WI-CA-011 การรับและตัดเงินรับมัดจำ
เงินรับมัดจำหมายถึง เงินขั้นต้นจำนวนหนึ่งที่ผู้ซื้อชำระแก่ผู้ขาย เพื่อเป็นหลักประกันยืนยันว่าผู้ซื้อจะซื้อสินค้า นั้นจริง ซึ่งพนักงานผู้รับเงินมัดจำจะต้องออกใบจองควบคู่กับใบรับมัดจำ และเงินรับมัดจำนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินค้า หากลูกค้ายกเลิกการรับสินค้าหลังจากที่ได้มีการสั่งซื้อไปแล้ว จะถูกริบเงินมัดจำทันที
ขั้นตอนการปฎิบัติงาน

รายละเอียดขั้นตอนการปฎิบัติงาน
พนักงานขายทำใบสั่งจองมายื่นให้แคชเชียร์ แคชเชียร์ทำเอกสารผ่านโปรแกรม ERP เข้าเมนูใบมัดจำ สร้างเอกสาร ระบุรหัสลูกค้า ค้นหาเลขที่ใบจองตามที่ได้รับจากพนักงานขาย เลือกประเภทเอกสาร (VAT-แผนกค้าปลีก) ระบบจะดึงขอมูลจากใบจองมาให้แคชเชียร์ แคชเชียร์ตรวจสอบยอดเงินที่ระบุไว้ตรงช่องมูลค่ารับเงิน ว่ามีจำนวนเท่าไรแล้วแจ้งกับลูกค้า (จำนวนเงินที่แคชเชียร์จะแจ้งให้ลูกค้าทราบจะต้องทราบจากพนักงานขายก่อนแล้วว่าได้ตกลงจะชำระไว้ 50% หรือ รับ 100% เพื่อให้แคชเชียร์แจ้งจำนวนเงินให้ลูกค้าได้ถูกต้อง) เมื่อได้รับเงินแล้วให้บันทึกรับเงิน พิมพ์เอกสาร ใบเสร็จรับเงิน/ใบรับเงินมัดจำ/ใบกำกับภาษี ยื่นให้พนักงานขายเซ็นต์ชื่อ ให้ลูกค้าเซ็นต์ผู้มัดจำสินค้า นำต้นฉบับให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐาน
พนักงานขายทำไม่ทำใบสั่งจองมายื่นให้แคชเชียร์ แคชเชียร์ทำเอกสารผ่านโปรแกรม ERP เข้าเมนูใบมัดจำ สร้างเอกสาร ระบุรหัสลูกค้า เลือกประเภทเอกสาร (VAT-แผนกค้าปลีก) บันทึกในหมายเหตุ รับเงินมัดจำล่วงหน้าเพื่่อซื้อสินค้าปกติ บันทึกยอดเงินในช่องมูลค่ารวมภาษี ตามจำนวนเงินที่ได้รับมาจริง ทำรับชำระ บันทึกเอกสาร พิมพ์เอกสาร ใบเสร็จรับเงิน/ใบรับเงินมัดจำ/ใบกำกับภาษี ยื่นให้พนักงานขายเซ็นต์ชื่อ ให้ลูกค้าเซ็นต์ผู้มัดจำสินค้า นำต้นฉบับให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ประเภทการรับเงินมัดจำ
- สำหรับสั่งซื้อสินค้าพิเศษ Spacial order ที่ไม่มีใน Stock หรือ เพื่อสั่งซื้อสินค้าที่มีสต๊อกขายปกติแต่ต้องการในปริมาณที่มากเกินกว่าปริมาณ Maximum order ถ้าต้องการให้สินค้านี้เข้ามาพักที่ร้านต้องระบุคลัง SPO แต่ถ้าส่งตรงไปยังลูกค้าให้ระบุในใบจองหรือใบ Back เป็นคลัง Pass (Drop-Ship) ทั้งนี้พนักงานขายต้องเรียกเก็บเงินรับมัดจำอย่างน้อย 50% ของมูลค่าสินค้าที่สั่ง และออกเอกสารใบสั่งจอง (RWVW) เพื่อระบุสินค้าที่สั่งจอง โดยนำเอกสารนี้ไปประกอบกับการออกใบรับเงินมัดจำ กรณีนี้แผนก IT จะพิมพ์ข้อความอัตโนมัติในใบรับมัดจำข้อความ “ เงินมัดจำนี้่ไม่สามารถเรียกคืนได้เมื่อท่านยกเลิกการรับสินค้าที่จอง”
- สำหรับจ่ายเงินล่วงหน้าเพื่อซื้อสินค้าปกติ(ยังไม่ระบุสินค้า) แคชเชียร์จะต้องพิมพ์หมายเหตุในใบรับมัดจำ “จ่ายเงินล่วงหน้าเพื่อซื้อสินค้าปกติ” กรณีนี้จะไม่มีใบจองประกอบ
การตัดเงินรับมัดจำ
- แคชเชียร์จะตัดรับมัดจำได้ ก็ต่อเมื่อสินค้านั้นตรงกับรายการที่ระบุในใบจอง/ใบรับมัดจำเท่านั้น
- กรณีที่ลูกค้ารับสินค้าไม่หมด (ทยอยรับ) แคชเชียร์จะต้องเก็บเงินมัดจำไว้ตัดงวดสุดท้าย (ป้องกันลูกค้ายกเลิกการรับสินค้างวดสุดท้ายและไม่มีเงินมัดจำให้หักค่าเสียหาย) ดังนั้นพนักงานขาย ต้องแจ้งให้ลูกค้าชำระเงินที่เหลือ ในงวดแรกที่เบิกสินค้าทันที
