Skip to main content

WI-DS-12 คู่มือความปลอดภัยพนักงานขับรถ

มาตรฐานบังคับการขนส่งทางบก

ข้อมูล : กรมการขนส่งทางบกกรมการขนส่งทางบก

               ลงนามความร่วมมือกับสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศ ไทย และ สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจวัตถุอันตราย หวังสร้างมาตรฐานด้านรถบรรทุก นำไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างจริงจังร่วมกำหนดบทบัญญัติ 10 ประการพร้อมคุมเข้มเน้น เรื่องของความปลอดภัยมี ดังนี้
1. ห้ามใช้รถขับรถที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ หรือถูกพักใช้เพิกถอนใบอนุญาตขับรถ มาตรา 32 (6)ประกอบมาตรา 131 ปรับไม่เกิน 50,000 บาท
2. ห้ามใช้ผู้ขับรถขับรถติดต่อกันนานเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ในรอบยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้ผู้ขับรถ 1 คน ขับรถติดต่อกันไม่เกินสี่ชั่วโมง เว้นแต่ได้พัก ติดต่อกัน 
    เป็นเวลาไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถต่อไปได้อีก ไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน (มาตรา 32(6) ประกอบมาตรา 131 ปรับไม่เกิน 
    50,000บาท
3. ควบคุมดูแลไม่ให้ผู้ขับรถเสพสุรา ยาเสพติดหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและ ประสาทขณะปฏิบัติหน้าที่ขับรถ มาตรา 40 ทวิ ประกอบมาตรา 138 ทวิจ
    จำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจ าทั้งปรับ
4. ควบคุมดูแลให้ผู้ขับรถใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด และขับชิดขอบทาง ด้านซ้าย มาตรา 32(6) ประกอบมาตรา 131 ปรับไม่เกิน 50,000 บาท 
5. จัดทำประวัติคนขับรถและรายงานอุบัติเหตุ (ถ้ามี) มาตรา 35 ประกอบมาตรา 131 ปรับไม่เกิน 50,000 บาท
6. ไม่ใช้รถไม่จดทะเบียนเสียภาษี หรือมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรือเครื่อง อุปกรณ์และส่วนควบไม่ถูกต้อง มาตรา 71 ประกอบมาตรา 148 ปรับไม่เกิน
     50,000 บาท
7. จัดให้มีป้ายสะท้อนแสงหรือไฟกระพริบสำหรับใช้เมื่อรถเสีย มาตรา 71 ประกอบมาตรา 148 ปรับไม่เกิน 50,000 บาท
8. ไม่บรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด มาตรา 32 (3) ประกอบมาตรา 131 ปรับไม่เกิน50,000 บาท
9. รถบรรทุกวัตถุอันตรายต้องติดตั้งระบบ GPS มาตรา 32 (6) ประกอบมาตรา 131 ปรับไม่เกิน50,000 บาท
10.รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ต้องใช้อุปกรณ์สำหรับยึดตรึงตู้คอนเทนเนอร์(TWIST LOCK) มาตรา71 ประกอบมาตรา 148 ปรับไม่เกิน 50,000 บาท
       - พนักงานขับรถจะต้องปฏิบัติตามด้านการจอดรถที่กฎหมายกำหนด ด้านรถบรรทุกลักษณะการวางกรวยสะท้อนแสงห่างจากรถ 50 เมตรทุกครั้งที่ จอดรถบนไหล่ทางเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
       - พนักงานขับรถจะต้องแจ้งการจอดรถพักรถมาที่ศูนย์ Call Center ในกรณีจอด พักระหว่างทางด้านขนส่งต้องแจ้งสถานที่จุดพักรถให้ศูนย์ Call Centerทราบ ทุกครั้ง 

