพื้นที่สำหรับจัดเรียงสินค้ากองโชว์ พร้อมขาย โดยแยกกลุ่ม ยี่ห้อ โรงใหญ่ และ TATA รวมถึงสินค้า SPO ออกจากกันอย่างชัดเจน
-
ติดป้ายกำกับขนาด ยี่ห้อ จำนวนเส้น/มัด และจำนวนมัด/กอง ให้เห็นชัดเจน
-
จัดกองเก็บสินค้า แต่ละขนาดแยกจากกัน โดยทับชั้นเป็นมัด สูงไม่เกิน 1.5เมตร
-
มีป้ายราคา ติดอยู่ที่ชั้นล่างสุด ของเหล็กทุกกอง มีการแยกสีของป้าย ป้ายสีเหลือง เป็นโรงใหญ่ ป้ายสีแดง เป็นTATA
-
มีการพ่นสีที่กองเหล็ก เพื่อแยกยี่ห้อเหล็ก เช่นโรงใหญ่ สีขาว, TATA สีแดง
-
จัดพื้นที่สำหรับจัดเหล็ก กรณีขายย่อย สินค้าต้องถูกแยกมัดขายทีละมัด โดยนำเหล็กจากกองใหญ่มานับแยกย่อย เมื่อนับเสร็จแล้ว ต้องนำเศษเหลือ เก็บกองเดิมทุกครั้ง ยกเว้น ขนาดที่หมุนเวียนเร็ว เช่น 6มิล, 9มิล และ 12มิล เท่านั้น และมีป้ายราคาบ่งบอกให้เห็นชัดเจน
2. ขั้นตอนการจ่ายสินค้า
-
รับ order ของลูกค้า โดย รับใบERP หรือ สอบถามความต้องการของลูกค้า
-
ทำการบันทึกรายการสินค้าที่ลูกค้าสั่ง ลงใน สมุด Stock Card
-
ยิง แฮนด์เฮล ป้ายราคาที่ตัวสินค้าที่จัด พร้อมใส่จำนวนที่ต้องการ
-
คำนวณ ปริมาณสินค้าที่ลูกค้าต้องการ ว่าเป็น กี่มัด เศษ กี่เส้น
-
จัดการยกสินค้าที่เต็มมัดขึ้นให้ลูกค้า แล้วค่อยทำการจัดเศษ ที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง
-
กรณีสินค้าที่แตกมัด
-
ใช้เหล็กงัด แทงเพื่อแยกเหล็กออกมาก่อนส่วนหนึ่ง
-
ให้ใช้เครนยกเหล็กที่แยกส่วน ขึ้น แล้วค่อยทำการนับจำนวนเส้นตามต้องการ โดยเพิ่มหรือลดเหล็ก ให้ครบตามจำนวน
-
ให้ใช้เครน ยกเหล็กที่นับครบแล้ว ทำการนับทวนสอบอีกครั้งหนึ่ง
-
-
ยกสินค้าเศษขึ้นรถ จากนั้น ยืนยันการจัดสินค้าครบในเครื่องแฮนด์เฮล
-
ทวนสอบ ชนิดสินค้า ยี่ห้อ และปริมาณ กับลูกค้าอีกครั้งก่อนปล่อยรถลูกค้าไปหา เช็คเกอร์
3. การนับสต๊อก
-
กำหนดให้ทำการนับสต๊อกเหล็กทุกรายการ อย่างน้อย วันละ 1 ครั้ง
-
เพื่อความรวดเร็วในการนับ กองสินค้าที่เข้ามาครั้งแรก จะมีการป้ายบ่งชี้ จำนวนมัด ในแต่ละกอง ใช้วิธีคำนวน และนับเศษจริงที่เหลือ
-
หากกองใดมีการยกเหล็กเป็นมัดออกไป ตอนเที่ยงวันต้องนับสต๊อกสินค้า ตัวนั้นซ้ำอีกครั้ง
-
ทำการพิมพ์ เอกาสารตรวจนับ (Count Sheet) ของเหล็กที่ต้องนับ
-
ก่อนการนับทุกครั้ง ต้องตรวจสอบป้ายบ่งชี้ จำนวนมัด ว่ามีติดตัวสินค้าทุกกองเก็บแล้วหรือไม่ ถ้าไม่มีให้ทำการเพิ่มป้ายบ่งชี้ก่อน
-
ทำการนับสต๊อกตามป้ายบ่งชี้ ที่เป็นกองเต็มมัด ในแต่ละกองเก็บก่อนเสมอ
-
ทำการนับสต๊อกเศษ ของเหล็กที่ไม่เต็มมัด โดยใช้เครน ยกปลายเหล็กขึ้นระดับออก และทำการนับเศษว่าได้กี่เส้น
-
นำจำนวนที่นับได้ทั้งหมดมารวมกัน (เต็มมัดบวกเศษ) แล้วใช้แฮนด์เฮลยิงระบุจำนวน และบันทึกตามระบบการตรวจนับ Stock สินค้า
4. checklist ประจำวัน
-
