Skip to main content

WI-MC-012 กระบวนการตั้งรหัสสินค้าชุด

  1. วัตถุประสงค์

การจัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงาน การตั้งรหัสสินค้าชุด เพื่อให้เป็นมาตรฐานและแนวทางการทำงานเดียวกันเพื่อให้สามารถสืบค้นรหัสสินค้าได้ง่ายและรวดเร็ว ตามประเภทหรือชนิดสินค้า

  1. ขอบเขต

เป็นการตั้งรหัสสินค้าที่ฝ่ายจัดซื้อนำสินค้าต้งแต่ 2 รายการมาประกอบรวมกันเป็นชุดเพื่อขาย

  1. คำจำกัดความ

สินค้าชุด คือ การนำสินค้าตั้งแต่ 2 รายการมาประกอบกันรวมกัน เพื่อขาย

  1. หน้าที่ความรับผิดชอบ

เจ้าหน้าที่จัดซื้อ  หน้าที่ 1. กำหนดสินค้าที่จะนำมาประกอบกันเป็นสินค้าชุด

        2. ทำการตั้งรหัสสินค้าชุด

3. แจ้งรหัสสินค้าที่ตั้งใหม่ให้แผนกที่เกี่ยวข้องทราบ

BY3-W03 : การตั้งรหัสสินค้าชุด

สินค้าชุด คือ การนำสินค้าตั้งแต่ 2 รายการขึ้นไป มาประกอบรวมกัน เพื่อขายให้ลูกค้า


ขั้นตอนการจัดทำรหัสสินค้าชุด

1. เข้าโปรแกรมการใช้งาน เช่น แชมป์ 2018 ใส่ PASSWORD


2. เข้าไปที่สินค้าคงคลัง - รายละเอียดสินค้า-ข้อมูลหลัก

2.1 กำหนด รหัสสินค้า และ บาร์โค๊ดสินค้า โดยใช้บาร์โค๊ดที่จัดซื้อกำหนดขึ้นมาโดยรหัสจะ Run ตามระบบ

  • SetC1-XXXXXX

  • SetC2-XXXXXX

  • SetC3-XXXXXX

  • SetC4-XXXXXX

ระบบจะขึ้น Auto ให้ (Set2 หมายถึง สินค้า Set ตามด้วย Cat…...)

ตัวอย่าง SETC2-000036 

กําหนด ชื่อสินค้า โดย ชื่อสินค้าจะต้องมี คําว่า SET นําหน้ารายละเอียดชื่อสินค้าทุกครั้ง

ตัวอย่าง SETC2-000036 

SET ฝักบัว American สีชมพู พร้อมวาล์ว Pixo (A-6099-PI-HS+ FC-011)



สําหรับสินค้าที่เป็น Dead Stock ที่หยุดการสั่งซื้อและไม่มีเคลื่อนไหวเกิน 9 เดือน และเป็น SET ชื่อสินค้าจะต้อง ใส่ (P) นําหน้าและต่อด้วย SET และรายละเอียดชื่อสินค้าทุกครั้ง

ตัวอย่าง SETC2-0000055

(P) SET ชุดโปรโมชั่น (ขอแขวน CT0061+หิ้ง CT0062+ราว CT0063+ราว CT0064)

(P) SET ชุดโปรโมชั่น (ขอแขวน CT0061+หิ้ง CT0062+ราว CT0063+ราว CT0064)

2.2 ประเภทสินค้าต้องกำหนดเป็นสินค้าชุด


2.3 “ตั้งชื่อ” จะตั้งตามความเหมาะสมของสินค้านั้นๆ หรือตั้งชื่อตามโปรโมชันของสินค้า

2.4 ประเภทต้นทุน ต้องเป็น ต้นทุนเฉลี่ย

2.5 หน่วยนับสินค้ากำหนดตามที่เราตั้ง

- หน่วยนับเดี่ยว

- หลายหน่วยนับ

2.6 สถานะสินค้า ระบุเป็น ขาย สถานะการรับคินสินค้า ระบุเป็น รับ ยกเว้น สินค้าสั่งพิเศษที่ให้ระบุเป็น ไม่รับ

2.7 รายละเอียด 2 กำหนดหน่วยนับ

- หน่วยนับมาตรฐาน

- หน่วยนับขาย

- หน่วยนับซื้อ

แยกเป็น 2 กรณี เช่น

หน่วยนับเดี่ยว

- หน่วยนับมาตรฐาน ตัว

- หน่วยนับซื้อ  ตัว

- หน่วยนับขาย ตัว

หลายหน่วยนับ

- หน่วยนับมาตรฐาน   แผ่น

- หน่วยนับซื้อ กล่อง

- หน่วยนับขาย แผ่น

รายละเอียดกุล่มสินค้า ต้องกำหนดให้ถูกต้องตาม

- Category กำหนดตามสินค้า

- Sub Category กำหนดตามสินค้า

- Class  กำหนดตามสินค้า

- Sub Class กำหนดตามสินค้า

- รหัสยี่ห้อ ต้องระบุทุกครั้ง


รายละเอียด3 คลังและที่เก็บเริ่มต้น ต้องกำหนดให้ถูกต้องตามคลังและที่เก็บสินค้า



รายละเอียดสินค้า 4 บาร์โคด ต้องกำหนดบาร์โค๊ดให้ถูกต้อง




รายละเอียด 5 กำหนดสถานะสินค้า



รายละเอียด 6 กำหนดราคาตั้ง เนื่องจากทำป้ายราคาหน้าร้านจึงต้องกำหนดราคาตั้งและหน่วยนับให้ถูกต้องตามที่เรากำหนด


กำหนดราคาขาย



ขั้นตอนต่อไป ให้เข้าไปที่สินค้าคงคลัง-สินค้าชุด



คีย์รหัสชุดเข้าไป แล้ว ใส่รายการสินค้า,จำนวน,ราคาต้นทุน ที่จะประกอบในระบบ แล้วทำการบันทึกข้อมูล โดยกดปุ่มบันทึก เสร็จแล้วกลับไปตรวจสอบราคาขายอีกรอบเป็นอันเรียบร้อย