ข้อห้ามของพนักงานขับรถที่ไม่พึงกระทำเพื่อความปลอดภัย
1. ขณะขับรถไม่ควรใช้โทรศัพท์ห้ามใช้โทรศัพท์ทุกกรณีไม่โทร ไม่รับขณะขับรถจะช่วยทำให้ไม่มีสมาธิในการขับ มากยิ่งขึ้น แม้จะเป็นไปได้ยากที่จะไม่รับ
    ไม่โทรศัพท์แต่อย่างน้อยถ้าต้องใช้โทรศัพท์ควร จะมี Small Talk เพื่อช่วยให้การขับขี่รถ

image.png

2. ง่วง อย่ำขับ เมา อย่า ขับ หากสภาพร่างกายไม่พร้อมไม่ควรขับรถเด็ดขาดเพราะในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจาก อุบัติเหตุปีละกว่า 14,000 คน ในจำนวน นี้
    เป็นผู้เสียชีวิตจากการง่วงแล้วขับหลับในมากถึง 2,800 คน คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น มูลค่าความ เสียหายมากถึงปี
    ละกว่า 20,000 ล้านบาท อุบัติเหตุที่เกิดจากการหลับในค่อนข้างรุนแรงจากคนหลับในขาดสติ ไม่รู้ตัว

image.png

3. ห้ามเลี้ยวกะทันหัน การไม่ให้สัญญาณไฟในการขับรถตัวอย่างการขับรถออกจากที่จอด, จอดรถ, กลับ รถหรือการเลี้ยว ถ้าละเลยการให้สัญญาณไฟจะ
    ทำให้รถคันอื่นมองไม่เห็นรถ โดยไม่คำนึงถึงผู้ที่ขับตามมา รถคันไหนที่ใช้ความเร็วก็อาจเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน อาจถึงชีวิตและ เดือดร้อนต่อผู้อื่น

image.png

4. ห้ามปาดแซงบริเวณคอสะพาน-จุดตัดหรือจุดกลับรถ การรอกลับรถนานขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของคนขับรถ เช่น การไม่ต่อแถว (เสียเวลา) ปาด แซง แทรก
    พฤติกรรมเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนถนนได้

w644.jpg

5. ห้ามขับคร่อมเลน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมขับรถที่เปลี่ยนเลนซ้ายบ้างขวาบ้างหรือคร่อมเลน ผู้ใช้ถนน คนอื่นที่ขับตามหลังมาก็สับสนไม่รู้ว่าจะไปทาง
    ไหนอาจท าเกิดอันตรายตามมาโดยไม่ คาดคิดก็เป็นได้

1442199607-vlcsnap201-o.jpg

6. ห้ามขับรถจี้หลังคันหน้า การขับรถให้ปลอดภัยต้องเว้นระยะให้ห่างเพียงพอเพราะรถไม่สามารถเริ่มเบรกได้พร้อมคันหน้า ทันทีที่คันหน้าเบรกความเร็วก็
    จะลดลงกะทันหันแต่รถยังเคลื่อนที่ด้วย ความเร็วคงที่ก็จะเกิดการพุ่งชนเข้าใส่ท้ายรถคันหน้าเป็นอุบัติเหตุที่พบเห็นได้บ่อย

05ea9e3d-8668-44f0-9fe9-ebb7ef062eac.jpg

7. ห้ามเปลี่ยนเลนโดยไม่ให้สัญญาณ ทุกครั้งเมื่อจะต้องออกจากที่จอด, กลับรถ หรือการเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา ส่วนใหญ่ มักละเลยการให้สัญญาณให้รถคันอื่น
     มองเห็นโดยไม่คำนึงถึงผู้ที่ขับตามมา กรณีรถคันหลังที่ขับตามมาด้วยความเร็วอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
8. ห้ามจอดในที่ห้ามจอด การจอดรถในที่ห้ามจอดหากผู้ขับขี่จอดรถตามลักษณะต้องห้าม 15 ลักษณะจะมีความผิด ซึ่งตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522
     มาตรา 57 กำหนดว่าห้ามผู้ขับขี่จอด รถในที่ห้ามจอดมีดังต่อไปนี้
     1) บนสะพานหรืออุโมงค์
     2) ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะ 10 เมตร จากทางร่วมทางแยก
     3) ห้ามจอดในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
     4) ห้ามจอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
     5) ห้ามจอดรถ ในระยะ 3 เมตร จากท่อน ้าดับเพลิง
     6) ห้ามจอดรถในระยะ 10 เมตร จากที่ดินตั้งสัญญาณจราจร
     7) ห้ามจอดในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
     8) ห้ามจอดซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
     9) ห้ามจอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถหรือในระยะ 5 เมตร จากปากทางเดินรถ
    10) ห้ามจอดรถในระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
    11) ห้ามจอดรถในที่คับขัน
    12) ห้ามจอดรถในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและให้จอด เลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
    13) ห้ามจอดรถในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
    14) ห้ามจอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจรทั้งนี้หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามทั้ง 13 ข้อ ตามมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
          สามารถแจ้งไปที่สถานีตำรวจท้องที่ให้ดำเนินการ
9. การขับรถเข้าโค้งขณะบันทุกสินค้าหนัก (ความเร็วเข้าโค้งไม่เกิน 10 กม/ชั่วโมง)

