WI-CD-012 การติดตามหนี้กรณีเช็คคืน
- วัตถุประสงค์
เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อควบคุมการติดตาม และเร่งรัดหนี้สิน ตลอดจนจัดเก็บหนี้อย่างมีประสิทฺธิภาพ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลตาม KPI ของแผนกสินเชื่อ คือ “จำนวนหนี้ครบกำหนดที่ค้างชำระ(ไม่เคลื่อนไหว) เกิน 3 เดือนต้องไม่เกิน 5 % ของลูกหนี้ทั้งหมดที่ได้ขายเชื่อไปในเดือนนั้น”
- ขอบข่าย
การวัดผลสัมฤทธิ์ตาม KPI ของแผนกสินเชื่อให้วัดเฉพาะเช็คคืนที่เกิดจากการชำระค่าสินค้า และกลุ่มลูกหนี้ที่ใช้วัดคือ กลุ่ม 10-50 เท่านั้น ส่วนกลุ่มลูกหนี้ 60-E1 ไม่รวมผลในการวัด แต่แผนกสินเชื่อยังคงต้องมีหน้าที่ในการจัดเก็บหนี้ของกลุ่มที่ไม่รวมวัดผลนี้ อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
- คำจำกัดความ
- เช็คคืน หมายถึง เช็คที่นำเข้าบัญชี หรือนำไปขี้นที่ธนาคารแล้วถูกปฎิเสธการจ่ายเงิน
- คณะกรรมการสินเชื่อ หมายถึง คณะกรรมการที่เป็นผู้บริหารระดับสูงประกอบด้วยผู้บริหารระดับผู้อำนวยการขึ้นไป
- ค่าล่าช้า หมายถึง ดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมที่คิดจากลูกค้ากรณีผิดนัด
- ลูกหนี้กลุ่ม 10 หมายถึง ลูกค้าเงินสด
- ลูกหนี้กลุ่ม 20 หมายถึง ลูกค้าเงินเชื่อระยะสั้น
- ลูกหนี้กลุ่ม 30 หมายถึง ลูกค้าเงินเชื่อทั่วไป
- ลูกหนี้กลุ่ม 40 หมายถึง Overdue-ชำระล่าช้าเป็นประจำแต่ยังไม่เสี่ยง
- ลูกหนี้กลุ่ม 41 หมายถึง ลูกหนี้พนักงาน และกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
- ลูกหนี้กลุ่ม 42 หมายถึง ลูกหนี้ตัดบัญชีระหว่างบริษัทฯ
- ลูกหนี้กลุ่ม 50 หมายถึง Late Overdue เริ่มมีพฤติกรรมล่าช้า
- ลูกหนี้กลุ่ม 60 หมายถึง ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระ
- ลูกหนี้กลุ่ม 70 หมายถึง อยู่ระหว่างเจรจา-ยังไม่แน่นอนว่าจะได้เมื่อใด
- ลูกหนี้กลุ่ม 82 หมายถึง ลูกหนี้ผู้บริหารรับรอง
- ลูกหนี้กลุ่ม 80 หมายถึง หนี้สงสัยจะสูญ-อยู่ระหว่างฟ้องร้องบังคับคดี
- ลูกหนี้กลุ่ม 81 หมายถึง หนี้สงสัยจะสูญ-ขาดอายุความ
- หน้าที่และความรับผิดชอบ
พนักงานสินเชื่อ มีหน้าที่คือ
- รับการแจ้งจากลูกค้าว่าเช็คที่รับจะมีการคืนจากธนาคาร
- สอบถามรายละเอียดเช็ค/สาเหตุการคืน
- ทำการติดต่อเจรจาทวงถามและนัดการชำระเงินจากลูกค้า
- นำส่งเงินให้กับแผนกการเงินรับ
พนักงานการเงิน มีหน้าที่คือ
- รับการแจ้งและทำการติดต่อขอรับต้นฉบับเช็คที่คืนจากธนาคาร
- ทำการตรวจสอบสถานะเช็คจากสเตทเม้นท์ประจำวัน และมีเช็คคืนของลูกค้ารายใดบ้าง