- พนักงานขายจะต้องตรวจสอบใบจองที่ดึงมาทำใบสั่งขายต้องระบุคลัง SPO หรือคลัง Pass เท่านั้น
- การตัดเงินรับมัดจำข้ามสาขา(กรณีสินค้าส่งลงผิดที่)ให้แคชเชียร์ตรวจสอบความถูกต้องก่อนเสมอ
- ในการรับเงินมัดจำ ต้องมีการตรวจสอบสลิปเงินโอนของลูกค้าทุกครั้ง ว่าเงินเข้าบัญชีหรือไม่ ก่อนที่จะนำไปรับเงินมัดจำ และให้ตรวจสอบสลิปเงินโอนว่าได้นำไปรับชำระบิลอื่นหรือไม่ เพื่อป้องกันการรับเงินโอนซ้ำ
กรณีสินค้า SPO รับมัดจำสาขาไหน ให้รับสินค้าที่สาขานั้น (ไม่ตัดมัดจำสินค้า SPO ข้ามสาขา) และกรณีสินค้าไปส่งผิดสาขา ห้าม GR สาขานั้นรับเข้า
การริบเงินรับมัดจำ
- กรณีลูกค้าแจ้งยกเลิกการรับสินค้าเมื่อได้ทำการสั่งซื้อไปแล้ว โดยสินค้าอาจอยู่ระหว่างการขนส่ง หรือ ได้รับเข้าคลังแล้ว และ Suplier ไม่รับคืน ให้พนักงานขายจัดทำใบยกเลิกสินค้าSPO/ยกเลิกเงินมัดจำ (ฟอร์ม RT2-F06)แล้วส่งให้แผนกการเงินทำการริบมัดจำเป็นรายได้ทันที
- กรณีลูกค้าเงินเชื่อ ที่ผิดนัดชำระหนี้เกิน 60 วัน ให้แผนกสินเชื่อส่งยอดลูกหนี้ค้างชำระ ให้แผนกการเงินตรวจสอบใบมัดจำคงค้างในระบบ และทำการริบเงินมัดจำ เพื่อตัดชำระยอดหนี้ที่คงค้างได้ทันที
การยกเลิกและคืนเงินรับมัดจำ
- การยกเลิกใบรับมัดจำจะทำได้ต่อเมื่อ
- สินค้าที่สั่งซื้อตามใบ Back Order ได้ถูกยกเลิกการสังซื้อจากเจ้าหนี้ก่อนจะถูกส่งมอบ หรือสามารถเจรจาส่งคืนได้ (จัดซื้อเซ็นรับรอง และหักค่าขนส่งจากเงินมัดจำแล้วถ้ามี)
- สินค้าที่สั่งซื้อนั้นมีลูกค้ารายอื่นต้องการซื้อ (แสดงใบโอนย้ายคลัง,บิลขายสินค้า หรือ หลักฐานการตัดสต๊อคว่าสินค้านั้นถูกขายไปแล้ว โดยจัดซื้อ และ ผู้จัดการร้านเซ็นรับรอง)
- เมื่่อพบว่าราคาที่ตกลงกับลูกค้าไปแล้วมีการปรับขึ้นโดยฝ่ายจัดซื้อเป็นผู้ัรับผิดชอบ
- มีข้อตกลงระหว่างลูกค้าให้หักเงินค่าเสียหายจากการยกเลิกการรับสินค้านั้น 30 % ของมูลค่าสินค้ากรณีลูกค้าจ่ายเต็ม (ผู้จัดการร้านเซ็นอนุมัติข้อตกลง)
- พนักงานขายรับผิดชอบซื้อสินค้านั้นแทนลูกค้า
2. วิธีการยกเลิกเงินรับมัดจำให้ทำใบลดหนี้คืนเงินออกมา แล้วนำเงินไปออกใบรับมัดจำใหม่และเป็นสินค้าที่จะซื้อใหม่
บทกำหนดโทษ
หากตรวจพบสินค้าในบิลขายที่ไม่ตรงกับรายการที่รับมัดจำ พนักงานขายจะต้องรับผิดชอบดังนี้
- ดำเนินการขายสินค้าที่สั่งพิเศษนั้นภายในกำหนด 15 วันนับจากวันที่ตรวจพบ หรือ
- ดำเนินการติดต่อกับฝ่ายจัดซื้อเพื่อส่งคืนสินค้านั้นภายใน 15 วัน และต้องรับผิดชอบค่าขนส่งในการคืนด้วย หรือ
- พนักงานจะต้องรับผิดชอบเงินมัดจำของลูกค้าคืนเข้าบริษัท โดยฝ่ายการเงินจะทำการตั้งหนี้เพื่อเรียกเก็บเงินทันท
เงินมัดจำคงค้าง
- ทำการตรวจสอบใบมัดจำคงค้างในระบบที่เกิน 5 ปี
- ใบมัดจำที่ไม่ได้ผูกใบจอง/ใบสั่งขาย
- ใบมัดจำที่ผูกใบจอง/ใบสั่งขาย แต่ยังไม่ได้ออกบิล
- ใบมัดจำที่มาจากใบลดหนี้ (ลูกค้านำสินค้ามาคืน ไม่ได้คืนเป็นเงินแต่นำเข้ามัดจำไว้)
- ทำจดหมายแจ้งให้ลูกค้าทราบ และกำหนดวันหมดอายุ ถ้าลูกค้าไม่มาติดต่อภายในวันที่กำหนด ให้ทำการริบเงินมัดจำเป็นรายได้ โดยการออกบิลขายและตัดใบมัดจำดังกล่าว
กรณีศึกษา เรื่อง การตัดมัดจำผิด
Link เอกสาร CAR ที่เกี่ยวข้อง
No Comments