คุณสมบัติของพนักงานขับรถ : Driver Qualification
         พนักงานขับรถมีบทบาทสำคัญที่ต้องทำหน้าที่ของตนเองและถือปฏิบัติตาม ขั้นตอนการทำงานด้วยความพร้อมความปลอดภัยสอดคล้องกับเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า ตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านขนส่งตามกฎระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย ดังนั้น คุณสมบัติของพนักงานขับรถมี ดังนี้
1. พนักงานขับรถต้องมีอายุ 25-60 ปี และมีประสบการณ์ขับรถอย่างน้อย 2-3 ปีขึ้นไป
2. พนักงานขับรถจะต้องมีใบอนุญาตขับขี่ ตรงตามประเภทรถ ระบุวันเดือนปีที่อนุญาต วันหมดอายุ และได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก 
3. พนักงานขับรถจะต้องผ่านการอบรมจาก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ตามกฎหมาย กระทรวงแรงงาน (จากสถาบันที่ผ่านการอบรมจากกรมพัฒนาฝีมือ
     แรงงาน)
4. พนักงานขับรถจะต้องผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมจาก กรมตำรวจเพื่อเป็นการยืนยันประวัติส่วนบุคคลก่อนเข้าปฏิบัติงาน
5. พนักงานขับรถจะต้องผ่านการตรวจสุขภาพประจำปี ตามกำหนดระยะเวลาและ ตรวจโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานและการขับขี่มีการบันทึกและเก็บ
    รักษาผล การตรวจอย่างเป็นระบบ
6. พนักงานขับรถจะต้องมีเอกสารการเข้าทำงาน, บัตรประชาชน, สำเนาทะเบียน บ้าน, ใบขับขี่, รูปถ่ายและมีบุคคลรับรองการเข้าทำงาน
7. พนักงานขับรถที่อยู่ในช่วงทดลองงานจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้า งานและผ่านการทดสอบประเมินผลงานก่อนปฏิบัติหน้าที่
8. พนักงานขับรถจะต้องปฏิบัติงานร่วมกับหัวหน้าอย่างน้อย 7 วัน โดยหัวหน้า จะประเมินผลการปฏิบัติงานอีกครั้งก่อนการบรรจุงานเป็นพนักงานขับรถ
9. เมื่อพนักงานที่ผ่านการประเมินแล้วจะได้ลงปฏิบัติงานจริงและจะต้องถูก ประเมินจากลูกค้า โดยทางหน่วยงานจะต้องส่งใบประเมินให้กับลูกค้าผ่านทาง
     พนักงานขับรถ
10.พนักงานขับรถซึ่งผ่านการทดลองงานจะต้องทำการขึ้นทะเบียนเป็นพนักงาน ขับรถ โดยหน่วยงานทะเบียนขนส่งจะทำหน้าที่ในการขึ้นทะเบียนตาม
     แบบฟอร์มที่กำหนดพร้อมทั้งออกบัตรประจำตัวพนักงาน