- ทำการแจ้งให้แผนกสินเชื่อทราบรายละเอียดเช็คคืนประจำวัน
- ทำการบันทึกรายละเอียดเช็คคืนประจำวัน
- ทำการบันทึกและรับเงินกรณีทวงถามได้
หัวหน้าแผนกสินเชื่อ มีหน้าที่คือ
- ติดตามทวงถาม
- ลงนามในจดหมายทวงหนี้เช็คคืน
- คิดค่าล่าช้า
- ติดต่อสำนักงานทนายความดำเนินการฟ้องร้องบังคับคดี
ผู้จัดการส่วนสินเชื่อ มีหน้าที่คือ
- นำเสนอที่ประชุมให้พิจารณาฟ้องร้อง
- เร่งรัดและช่วยติดตามการทำงานของแผนกสินเชื่อ
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานกลาง หรือคณะกรรมการสินเชื่อมีหน้าที่คือ
- พิจารณาอนุมัติให้ฟ้องร้องบังคับคดีหรือไม่
- ดำเนินการลงนามมอบอำนาจให้หัวหน้าแผนกสินเชื่อกรณีอนุมัติฟ้อง
- เอกสารอ้างอิง
5.1. ใบคืนเช็ค (Cheque Returned) ของธนาคาร
5.2. ใบแจ้งเช็คคืน-เข้าบัญชีใหม่ ของธนาคาร
5.3. ตัวจริงของเช็คที่คืน
5.4. ใบเสร็จรับเงินของธนาคารเจ้าของเช็ค เรียกเก็บค่าธรรมเนียม
5.5. รายงานเช็คคืน
- ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
6.1. ขั้นตอนการรับเช็คคืนจากธนาคาร
เมื่อแผนกการเงินนำฝากเช็คเข้าบัญชีปรากฏเช็คมีปัญหาเรียกเก็บเงินไม่ได้ ซึ่งช่องทางการทราบเช็คมีปํญหาเรียกเก็บเงินไม่ได้มีดังนี้.-
- จากเจ้าหน้าที่ธนาคารโทรมาแจ้ง (โดยเฉพาะธนาคาร UOB จะแจ้งทุกครั้ง)
- จากพนักงานของบริษัทไปรับมาเองจากธนาคาร
- จากการตรวจสอบสเตทเม้นท์ประจำวัน
- จากลูกค้าโทรแจ้งให้ทราบก่อน
การที่ธนาคารคืนเช็คที่เรียกเก็บไม่ได้ ธนาคารจะมีเอกสารประกอบการแจ้งมาให้ด้วยดังนี้
1.ใบคืนเช็ค (Cheque Returned)
- ใบแจ้งเช็คคืน-เข้าบัญชีใหม่
- ตัวจริงของเช็คที่คืน
- ใบเสร็จรับเงินของธนาคารเจ้าของเช็ค เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเช็คคืน
เมื่อได้รับเอกสารข้างต้นแล้ว ให้พนักงานสินเชื่อที่รับผิดชอบตรวจสอบสาเหตุของการคืนเช็ค ซึ่งมีเหตุผลที่ธนาคารใช้แจ้งให้ทราบเป็นรหัส หรือหมายเลข โดยแต่ละรหัสมีความหมาย และให้ปฎิบัติต่อเหตุผลแต่ละข้อ ดังนี้.-
หมายเลข |
คำอธิบาย |
การดำเนินการต่อเช็คที่คืนของแผนกสินเชื่อ |
1 |
เงินในบัญชีไม่พอจ่าย |
แจ้งลูกค้าว่าจะให้เอาเข้าใหม่หรือเปลี่ยนเป็นเงินสด |
2 |
บัญชีปิดแล้ว |
ให้ลูกค้านำเงินสดมาแลก |
3 |
สั่งจ่ายจากจำนวนที่มีตราสารรอเรียกเก็บเงินอยู่โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย |
แจ้งลูกค้าว่าจะให้เข้าใหม่หรือนำเงินมาแลกหรือเปลี่ยนเป็น Bank อื่น |
4 |
เช็คลงวันที่ล่วงหน้า |
ให้นำกลับมาเพื่อรอครบกำหนดใหม่ |
5 |
เช็คพ้นกำหนดการจ่ายเงิน |
