WI-MC-010 กระบวนการตั้งรหัสสินค้าฝากขาย
-
วัตถุประสงค์
การจัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงาน การตั้งรหัสสินค้าฝากขาย เพื่อให้เป็นมาตรฐานและแนวทางการทำงานเดียวกันเพื่อให้สามารถสืบค้นรหัสสินค้าได้ง่ายและรวดเร็ว ตามประเภทหรือชนิดสินค้า
-
ขอบเขต
เป็นการตั้งรหัสสินค้าที่เจ้าของสินค้าซึ่งเรียกว่า ผู้ฝากขาย นำสินค้ามาฝากขายกับทางบริษัท นพดลพานิช จำกัด ซึ่งทางฝ่ายจัดซื้อจะเป็นผู้ตั้งรหัสสินค้าฝากขายนี้ เพื่อให้ง่ายและรวดเร็วต่อการสืบค้น
-
คำจำกัดความ
การฝากขาย หมายถึง การที่บุคคลที่เป็นเจ้าของสินค้าซึ่งเรียกว่า ผู้ฝากขาย ส่งสินค้าของตนไปให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับฝากขาย เป็นผู้ขายสินค้าให้ โดยที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังคงเป็นของผู้ฝากขายจนกระทั่งสินค้านั้นขายได้ กรรมสิทธิ์ในสินค้าจึงจะโอนเป็นของผู้ซื้อสินค้า ผู้รับฝากขายจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามที่ได้ตกลงกันไว้ ประโยชน์ด้านผู้ฝากขายสำหรับการส่งสินค้าไปฝากขายจะมีหลายประการ คือ เป็นการขยายตลาดให้กว้างขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนตั้งสถานที่จำหน่ายสินค้า หรือไม่ต้องเสี่ยงต่อการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อและเรียกเก็บเงินไม่ได้ หรือราคาขายสินค้าจะเป็นราคาเดียวกันในทุกที่ที่ส่งสินค้าไปฝากขาย เพราะผู้ฝากขายเป็นผู้กำหนดราคาขายและเงื่อนไขการขายเอง ส่วนด้านผู้รับฝากขายจะได้รับประโยชน์ในด้านการลดความเสี่ยงจากการขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินค้า เพราะผู้รับฝากขายจะทำหน้าที่เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายเท่านั้นไม่ใช่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้า นอกเหนือจากผลประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ผู้รับฝากขายจะต้องมีหน้าที่ในการดูแลสินค้าที่รับฝากขาย ขายสินค้าตามราคาที่กำหนด พิจารณาให้เครดิตลูกค้าสำหรับการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และส่งเงินค่าขายสินค้าพร้อมรายงานการขายสินค้าให้แก่ผู้ฝากขาย
-
หน้าที่ความรับผิดชอบ
เจ้าหน้าที่จัดซื้อ
หน้าที่ 1. ทำการตั้งรหัสสินค้าฝากขาย
2. แจ้งรหัสสินค้าที่ตั้งใหม่ให้แผนกที่เกี่ยวข้องทราบ
-
วิธีการปฏิบัติงาน
ความสำคัญของการฝากขาย
