WI-SA1-003 การควบคุมสินค้า SPO และสินค้า Back Order
1. วัตถุประสงค์
- เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางขั้นตอนในการสั่งสินค้าสั่งพิเศษ (SPO) และสินค้าไม่มีในสต๊อก (Back order) เพื่อควบคุม และลดสต๊อคสินค้าที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ที่เกิดจากการสั่งซื้อ ที่ตกค้างเนื่องจากลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ, สั่งผิด และการทุจริตสั่งสินค้าเพื่อให้ได้เป้าของ Supplier เพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล
- แยกกรณีใดออกไปเป็นเอกสารใหม่ WI-SA-010 คู่มือการขายสินค้าคอนกรีตซีแพค
2. ขอบข่าย
- เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานในการสั่งซื้อสินค้าสั่งพิเศษ (SPO) และสินค้าไม่มีในสต๊อก (Back order) ของบริษัท นพดลพานิช จำกัด (สนญ.) และSCG Home Solution แยกต้นเปา
3. อุปกรณ์/เครื่องมือ
- คอมพิวเตอร์ที่มีระบบ BC Account
4. หน้าที่ความรับผิดชอบ
ตำแหน่ง |
หน้าที่ |
พนักงานขาย |
รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าพร้อมกับอธิบายรายละเอียดในการสั่งสินค้าพิเศษให้กับลูกค้าทราบ รวมถึงการติดตามสินค้าจนกว่าลูกค้าจะได้รับสินค้าเรียบร้อยตามกำหนดเวลาที่ลูกค้าต้องการ |
เจ้าหน้าที่จัดซื้อ |
จัดซื้อสินค้าจาก Supplier ให้กับลูกค้า ตาม Order ที่สั่งซื้อ โดยควบคุมให้การจัดซื้อรัดกุม ไม่ปล่อยให้มีสินค้า Dead Stock เกิดขึ้นจากการสั่งสินค้าที่ไม่มีการมัดจำ หรือข้ามขั้นตอนอนุมัติ |
เจ้าหน้าที่ตรวจรับสินค้า |
ตรวจสินค้าก่อนรับเข้า และแจ้งพนักงานขายและเจ้าหน้าที่จัดซื้อเมื่อมีสินค้าสั่งพิเศษ และสินค้า Back order เข้ามา เพื่อประสานงานส่งสินค้าให้กับลูกค้า |
5. คำจำกัดความ
- สินค้าสั่งพิเศษ (Special-Order Item) คือ สินค้าสั่งพิเศษ, สินค้าสั่งผลิต, สินค้าสั่งตัดเฉพาะงาน เช่น ผนังวิลลี่ , ไม้พื้นลามิเนต , ประตูไซด์พิเศษ เป็นต้น
- สินค้าไม่มีในสต๊อก (Back order) คือ สินค้าที่มีขายในร้านปกติแต่สินค้าหมดสต๊อกชั่วคราว แต่จะมีการสั่งสินค้ามาเพิ่มภายหลัง
(การสั่งสินค้า Backorder เป็นการจองสินค้าไว้ก่อน) - เงินรับมัดจำ (Deposit) หมายถึง เงินขั้นต้นจำนวนหนึ่งที่ผู้สั่งซื้อชำระแก่ผู้ขาย เพื่อเป็นหลักประกันยืนยันว่าผู้ซื้อจะไม่ยกเลิกคำสั่งซื้อในภายหลัง หากลูกค้ายกเลิกการรับสินค้าในภายหลัง จะไม่สามารถเรียกคืนเงินมัดจำได้ และพนักงานจะต้องออกใบจองสินค้า ควบคู่กับใบรับเงินมัดจำ เพื่อให้สามารถระบุสินค้าที่มัดจำไว้ได้
6. เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- ใบสั่งขาย
- ใบสั่งจอง
- ใบรับเงินมัดจำ
- ประกาศนโยบายสินค้า SPO
7. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- เมื่อลูกค้าต้องการสั่งซื้อสินค้าสั่งพิเศษ (SPO) หรือสินค้าขาดสต๊อก (Backorder) พนักงานขายจะต้องให้ลูกค้าลงชื่อในข้อตกลงท้ายเอกสาร ที่จะมีรายละเอียดดังนี้จะต้องอธิบายเงื่อนไขการสั่งซื้อให้ลูกค้าทราบดังนี้
