WI-HR-002 การสัมภาษณ์งานเบื้องต้น
1. วัตถุประสงค์
เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อควบคุมมาตรฐานในการปฏิบัติงานของส่วนบุคคล-ธุรการ ในเรื่องของ “การสัมภาษณ์งานเบื้องต้น” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ PM-HR-001 การสรรหาคัดเลือกพนักงาน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในด้านการสอบถามประวัติและข้อมูลต่างๆ ของผู้สมัครงาน.
2. ขอบข่าย
เอกสารฉบับนี้ใช้เป็นคู่มือในการสัมภาษณ์งานเบื้องต้น ในการรับสมัครพนักงานของ บริษัท นพดลพานิช จำกัด
3. หน้าที่และความรับผิดชอบ
3.1 ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารกลาง
สัมภาษณ์ผู้สมัครงานในรอบที่ 2
3.3 ผู้จัดการส่วนบุคคล
สัมภาษณ์ผู้สมัครงานในรอบที่ 2
3.4 พนักงานสรรหา
ตรวจเช็คใบสมัครงานและหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วนและ สัมภาษณ์ผู้สมัครงานเบื้องต้น
4. คำจำกัดความ
4.1 ใบสมัครงาน หมายถึง ใบสมัครที่ใช้สำหรับสมัครงานในตำแหน่งของพนักงานรายเดือน
4.2 ใบสมัครงาน (ลูกจ้างชั่วคราว) หมายถึง ใบสมัครที่ใช้สำหรับสมัครงานในตำแหน่งของพนักงานรายวัน
4.3 ผู้สัมภาษณ์ หมายถึง พนักงานสรรหา
4.4 ผู้สมัครงาน หมายถึง บุคคลที่มาสมัครงานกับทางบริษัทฯ
4.5 หัวหน้างาน หมายถึง ผู้จัดการแผนกหรือหัวหน้างานของแผนกที่ต้องการรับพนักงานใหม่
5. วิธีปฏิบัติงาน
5.1 รับสมัครงาน
- ถามผู้สมัครงานว่าสมัครงานในตำแหน่งใด
- ส่งใบสมัครงานให้ถูกประเภทกับผู้สมัคร
- ตรวจเช็คใบสมัครงาน / หลักฐานต่างๆ
- ตรวจเช็คใบสมัครงานว่าผู้สมัครกรอกข้อมูลครบหรือไม่ ถ้ากรอกไม่ครบให้นำไปกรอกใหม่
- ตรวจเช็คหลักฐานที่ใช้ในการสมัครงาน ดังนี้
-
- รูปถ่าย 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว 1 ใบ
- สำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ
- สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
- สำเนาวุฒิการศึกษา 1 ฉบับ
- สำเนาใบประกาศต่างๆ (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการทำงาน
- สำเนาเอกสารรับรองการผ่านเกณฑ์ทหาร
ถ้าขาดหลักฐานในส่วนใด ให้ถามผู้สมัครงานว่านำมาด้วยหรือไม่
6. สัมภาษณ์ผู้สมัครงานเบื้องต้น มีหลักเกณฑ์ต่างๆ ดังนี้
6.1 การพิจารณาการแต่งกายของผู้สมัคร ควรมีข้อพิจารณา ดังนี้
- การแต่งกายของผู้สมัครงาน สุภาพ , สะอาด , เรียบร้อย , เหมาะสมหรือไม่
- กรณีผู้สมัครชายควรจะโกนหนวดเคราให้เรียบร้อยไม่พับแขนเสื้อ , กรณีผู้สมัครหญิงไม่ควรใส่กระโปรงสั้นหรือยาวจนเกินไป,ทรงผมของผู้สมัครเหมาะสมหรือไม่
- หากผู้สมัครที่ยังแต่งชุดนิสิตนักศึกษามาสัมภาษณ์ อาจแสดงถึงความไม่เตรียมพร้อมในการทำงาน
6.2 รูปแบบการสัมภาษณ์
1. การสัมภาษณ์โดยมีการกำหนดคำถามไว้ก่อนล่วงหน้า (Structured Interview) ซึ่งจะทำให้ผู้สมัครแต่ละรายได้รับคำถามในลักษณะเดียวกัน ทำให้สามารถสังเกตความแตกต่างในการตอบคำถาม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ตลอดจนทราบรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ จากผู้สมัครได้เป็นแบบเดียวกัน
2. การสัมภาษณ์โดยไม่มีการกำหนดคำถามไว้ก่อน (Unstructured Interview) ใช้เพื่อทดสอบไหวพริบ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของผู้สมัคร
3. การสัมภาษณ์แบบจำลองเหตุการณ์ (Situation Interview) ใช้เพื่อให้ผู้สมัครได้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ หรืออาจมีกรณีศึกษาเพื่อให้ผู้สมัครได้ตัดสินใจ
7. ประเภทคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์
- คำถามแบบปิด (Close ended) คือคำถามที่ผู้สัมภาษณ์เจาะจงให้ผู้สมัครตอบเพียงว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” เช่น การถามว่า “ที่คุณต้องการจะเปลี่ยนงานเพราะคุณมีความขัดแย้งกับหัวหน้างานใช่หรือไม่?”