การฝากขายกับการขายสินค้ามีความแตกต่างกันในเรื่องของกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้า กล่าวคือ การฝากขายนั้นกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้รับฝากขาย ดังนั้นสินค้าที่คงเหลือ อยู่กับผู้รับฝากขาย ก็ยังคงเป็นของผู้ฝากขายอยู่ส่วนการขายสินค้ากรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าจะถูกโอนเปลี่ยนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อทันที เมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น
ขั้นตอนการจัดทำรหัสสินค้าฝากขาย
1. เข้าโปรแกรมการใช้งาน เช่น แชมป์ 2018 ใส่ PASSWORD
2.เข้าไปที่สินค้าคงคลัง - รายละเอียดสินค้า-ข้อมูลหลัก
2.1 กำหนดบาร์โค๊ดสินค้า โดยใช้ 13 หลักจากโรงงาน ถ้าไม่มีให้ใช้ 7 หลักแทน ลงท้ายบาร์โคดด้วย CS และชื่อรายการสินค้า ต้อง ใส่ (CS) ต่อท้ายด้วย
ตัวอย่าง 100.86.924CS
มือจับเฟอร์นิเจอร์474*38 มม. สีนิกเกิ้ลด้าน HAFELE(CS)
สําหรับสินค้าที่เป็น Dead Stock ที่หยุดการสั่งซื้อและไม่มีเคลื่อนไหวเกิน 9 เดือน และ
เป็น สินค้าฝากขาย ให้ลงท้ายบาร์โคดด้วย CS และชื่อรายการสินค้า ต้อง ใส่ (P) นําหน้าและต่อท้ายด้วย (CS) ในรายละเอียดชื่อสินค้าทุกครั้ง
ตัวอย่าง 101.69.002CS
(P)มือจับซิ้งค์อัลลอยด์ HAFELE สีสแตนเลสสตีล 101.69.002 (CS)
2.2 ประเภทสินค้าต้องกำหนดเป็นสินค้าฝากขาย
2.3 ตั้งชื่อให้ถูกต้องตามหลัก
2.4 ประเภทต้นทุน ต้องเป็น ต้นทุนเฉลี่ย
2.5 หน่วยนับสินค้ากำหนตามที่เราตั้ง
- หน่วยนับเดี่ยว
- หลายหน่วยนับ
2.6 สถานะสินค้าระบุเป็นขาย สถานะการรับคินสินค้า ระบุเป็น รับ ยกเว้น สินค้าสั่งพิเศษที่ให้ระบุเป็นไม่รับ
2.7 รายละเอียด 2 กำหนดหน่วยนับ
- หน่วยนับมาตรฐาน
- หน่วยนับขาย
- หน่วยนับซื้อ
แยกเป็น 2 กรณี เช่น
รายละเอียดกุล่มสินค้า ต้องกำหนดให้ถูกต้องตาม
- Category กำหนดตามสินค้า
- Sub Category กำหนดตามสินค้า
- Class กำหนดตามสินค้า
- Sub Class กำหนดตามสินค้า
- รหัสยี่ห้อ ต้องระบุทุกครั้ง
2.8. รายละเอียด3 คลังและที่เก็บเริ่มต้น ต้องกำหนดให้ถูกต้องตามคลังและที่เก็บสินค้า
2.9. รายละเอียดสินค้า 4 บาร์โคด ต้องกำหนดบาร์โค๊ดให้ถูกต้อง
2.10. รายละเอียด 5 กำหนดสถานะสินค้า
2.11. รายละเอียด 6 กำหนดราคาตั้ง เนื่องจากทำป้ายราคาหน้าร้านจึงต้องกำหนดราคาตั้งและหน่วยนับให้ถูกต้องตามที่เรากำหนด
3. กำหนดราคาขาย
4. บันทึกข้อมูล
5. เงื่อนไขการชำระเงิน
5.1. ทุกๆ วันที่ 1 ของเดือนถัดไป จัดซื้อจะดึงรายการขายสินค้าฝากขายให้กับทาง
บัญชีตรวจสอบ
5.2. โดยจะดึงจากรายงานการขายสินค้า (SL-201 หรือ SL-203)
5.3. นำส่งแผนกบัญชีให้ชำระเงินให้กับเจ้าหนี้
6. การเปิด PO ต้องทำเป็น POC อัตราภาษีแยกนอก และ รับเข้าเป็น คลัง VND
7. สินค้าฝากขายที่เป็นตัว SHOW ต้องอยู่ใน คลัง VND ส่วนสินค้าฝากขายที่เป็นตัว สต็อกขาย
จะรับเข้าเป็นคลังสต็อกขาย S1-A,S2-A
No Comments