- สินค้าสั่งพิเศษ (SPO) ต้องมีการมัดจำสินค้า 100% เนื่องจากเป็นสินค้าสั่งพิเศษ ไม่มีขายทั่วไป หรือเป็นสินค้าที่ใช้เฉพาะงานนั้นๆจะต้องมีการสั่งผลิต สั่งตัดเฉพาะชิ้นงาน จึงจำเป็นต้องมัดจำ 100% เพื่อป้องกันการยกเลิกสินค้ากลางคัน
กรณีที่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินมัดจำได้ ให้ผู้อำนวยการฝ่ายขาย เป็นผู้พิจารณาเซ็นอนุมัติ |
- สินค้า Back order ต้องมีการมัดจำสินค้าอย่างน้อย 30% ของราคาสินค้าที่สั่ง เพื่อเป็นการยืนยันการสั่งจอง
ยกเว้น ส่วนงานราชการ ที่ไม่ต้องเก็บเงินมัดจำ เพราะส่วนงานราชการต้องมีเอกสารใบสั่งซื้อจากผู้มีอำนาจในหน่วยงานมาก่อนและมีการทำเอกสารตั้งเบิกตามมาเป็นลำดับ (หากหน่วยงานราชการใดทำเอกสารไม่เรียบร้อยและเกิดความเสียหาย พนักงานขาย/หัวหน้าทีม/ผจก.ฝ่ายขาย เป็นผู้รับผิดชอบเมื่อเกิดปัญหากับสินค้านั้นๆ) |
กรณีที่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินมัดจำได้ ให้พิจารณาเป็นรายกรณีไปโดยผ่านการพิจารณาดังนี้
แต่เมื่อผู้อำนวยการพิจารณาแล้วว่าไม่สามารถร่วมรับผิดชอบได้ เห็นควรให้ กรรมการผู้จัดการ เป็นผู้พิจารณาเซ็นอนุมัติ ให้นำเอกสารรายละเอียดในการสั่งซื้อนำเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาเซ็นอนุมัติต่อไป |
- ลูกค้าพิจารณาเงื่อนไขในการสั่งสินค้า เพื่อตัดสินใจสั่งสินค้า
- ลูกค้าไม่ต้องการสั่งสินค้า ให้พนักงานขายเสนอสินค้าอื่นๆที่ลูกค้าต้องการ หรือปิดการขายหากลูกค้าไม่ต้องการสินค้าอื่นอีก
- ลูกค้าต้องการสั่งสินค้า ให้พนักงานสอบถามรายละเอียดสินค้า วันที่ลูกค้าต้องการสินค้า และวิธีการจัดส่ง โดยระบุในเอกสารการมัดจำสินค้า และจัดทำใบ SPO หรือ ใบ Back order
- พนักงานขายออกบิลค่ามัดจำสินค้า พร้อมเรียกเก็บเงินค่ามัดจำสินค้าจากลูกค้า
- ยื่นเอกสารการมัดจำสินค้าและบิลค่ามัดจำสินค้าให้กับลูกค้า
- พนักงานขายแจ้งฝ่ายจัดซื้อให้ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ ตามเอกสารใบ SPO หรือใบ Back order
- Supplier จัดส่งสินค้าตาม order
- สินค้า Pass ส่งให้กับลูกค้าทาง Supplier ประสานงานกับทางฝ่ายจัดซื้อเพื่อจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าเลยโดยไม่ต้องส่งสินค้าผ่านบริษัท ทางพนักงานขายจะออกบิลขายให้กับลูกค้าในภายหลัง
- สินค้าส่งที่บริษัท ทางแผนก GR จะตรวจสอบสินค้าเพื่อรับเข้าตามใบสั่งซื้อ PO จากนั้นทางGR จะดำเนินการโอนสินค้าเข้าคลัง โดยสินค้า SPO จะโอนเข้าคลัง SPO ส่วนสินค้า Back order จะโอนเข้าคลัง BOD และแจ้งให้พนักงานขายและฝ่ายจัดซื้อทราบว่ามีสินค้า SPO / Back order รับเข้ามา จากนั้นพนักงานขายจะแจ้งให้กับลูกค้าทราบว่าสินค้าที่ได้สั่งไว้มาแล้วให้ลูกค้ามารับสินค้าได้ หรือแจ้ง วัน เวลา ที่จะนำสินค้าไปส่ง พร้อมแจ้งยอดเงินที่คงค้างชำระ(ถ้ามี)