- คำถามแบบเปิด (Open ended) เป็นคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการทราบความคิดเห็น ตลอดจนต้องการทราบทัศนคติในด้านต่าง ๆ จากผู้สมัคร เช่น คุณมีวิธีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานในที่ทำงานใหม่ได้อย่างไร??”
- คำถามทวนให้ผู้สมัครแสดงความมั่นใจ เพื่อทดสอบว่าผู้สมัครพูดหรือมั่นใจเช่นนั้นจริง ๆ เช่น “เมื่อสักครู่คุณบอกว่าคุณต้องการจะเปลี่ยนงาน โดยไม่ได้มีสาเหตุจากความขัดแย้งในที่ทำงานใช่หรือไม่??”
- คำถามหยั่ง เป็นคำถามที่ต้องการหาเหตุผล ความเชื่อ และทัศนคติของผู้สมัคร เช่น “คุณลาออกจากงานทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้งานใหม่เลยหรือ?? ทำไมจึงทำเช่นนั้น??”
- คำถามหลัก ๆ ที่ใช้ในการสัมภาษณ์
คำถามเกี่ยวกับชีวิต และครอบครัวของผู้สมัคร เช่น
- ขอให้คุณเล่าชีวิตในวัยเด็กให้ผู้สัมภาษณ์ทราบเบื้องต้น
- บุคคลใดในครอบครัวที่คุณรัก และคิดว่ามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคุณ
- คุณมีเป้าหมายในชีวิตอย่างไร
คำถามเกี่ยวกับการศึกษาและกิจกรรมขณะที่เรียน
- ขอให้คุณเล่าประวัติการศึกษาให้ผู้สัมภาษณ์ทราบ
- คุณคิดว่าจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษามาประยุกต์ใช้ในงานได้อย่างไร
- ขณะที่เรียนอยู่ คุณทำกิจกรรมอะไรหรือไม่ ตำแหน่งใด
คำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา
- ขอให้คุณเล่าประสบการณ์ทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน
- ในบรรดาที่ทำงานที่ผ่านมาคุณชอบที่ไหนมากที่สุด เพราะอะไร
- เหตุใดคุณจึงต้องการเปลี่ยนงาน
- คุณมีจุดมุ่งหมายสูงสุดในชีวิตการทำงานอย่างไร
- คุณคิดว่าผลตอบแทนเช่น เงินเดือน หรือสวัสดิการเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการพิจารณาเปลี่ยนงานหรือไม่ เพราะอะไร
คำถามเกี่ยวกับทัศนคติ และการควบคุมอารมณ์
- คุณเคยมีความคิดที่ขัดแย้งกับนโยบายของบริษัทบ้างหรือไม่ ยกตัวอย่างให้เห็นชัด
- ถ้าคุณคิดว่าคุณไม่มีความก้าวหน้าในบริษัทแล้วคุณจะทำอย่างไรต่อไป
คำถามทั่วไป
- คุณคิดว่าคุณมีจุดเด่นในด้านใด
- คุณดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่บ้างหรือไม่ สุขภาพของคุณตอนนี้เป็นอย่างไร
- คุณมีงานอดิเรกอะไรบ้าง หรือคุณชอบเล่นกีฬาอะไร
8. ข้อควรตระหนักในการเป็นผู้สัมภาษณ์งาน
- ควรเป็นฝ่าย “ฟัง” มากกว่าเป็นฝ่าย “พูด” เพื่อที่จะได้สามารถ “อ่าน” ผู้สมัคร หรือเก็บข้อมูลจากผู้สมัครให้ได้มากที่สุดเพื่อประกอบการตัดสินใจ
- ควรหลีกเลี่ยงความลำเอียงในลักษณะ Stereo Type กล่าวคือ ความรู้สึกที่ท่านถูกชะตา หรือไม่ถูกชะตากับผู้สมัครในครั้งแรกที่พบกัน (First Impression) ให้มากที่สุด เพราะผู้สมัครอาจไม่ได้เป็นอย่างที่ท่านคิด ท่านควรใช้ข้อมูลและเหตุผลในการพิจารณามากกว่าการใช้ “ความรู้สึก”
- ควรปิดท้ายการสัมภาษณ์ด้วยให้ผู้สมัครงานสอบถามสิ่งที่ยังสงสัยข้องใจ เพื่อความกระจ่างชัดในเรื่องต่าง ๆ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- FM-HR-004 แบบประเมินผลการสัมภาษณ์ผู้สมัคร
No Comments