!!!โปรดระวังกรณีลูกค้าเก็บไว้ก่อนห้ามรับ เมื่อมีปัญหาให้แจ้งลูกค้ามาเปลี่ยนเช็คใบใหม่ให้หรือขอเก็บเงินสดแทน |
6 |
จำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรและตัวเลขไม่ตรงกัน |
ให้รีบแจ้งลูกค้าเพื่อขอแก้ไขให้ถูกต้อง !!! โปรดระวังตอนรับเช็คให้ตรวจสอบด้วย |
7 |
โปรดให้ผู้สั่งจ่ายลงนาม |
กรณีนี้คือไม่มีลายเซ็นผู้สั่งจ่าย ให้รีบติดต่อลูกค้าเพื่อลงนามของผู้มีอำนาจสั่งจ่าย !!! โปรดระวังตอนรับว่ามีลายเซ็นต์ครบหรือไม่ |
8 |
ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขที่ให้ไว้กับธนาคาร |
ให้รีบแจ้งลูกค้าเพื่อขอแก้ไขให้ถูกต้อง |
9 |
โปรดประทับตราของผู้สั่งจ่ายตามตัวอย่างที่ให้ไว้กับธนาคาร |
ให้รีบติดต่อลูกค้าเพื่อประทับตรา |
หมายเลข |
คำอธิบาย |
การดำเนินการต่อเช็คที่คืนของแผนกสินเชื่อ |
10 |
โปรดสลักหลังให้ครบถ้วนถูกต้อง |
แจ้งให้ผู้ที่เซ็นต์สลักหลังให้ดำเนินการให้ครบถ้วน เช่นไม่ได้ประทับตรา หรือลายเซ็นต์ชื่อไม่ครบตามที่ให้ไว้กับธนาคาร |
11 |
มีคำสั่งให้ระงับการจ่าย |
ให้ติดต่อลูกค้าเพื่อทราบเหตุผลและติดตามทวงถามทันที |
12 |
เช็คชำรุด โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย |
ติดต่อลูกค้าขอเปลี่ยนใบใหม่ หรือให้ลูกค้าสั่งให้ธนาคารสั่งจ่ายได้ |
13 |
เช็คสั่งจ่ายผิดปกติ เช็คสั่งจ่ายไม่ถูกต้อง |
ให้ติดต่อลูกค้ากรณีนี้ทางบริษัทฯ ยังไม่พบปัญหา |
14 |
เช็คข้ามเขต โปรดนำส่งเพื่อเรียกเก็บ |
ให้ติดต่อลูกค้ากรณีนี้ทางบริษัทฯ ยังไม่พบปัญหา |
15 |
เช็คส่งเรียกเก็บผิดธนาคาร |
ให้ทำPay-in เข้าบัญชีใหม่ที่ถูกต้อง |
16 |
ผู้สั่งจ่ายมีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ โปรดติดต่อธนาคารผู้สั่งจ่าย |
ให้ติดต่อธนาคารตามที่ระบุในเช็ค กรณีนี้ทางบริษัทฯ ยังไม่พบปัญหา |
17 |
โปรดรับรอง “เข้าบัญชี..........แล้ว” |
แจ้งลูกค้าให้เพิ่มรับรองเข้าบัญชี...แล้ว |
18 |
เช็คปลอม/มิใช่แบบพิมพ์เช็คที่ตกลงไว้กับธนาคาร |
ให้ติดต่อลูกค้า กรณีนี้ให้รายงานผู้บริหารระดับสูงทราบด้วย |
19 |
ผู้สั่งจ่ายถึงแก่กรรม |
ให้ติดต่อทายาทลูกค้าเพื่อรับสภาพหนี้ |
20 |
เช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารกว่าหนึ่งธนาคารโปรดให้ผู้สั่งจ่ายออกเช็คใหม่ |
ให้แจ้งลูกค้าขอเปลี่ยนเป็นเงินสดหรือเช็คใบใหม่ |
6.2. ขั้นตอนการติดต่อเจรจาลูกค้า กรณีที่ไม่มีเงินในบัญชี หรือต้องแลกเป็นเงิน/เช็คใบใหม่
ให้พนักงานแผนกสินเชื่อผู้รับผิดชอบทำการติดต่อเจรจากับลูกค้าให้ทำการผ่านเช็คให้เร็วที่สุด เนื่องจากการชำระเงินของลูกค้าจนถึงการชำระด้วยเช็คส่วนใหญ่ จะเป็นการชำระที่เกินกำหนดอยู่แล้ว หากต้องมีปัญหาเช็คคืนก็จะทำให้การชำระเงินนั้นล่าช้าไปอีก ดังนั้น เมื่อลูกค้าตกลงนัดชำระเงิน แต่มีระยะเวลามาเป็นเงื่อนไขเพิ่มให้ปฏิบัติดังนี้.-