- เมื่อลูกค้ามารับสินค้า / ชำระยอดเงินที่คงค้างให้พนักงานขายออกบิลขายให้กับลูกค้า พร้อมรับสินค้าหรือจัดคิวจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าต่อไป
เงื่อนไขการสั่งซื้อ สั่งจองสินค้า
เพื่อให้เกิดความตระหนักในการเฝ้าระวัง และบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง บริษัทจึงกำหนดมาตรการหลักดังนี้
- “เรียกเก็บค่าฝากสินค้า 1% ต่อเดือน” จากสต๊อกที่ผิดเงื่อนไขไม่ว่าในกรณีใด จากส่วนงานที่รับผิดชอบ เช่นหักจาก Incentive และ Commissionของพนักงานขายที่รับผิดชอบการสั่งสินค้า
ระเบียบปฏิบัติในการสั่งซื้อสินค้า
- สินค้า Back Order
สินค้าที่มีขายปกติ (Stock Item) ที่ต้องการจองสินค้า ออก Back order เกินกว่าปริมาณสั่งซื้อสูงสุด ต้องวางเงินมัดจำ 30% ยกเว้น ยกเว้น ส่วนงานราชการ ที่ไม่ต้องเก็บเงินมัดจำ เพราะส่วนงานราชการต้องมีเอกสารการตั้งเบิกเป็นระบบ
(พนักงานขาย/หัวหน้าทีม/ผจก.ฝ่ายขาย เป็นผู้รับผิดชอบเมื่อเกิดปัญหากับสินค้านั้นๆ)
กรณีที่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินมัดจำได้ ให้พิจารณาเป็นรายกรณีไปโดยผ่านการพิจารณาดังนี้
แต่เมื่อผู้อำนวยการพิจารณาแล้วว่าไม่สามารถร่วมรับผิดชอบได้ เห็นควรให้ กรรมการผู้จัดการ เป็นผู้พิจารณาเซ็นอนุมัติ ให้นำเอกสารรายละเอียดในการสั่งซื้อนำเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาเซ็นอนุมัติต่อไป |
ในกรณีลูกค้าจองใช้สินค้า
|
- สินค้าสั่งพิเศษ SPO (Special-Order Item)
ห้ามนำเข้า stock ในร้านให้ Drop-ship (Pass ส่งเข้าหน้างาน) เท่านั้น เว้นแต่
- ลูกค้าชำระเงินมัดจำ 100% ของมูลค่าสินค้า หรือ
- ลูกค้ายินดีชำระค่าบริการฝากสินค้า 1% ของมูลค่าสินค้า หรือ
- ยกเว้น ส่วนงานราชการ ที่ไม่ต้องเก็บเงินมัดจำ เพราะส่วนงานราชการต้องมีเอกสารการตั้งเบิกเป็นระบบ (พนักงานขาย/หัวหน้าทีม/ผจก.ฝ่ายขาย เป็นผู้รับผิดชอบเมื่อเกิดปัญหากับสินค้านั้นๆ)
กรณีที่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินมัดจำได้ ให้ผู้อำนวยการฝ่ายขาย เป็นผู้พิจารณาเซ็นอนุมัติ |
กำหนดเวลาการรับสินค้าและส่งมอบ “สินค้าสั่งพิเศษ" (Special Order Item)
- ห้ามรับสินค้าเข้าคลังก่อนกำหนดนัดลูกค้าเกิน 30 วัน หากไม่มีหมายเหตุ หรือเหตุผลอันควรแจ้งล่วงหน้ากับแผนกบริหารสินค้าเมื่อสั่งซื้อ พนักงานขาย หรือพีซี ที่สั่งจะต้องรับผิดชอบค่าฝากสินค้า หรือมิฉะนั้นแผนก GR ก็ห้ามรับสินค้าเข้าคลัง
- ให้วางแผนร่วมกับลูกค้า ให้สามารถรับสินค้าเข้าไซต์งานภายใน 30 วันหลังจากวันที่นัดส่ง หากผิดจากเงื่อนไขฝ่ายการเงินจะคิดค่าฝากสินค้า 1% จากมูลค่าสินค้าต่อเดือน โดยนับจากวันแรกที่เกิน ซึ่งจะหักจากเงินมัดจำที่ลูกค้าวางไว้
- หากลูกค้าไม่ยินยอมชำระ ให้หักค่าฝากสินค้า 1% นั้นจาก Incentive และ Commission ของพนักงานขาย
