Skip to main content

WI-DS-102 เกณฑ์การบรรทุกสินค้า

เกณฑ์การบรรทุกสินค้า

image-1655372423785.png

1. วัตถุประสงค์

เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อควบคุมมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ของแผนกจัดส่ง ในเรื่องของ เกณฑ์การบรรทุกสินค้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการส่งมอบสินค้า (PM-DS-002) เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในด้านการบรรทุกสินค้าที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

2. ขอบข่าย

ใช้เป็นมาตรฐานในการบรรทุกสินค้า พิจารณาตามขนาดของรถ และประเภทของสินค้าที่จัดส่ง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในด้านการบรรทุกสินค้าอย่างสูงสุด

3. อุปกรณ์/เครื่องมือ

  • พาเลท
  • ไม้หมอน
  • รถโฟล์คลิฟท์
  • เชือก/สายรัดของ

4. ความรับผิดชอบ

ธุรการจัดส่ง

  • กระจายแผนการจัดส่งให้พนกงานขับรถ
  • ตรวจสอบความพร้แมของรถและคนขับ
  • รวบรวมแบบประเมินความพึงพอใจ
  • บันทึกปัญหาในการจัดส่งและใบประเมินความพึงพอใจ

เช็คเกอร์

  • ตรวจนับความถูกต้องของสินค้าที่พนักงานคลังจัดมา
  • เช็คสินค้าขึ้นรถพร้อมพนักงานขับรถ

5. คำจำกัดความ

พาเลท หมายถึง อุปกรณ์สำหรับวางสินค้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หนาประมาณ 5 นิ้ว

ไม้หมอน หมายถึง ไม้ที่มีขนาดความยาว 1 เมตร ใช้รองรับสินค้าบนรถ

6. เอกสารอ้างอิง

การส่งมอบสินค้า (PM-DS-002)

7. วิธีปฏิบัติงาน

7.1 วิธีการขึ้นยิปซัม, วีว่าบอร์ด

  • เคลียร์พื้นที่บนรถให้เรียบเอาไม้หมอนรองไว้ จำนวน 3 อัน ต่อยิปซั่ม/วีว่าบอร์ด 1 ต้้ง รถคันใหญ่สามารถวางยิปซั่ม/วีว่าบอร์ด ได้ 2 ตั้ง โดยวางตามแนวยาวของตัวรถ ตั้งไว้ชิดด้านหน้าของตัวรถ และด้านท้ายของรถ
  • นำยิปซั่ม/วีว่าบอร์ด ขึ้นรถโดยใช้รถโฟล์คลิฟท์ยก ยิปซั่ม/วีว่าบอร์ด ขึ้นวางบนไม้หมอนที่เตรียมไว้ทั้ง 2 ด้าน
  • ยิปซั่ม/วีว่าบอร์ด ที่วางบนรถต้องมีจำนวนเท่ากันทั้ง 2 ด้าน
  • ใช้เชือกมัดยิปซั่ม/วีว่าบอร์ด ด้านหัวและด้านท้ายทั้ง 2 ด้าน
  • ใช้เหล็กฉากรองขอบสินค้า เพื่อป้องกันสายรัดทำความเสียหายให้กับสินค้าที่รัด 
  • ปิดฝารถให้เรียบร้อยก่อนรถออก

27438_0.jpg27440_0.jpg

27439_0.jpg

27442_0.jpg

27451_0.jpg

messageImage_1728980580634.jpg


27452_0.jpg


7.2 วิธีการขึ้นเหล็กเส้น

  • ตรวจเช็คความเรียบร้อยของการมัดเหล็กก่อนนำขึ้นรถนำไม้หมอนมารองรับไว้บนรถก่อนนำเหล็กขึ้นวาง โดยวางไม้หมอนไว้ 2 ฝั่งของรถ 
  • นำเหล็กขึ้นวางบนไม้ที่เตรียมไว้
  • ถ้าเหล็กมีจำนวนมากต้องวางหลายชั้น ชั้นต่อไปต้องเอาไม้รองอันใหม่วางบนเหล็กที่นำขึ้นรถก่อนแล้วจึงนำเหล็กมัดใหม่ขึ้นวางทับ
  • จำนวนเหล็กที่นำขึ้นรถต้องมีจำนวนเท่ากันทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อที่เวลารถวิ่งรถจะได้ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง

    image.png

    image.png

    image.png

    image.png

    image.png

    image.png


7.3 วิธีการขึ้นปูน

  • เคลียร์พื้นที่บนรถให้เรียบ
  • ใช้รถโฟล์คลิฟท์ยกปูนขึ้นวางพร้อมทั้งพาเลท ถ้าวาง 2 พาเลทให้จำนวนปูนที่อยู่ด้านท้ายรถมีจำนวนมากกว่าด้านหัวรถเพื่อที่เวลารถวิ่งจะได้บังคับพวงมาลัยรถได้ง่ายและสะดวกในการลงสินค้า
  • มัดเชือกที่ปูนแถวสุดท้ายของกะบะรถ เพื่อป้องกันการล้มและตกหล่นเสียหายขณะรถวิ่ง
  • ถ้าขึ้นปูนพาเลทเดียวให้วางไว้ด้านท้ายของรถและใช้เชือกวัดปูนแถวสุดท้ายเพื่อป้องกันการล้ม และตกหล่นเสียหายขณะรถวิ่ง ง่ายต่อการบังคับพวงมาลัยรถ และสะดวกในการลงสินค้า
  • ปิดฝารถด้านท้ายและด้านข้างท้ง2 ด้านให้เรียบร้อยก่อนรถออก