ตรวจสอบราคาสินค้าประจำวันทุกเช้าว่ามีราคาเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ถ้ามีราคาเปลี่ยนแปลงให้ทำการเปลี่ยนป้ายราคาทันที
-
ตรวจสอบป้ายราคา ว่าตรงกับตัวสินค้าที่ติดไว้หรือไม่
-
ตรวสอบ ความถูกต้อง การกองเก็บสินค้าตัวเศษ ให้ตรงตามยี่ห้อ และขนาด ไม่ปะปนกัน
-
ตรวจสอบสินค้า SPO และสินค้าจอง ว่ามีตัวไหนบ้างที่หมดอายุ โดยทำการ พิมพ์รายงานใบจองสินค้าหมดอายุ แล้วนำมาค้นหาใบจองที่ตัวสินค้า แล้วดึงออก หรือสอบถามกับคนขาย ให้ทำเอกสารจองมาใหม่
-
ทำความสะอาดพื้นที่กองเก็บสินค้า
-
ตรวจเช็คสต๊อกสินค้า
5. ความปลอดภัย
-
ผู้ใช้งานต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครอง เช่น หมวกนิรภัย รองเท้าหัวเหล็ก และถุงมือ ในขณะปฎิบัติงานอยู่เสมอ
-
อุปกรณ์ทุกชนิดต้องได้มาตรฐานและตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปั้นจั่น (เครน สำหรับยกเหล็ก) ควรใช้งานภายใต้พิกัดน้ำหนักที่เครื่องจักรรองรับเท่านั้น
กฏการใช้งานเครนอย่างปลอดภัย
ก่อนที่จะมีการยกของนั้นควรได้มีการตรวจสอบสภาพของการจับยึด การควบคุมทิศทางของของที่ยกสลิงและอุปกรณ์ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีการทำลายทิ้ง เพื่อไม่ให้มีการนำมาใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ห้ามผู้ที่ไม่รู้วิธีการใช้งาน หรือไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง และรับผิดชอบโดยตรงใช้รอกและเครน
กฎทั่วไปประกอบด้วย
ต้องแจ้งให้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานออกจากพื้นที่ทำงานก่อนที่จะมีการยก
เคลื่อนตำแหน่งรอกให้ตรงจุดยกโหลดเสมอ ห้ามใช้การลาก ดึง โดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เครนล้ม หรือสินค้าแกว่งชน สามารถบาดเจ็บถึงชีวิตได้
ของที่จะยกจะต้องไม่ถูกยึดติดกับอะไร หรือถูกสิ่งอื่นทับอยู่
และสลิงทุกเส้นต้องได้รับแรงเท่ากัน โดยดูได้จากความตึงของสลิง และใช้สลิงที่ยาวเท่ากัน ต้องระวังไม่ให้สลิงพันกัน เพราะจะทำให้สลิงขาด และเกิดอันตรายได้
ห้ามนั่งบนรอกและเครน หรือเพื่อการโดยสาร ให้คิดว่าสลิงอาจขาดได้ทุกเมื่อ
ก่อนหมุนเคลื่อนที่ หรือหมุนของที่ยก ผู้ควบคุมหน้างานต้องดูรัศมีที่จะหมุนไปไม่มีอะไรมากีดขวาง หรือเป็นอันตรายต่อผู้ที่ทำงาน
การยกของต้องยกขึ้นในแนวดิ่ง ให้รอกตะขอตรงกับศูนย์กลางของน้ำหนักที่ยก
ให้คล้องสายกระจายแรงมิให้เสี่ยงต่อการไหล การไหลของสินค้าอันตรายถึงชีวิต
ไม่ควรเดินรอกหรือยกชิ้นงานข้ามศีรษะผู้อื่นโดยไม่บอกกล่าว อาจเกิดอุบัติเหตุและอันตรายได้
ไม่ควรเล่น แกว่งหรือโยกอย่างคึกคะนอง หรือมองไปทางอื่นขณะทำการยกชิ้นงาน
ไม่ควรยกหรือห้อยของค้างไว้ โดยไม่จำเป็น.
ตรวจสอบสภาพสลิง เบลท์ที่ใช้ยกว่าอยู่ในสภาพดี ไม่ชำรุด ตามมาตรฐานที่กำหนด
หยุดการใช้รอกและเครนทันที เมื่อเสียงดังหรือระบบการทำงานผิดปกติ
No Comments