การคำนวณการหักค่าฝากสินค้าสั่งพิเศษ
1. แจ้งสถานะทุกสัปดาห์
มีการรายงานแจ้งสถานะการคิดค่าบริการฝากสินค้าสั่งพิเศษ (SPO) ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์ โดยแผนกคอมพิวเตอร์จะส่งให้กับพนักงานทุกท่านได้ทราบทาง e-mail หรือสามารถติดตามได้จากรายงาน GR115 ประกอบ
2. คำนวนค่าบริการฝากสินค้า SPO ประจำเดือน
ทุกวันที่ 1 ของเดือน จะคำนวณสรุปค่าบริการฝากสินค้าสั่งพิเศษ (SPO) ของเดือนที่ผ่านมาระบบจะส่ง Mail รายงานสรุป ให้กับพนักงานได้ทราบ หรือสามารถติดตามได้จากรายงาน GR115 จากศูนย์กลางรายงาน
3. นำยอดคำนวณไปหักตามรอบการจ่าย Incentive
ทุกวันที่ 28 ของเดือน จะมีการคำนวณการจ่ายค่า Incentive และนำค่าบริการฝากสินค้าสั่งพิเศษ (SPO) ที่คำนวณไว้เมื่อวันที่ 1 มาหักจากค่า Incentive ที่พนักงานขายได้รับ
ข้อกำหนดในการจัดการปัญหาโดยทั่วไป
- กรณีลูกค้ายกเลิกสินค้า SPO ให้พนักงานขายติดตามส่งคืนร่วมกับบริหารสินค้าโดยด่วน
- หากไม่สามารถส่งคืนสินค้าให้ Supplier ได้ พนักงานขายมีหน้าที่ร่วมกับผู้จัดการทีมขายผลักดันสินค้าออกจากร้าน
- หากพนักงานลาออก ภาระค่าฝากสินค้าในแต่ละเดือนจะตกเป็นของทีมรับผิดชอบร่วมกัน หากไม่สามารถตกลงกันได้ ถือว่าหัวหน้าทีมจะต้องรับผิดชอบก่อน
- หากต้องการผ่อนผัน ให้วางแผนแก้ไขปัญหามาเสนอกรรมการผู้จัดการ (เฮียทอม) ก่อนสิ้นเดือน มิฉะนั้นรายงานจะถูกส่งให้กรรมการผู้จัดการลงชื่อเพื่อดำเนินการหักเงิน Incentive ตามข้อตกลงนี้
กรณีที่ Supplier ส่งสินค้ามาก่อนกำหนด
ดังกล่าว บริษัทถือว่าเป็นการผลักภาระการสต๊อกสินค้า และจะถือว่ายังไม่ได้รับสินค้า โดยจะทดวันชำระเงินจากวันที่ครบกำหนดชำระจริงตามวันที่นัดส่งมอบเดิมตามใบสั่งซื้อ ด้วยจำนวนวันที่ส่งมาก่อนนัด
ตัวอย่าง
PO นัดรับวันที่ 31 มกราคม ครบกำหนดชำระในรอบบัญชี วันที่ 28 กุมภาพันธ์ Supplier ส่งสินค้ามาวันที่ 1 มกราคม ระบบคอมพิวเตอร์ จะคำนวณวันนัดชำระเงินใหม่ เป็นรอบบัญชี วันที่ 31 มีนาคม
กรณีปกติ
กรณีพนักงานขายหักเงินมัดจำกับสินค้าอื่นที่ไม่ได้จองไว้
ให้ใช้วิธีปฏิบัติงานการตัดเงินรับมัดจำ
กำหนด KPI เพื่อการควบคุม
- KPI สินค้า Rank C เป็นศูนย์
วัตถุประสงค์
เพื่อควบคุมไม่ให้สินค้าใหม่ที่ขายยาก หลุดเข้ามาค้างสต๊อคขายปลีก และเร่งให้ Vender รับคืนหรือเปลี่ยนสินค้าที่ขายดีมาแทน
กรรมวิธีวัดผล
ประมวลผลทุกวันอาทิตย์ตามยอดขายย้อนหลัง 12 สัปดาห์ (สามเดือน) จัดเรียงอันดับในแต่ละกลุ่มสินค้าย่อย (Sub Category) เฉพาะสินค้าสถานะ “สต๊อกขาย” (Sale Inventory/Re-Order) ไม่ว่าจะมีสต๊อคสินค้าหรือไม่ โดยการจัดอันดับนี้ไม่รวมยอดขายจากคลัง Drop-Ship (หรือคลังค้าส่ง) เพราะถือว่าสินค้าสต๊อคขายควรถูกประเมินจากการขายออกจากคลังค้าปลีกเท่านั้น หากนำยอดขายสินค้าจากการขาย Drop-Ship มาร่วมอาจทำให้เกณฑ์จัดอันดับคลาดเคลื่อนจากยอดขายงานโครงการซึ่งจะมียอดสั่งขายที่ไม่สม่ำเสมอ
โดย...