42693_0.jpg

42695_0.jpg

42696_0.jpg

27299_0.jpg

42692_0.jpg

photo_2024-10-15_14-33-14.jpg


42719_0.jpg

7.4 วิธีการขึ้นกระเบื้อง 

  • จัดวางกระเบื้องบนพาเลท และใช้รถโฟล์คลิฟท์ยกขึ้นวางกลางกะบะรถชิดด้านหน้า และเรียงต่อกันมาตรงกลาง และท้ายรถ
  • นำกระเบื้องที่วางอยู่บนพาเลทขึ้นวางกลางกะบะรถชิดด้านท้ายของรถ
  • ปิดฝาด้านท้ายและด้านหลังของกะบะรถ
  • นำเชือก/สายรัด มามัดชั้นบนสุด และด้านท้ายสุดของกระเบื้องเพื่อป้องกันการตกหล่นขณะรถวิ่ง โดยใช้เหล็กฉากรองขอบสินค้า เพื่อป้องกันสายรัดทำความเสียหายให้กับสินค้าที่รัด 

27316_0.jpg

27326_0.jpg

27328_0.jpg

27321_0.jpg

42660.jpg

7.5 วิธีการขึ้นลอน , ครอบ และเหล็กเส้น

  • เปิดกระบะด้านข้างรถท้ง 2 ด้านและด้านท้าย
  • นำลอนขึ้นวางตรงกลางกะบะรถชิดด้านท้ายของรถ
  • นำครอบวางไว้ตรงกลางและด้านข้างชิดด้านหน้าของรถ
  • ปิดฝาด้านท้ายและด้านข้างท้ง 2 ด้านของรถ
  • นำเหล็กขึ้นวางข้างลอนและใช้เชือกมดลอนและเหล็ก ป้องกนเหล็กโยกโดนลอนแตก

27282_0.jpg

27277_0.jpg

27272_0.jpg

27269_0.jpg

7.6 วิธีการขึ้นอิฐมวลเบา(คิวคอน)และแผ่นหลังคาโมเนีย

  • เคลียร์พื้นที่บนรถให้เรียบ
  • ใช้รถโฟล์คลิฟท์ยกอิฐมวลเบาหรือแผ่นหลังคาโมเนียขึ้นวางพร้อมทั้งพาเลท ถ้าวาง 2 พาเลทให้จำนวนอิฐมวลเบาหรือแผ่นหลังคาโมเนียที่อยู่ด้านท้ายรถมีจำนวนมากกว่าด้านหัวรถเพื่อที่เวลารถวิ่งจะได้บังคับพวงมาลัยรถได้ง่ายและสะดวกในการลงสินค้า
  • รัดสายเบลล์ที่อิฐมวลเบาหรือแผ่นหลังคาโมเนียแถวสุดท้ายของกะบะรถ เพื่อป้องกันการล้มและตกหล่นเสียหายขณะรถวิ่ง
  • ถ้าขึ้นอิฐมวลเบาหรือแผ่นหลังโคาโมเนีย 2 พาเลท(กรณีใช้รถสี่ล้อกลาง)ให้วางไว้ด้านท้ายของรถและใช้เบลล์รัดอิฐมวลเบาหรือแผ่นหลังคาโมเนียแถวสุดท้ายเพื่อป้องกันการล้ม และตกหล่นเสียหายขณะรถวิ่ง ง่ายต่อการบังคับพวงมาลัยรถ และสะดวกในการลงสินค้า(ความสูงของอิฐมวลเบาและโมเนีย ต้องสูงไม่เกิน 1.20 เมตร)
  • ใช้เหล็กฉากรองขอบสินค้า เพื่อป้องกันสายรัดทำความเสียหายให้กับสินค้าที่รัด 
  • นำผ้าใบหรือผ้าเต้นท์มาคลุมสินค้าเพื่อป้องกันสินค้าตกหล่นเสียหายบนท้องถนนระหว่างทางที่รถวิ่ง
  • ปิดฝารถด้านท้ายและด้านข้างท้ง2 ด้านให้เรียบร้อยก่อนรถออก

27561_0.jpg

27570_0.jpg

27571_0.jpg

42690_0.jpg

42691_0.jpg