6.2.1 กรณีชำระให้ทันที โดยไม่ต้องคิดดอกเบี้ย หรือค่าล่าช้า
- ชำระเป็นเงินสดหรือเงินโอนแทนเช็คใบเดิม
- ชำระเป็นเงินสดบางส่วนและตีเช็คใบใหม่โดยลงวันที่ปัจจุบันให้บางส่วน
- ชำระเป็นเช็คใบใหม่ลงวันที่ปัจจุบันให้ โดยขอใบเก่าคืน
6.2.2 กรณีที่แจ้งการเลื่อนชำระไปอีก ให้ดำเนินการส่งให้หัวหน้าแผนก หรือผู้จัดการส่วน เพื่อพิจารณาว่าจะคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าหรือไม่ หากหัวหน้าแผนก หรือผู้จัดการส่วนเห็นว่าเป็นลูกค้าประเภทรายใหญ่ หรือ Vip ซึ่งเกรงว่าลูกค้าจะมีปัญหาไม่พอใจ ก็ให้ขอการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการสินเชื่ออีกชั้นหนึ่ง สำหรับอัตราดอกเบี้ย ให้คิดในอัตรา 15 % ต่อปี ตามสัญญาเปิดบัญชีเงินเชื่อ ส่วนลูกค้าจะทำการต่อรองให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าแผนก หรือผู้จัดการส่วน หรือคณะกรรมการสินเชื่อแล้วแต่กรณี
6.3. ขั้นตอนการนัดเก็บเงิน
เมื่อทำการติดต่อเจรจาทวงถามยอดหนี้ที่เกิดจากเช็คคืนแล้ว และมีการนัดหมายให้ไปเก็บเงินจากลูกค้า
กรณี เก็บเงินได้ก็ให้นำส่งแผนกการเงินตามเดิมแต่ หากเก็บเงินตามข้อตกลงตามนัดไม่ได้และลูกค้าใช้เวลาในการนัดหลายครั้งให้ปฏิบัติดังนี้.-
6.3.1. นัดครั้งที่ 1. เก็บไม่ได้ ให้ทำจดหมายแจ้งให้เวลาภายใน 15 วัน
6.3.2. นัดครั้งที่ 2. เก็บไม่ได้ ให้นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสินเชื่อเพื่อให้พิจารณาอนุมัติส่งฟ้องร้องบังคับคดี
กรณีอนุมัติให้ดำเนินการฟ้องร้องฯ ก็ให้หัวหน้าแผนกส่งเรื่องให้สำนักงานทนายความเซ็นต์รับเอกสารที่เกี่ยวข้อง
กรณีที่ไม่อนุมัติให้ดำเนินการฟ้องร้อง ทางแผนกสินเชื่อจะต้องติดต่อลูกค้าทันทีเพื่อขอเปลี่ยนเช็คใบใหม่ เนื่องจากอายุความของเช็คกรณีฟ้องอาญามีอายุเพียง 3 เดือนนับแต่วันคืนเช็ค ฟ้องทางแพ่ง มีอายุ 12 เดือนนับแต่วันคืนเช็ค อายุความของเช็คนี้ให้ใช้กับกรณีที่อนุมัติให้ฟ้องร้องบังคับคดีด้วย เพราะต้องพึงระวังไม่ให้หมดอายุความ
6.4. ขั้นตอนการนำส่งแผนกการเงิน
เมื่อได้รับเงินตามเช็คไม่ว่ากรณีใด ให้นำส่งแผนกการเงินดำเนินการออกใบเสร็จรับเงินตามขั้นตอนต่อไป
- เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- FM-CD-007 แบบฟอร์มจดหมายทวงหนี้
- FM-CD-008 แบบฟอร์มจดหมายแจ้งผู้ค้ำประกัน
- FM-CD-009 แบบฟอร์มใบนำส่งเอกสารทนายความ
No Comments