- A = สินค้าที่ยอดขายสูงสุดรวม 75% ของยอดขายรวมในกลุ่มสินค้าเดียวกัน
- B = สินค้าที่กินยอดขายอีก 20% ถัดมา
- C = สินค้าที่เหลือ ที่มียอดขายไม่ถึง 5% ของยอดขายทั้งกลุ่ม
ตามหลักการจะถือว่า Rank C เป็นสินค้าที่ขายไม่ดี ควรพิจารณานำสินค้าส่งคืน/เปลี่ยนสินค้าใหม่ที่ขายดีมาทดแทน หรือ เปลี่ยนสถานะเป็น “สินค้าสั่งพิเศษ” (Special-Order) หรือ “หยุดซื้อ” (Stop buy) ในกรณีเปลี่ยนสถานะ จะต้องดำเนินการติดตามการคืน หรือผลักดันสินค้าออกไป
แต่อีกนัยหนึ่ง เป็นไปได้ว่าสินค้าที่ขายไม่ดีเพราะไม่มีสต๊อคสินค้า จึงไม่เกิดการขายขึ้น จึงควรพิจารณาสภาพสินค้าที่ติด Rank C ในมุมของโอกาสในการเพิ่มยอดขายด้วยเช่นกัน
Action และ จุดควบคุม
สินค้าใหม่ที่ซื้อครั้งแรกเข้ามาไม่เกิน 1 ปีที่ติด Rank C ต่อเนื่อง 12 สัปดาห์จะต้องเป็นศูนย์ โดยทำรายงานแจ้งเตือนภายในสัปดาห์ที่ 12 และภายใน 30 วันจะต้องนำออกจากร้าน เว้นแต่ในกรณีพบว่า
- ขายไม่ดีเนื่องจากไม่มีสต๊อค
- เปลี่ยนสถานะเป็นสินค้าสั่งพิเศษ ซึ่งจะอนุญาติให้เหลือเพียงตัวโชว์ และจะถูกวัดผลใน KPI Dead stock 9 เดือนต่อไป
- KPI Dead Stock 9 เดือน
เพื่อควบคุมสินค้าสั่งพิเศษ, สินค้าสต๊อคขาย หรือสินค้าที่หยุดซื้อไปแล้วไม่มีการเคลื่อนไหวถูกติดตาม
เกณฑ์วัด
สินค้าที่ซื้อครั้งสุดท้ายเกินกว่า 9 เดือน ที่มีสต๊อคคงเหลือ แม้จะมีการขายอยู่ก็ตาม แปลว่าไม่มีการซื้อซ้ำ ควรถูกพิจารณาเปลี่ยนสถานะ หรือผลักดัน หรือส่งคืนออกจากระบบ
Action และ จุดควบคุม
- รายงานสินค้าสั่งพิเศษแจกแจงตามอายุคลัง นับจากวันที่รับเข้า โดยมูลค่าสินค้าสั่งพิเศษ ที่มีอายุเกิน 30 วันควรจะลดลงเรื่อยๆ โดยจะแจกแจงมูลค่าตามช่วงอายุทุกๆ 30 วัน แจกแจงตามรหัสคลัง แยก SPO และ AVL ด้วย
- มูลค่าสินค้าสั่งพิเศษที่จัดเก็บเข้า AVL ที่อายุเกิน 30 วัน ต้องถูกควบคุมป้องกันการผลักสินค้ามีปัญหาเข้าสู่ระบบ ขายปลีก
- รายงานการเรียกเก็บค่าฝากสินค้า
- โดยหักจากเงิน Incentive พนักงานขาย
- สินค้าห้าม Re-Order ที่มียอดสต๊อคอายุเกิน 30 วัน
No Comments