1. การเตรียมความพร้อมของพนักงานขับรถ Driver Readiness Preparation
1.ความพร้อมด้านบุคคล (ตัวพนักงานขับรถ)
1) การแต่งกายด้วยเครื่องแบบตามที่บริษัทกำหนด สวมชุดสุภาพ ห้ามใส่กางเกง ขาสั้นหรือกางเกงขาดโดยเด็ดขาด
2) การสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ครบชุด เช่น หมวกเซฟตี้และสายรัดคาง, แว่นตา เซฟตี้, รองเท้าเซฟตี้หัวเหล็ก, หน้ากากกรองฝุ่น, หมอนรองล้อ ด้านหน้าด้าน
    หลัง, เสื้อสะท้อนแสง
3) การให้ความร่วมมือการตรวจวัดไข้, การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์, การสุ่ม ตรวจวัดสารเสพติด

2. ความพร้อมของยานพาหนะ อุปกรณ์เครื่องมือ
1) พนักงานควบคุมรถจะต้องเช็คสภาพรถ (ตามใบเช็คลิส)
2) พนักงานควบคุมรถจะต้องเช็คอุปกรณ์ หางพ่วง (ตามใบเช็คลิส)
3) พนักงานควบคุมรถจะต้องเช็คอุปกรณ์ซฟตี้ เช่น สายรัด, ฉากกั้น,กรวย สะท้อนแสง, ที่หนุนล้อ, เสื้อสะท้อนแสง, แว่นตา, ผ้าปิดจมูก

2. การตรวจสอบก่อนปฏิบัติงาน
1) พนักงานขับรถจะต้องมีความพร้อมด้านยานพาหนะและอุปกรณ์เซฟตี้
2) พนักงานขับรถจะต้องตรวจรอบรายการสินค้าและสินค้าให้ตรงกับที่ลูกค้าต้องการ
3) พนักงานขับรถจะต้องตรวจจำนวนสินค้า สภาพสินค้า บุบ แตกรั่วซึมของสินค้าให้ดำเนินการแจ้งหัวหน้างาน
4) พนักงานขับรถจะต้องทำการรัดสินค้าบนรถให้อยู่สภาพสมบูรณ์ไม่โยก ไม่เอียง วางให้ติดกันเพื่อการเดินทางและความปลอดภัยของสินค้า ถ่ายรูปการ
    รัด สินค้า 3 ด้านส่งในกลุ่มไลน์ก่อนนำรถออก
5) พนักงานขับรถจะต้องตรวจสภาพ กล่อง พาเลท, ถัง, และจะต้องเช็คสภาพสินค้าก่อนนำขึ้นรถ
6) พนักงานขับรถกำหนดการวางสินค้าด้วยตนเองเพื่อเป็นการวางให้น้ำหนัก รถสมดุลและสามารถรัดสายรัดตรงจุดรัดเป็นการป้องกันสินค้าเสียหาย
7) พนักงานขับรถจะต้องถ่ายรูปการรัดสินค้า การล็อคซีล มายังกลุ่มไลน์เพื่อเป็นการยืนยันการส่งมอบต่อไป
8) พนักงานขับรถบรรทุกต้องตรวจสอบน้ำหนักสินค้าร่วมกับลูกค้าให้ตรงตาม กฎหมายมาตรฐานความปลอดภัยของกรมการขนส่งทางบก เช่น รถ 6 ล้อรับ
     บรรทุกสินค้าไม่เกิน 5 ตัน, รถ 4 ล้อ รับบรรทุกสินค้าไม่เกิน 1 ตัน
9). พนักงานขับรถบรรทุกต้องจัดเรียงสินค้าให้ชิดติดกัน เพื่อความปลอดภัยและป้องกันสินค้าลื่น
10). พนักงานขับรถบรรทุกต้องปิดประตูพร้อมล็อกกุญแจหรือซีล ครบทุกประตูให้เรียบร้อยก่อนเคลื่อนรถออกจากพื้นที่
11).หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุระหว่างการขนส่งพนักงานขับรถบรรทุก จะต้องรายงานปัญหาให้ทางบริษัทรับทราบทันที โดยรายงานมาที่หัวหน้า
      ขนส่งเพี่อรายงานปัญหาให้ผู้เกี่ยวข้องและลูกค้าทราบต่อไป
12.การติดตามสถานการณ์จัดส่งเพื่อการส่งมอบสินค้าได้ถูกต้องและทันเวลาที่ลูกค้ากำหนด บริษัทฯ มีระบบ GPSและกลุ่มไลน์ในการติดตามสถานการณ์
      จัดส่งสินค้า