Skip to main content

WI-GR-003 การรับสินค้าเข้าคลัง

image-1657175183306.webp

วัตถุประสงค์

สินค้าที่รับเข้าจำนวน รายละเอียดของสินค้า ถูกต้องตรงตามเอกสารสินค้าที่รับเข้าคลังอยู่ในสภาพดี หีบห่อสมบูรณ์สินค้าที่รับเข้าต้องมีป้ายกำกับสินค้าและใบสั่งเข้าชั้นเก็บสินค้าที่รับเข้าต้องไม่มีสินค้าเสียหายคำจำกัดความสต๊อกสินค้าถูกต้องลดการเสียโอกาสในการขายสินค้า

ขอบข่าย

การรับสินค้าเข้า-ออกคลัง แผนก GR ให้ครอบคลุมในคลังตั้งแต่ 010 014 และ 099 ให้ถูกต้องชัดเจน 

คำจำกัดความ

Stock Card คือ เอกสารที่ใช้บันทึกสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเข้าหรือออกจากคลังโดยบันทึกด้วยมือ
Store Layout หมายถึง ผังที่ใช้แสดงพื้นที่การจัดเก็บสินค้าว่าอยู่ในส่วนไหนของพื้นที่คลัง
Storage หมายถึง ฐานข้อมูลที่ใช้จัดเก็บสินค้าว่าจัดเก็บสินค้าประเภทไหนและจะจัดเก็บจำนวนเท่าไร
ป้ายรหัสชั้นเก็บ หมายถึง ป้ายที่บอกตำแหน่งของสินค้าที่ถูกจัดเก็บในพื้นที่คลัง
ผอ.LG หมายถึง ผู้อำนวยการฝ่าย Logistic
ผจก.แผนกคลัง หมายถึง ผู้จัดการคลังสินค้าที่ดูแลในส่วนของแผนกคลัง
ธุรการคลัง หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ด้านเอกสารทั้งหมดของคลังสินค้า
เจ้าหน้าที่คลัง หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ด้านการปฏิบัติงานภายในคลังสินค้า

หน้าที่และความรับผิดชอบ

เจ้าหน้าที่คลังสินค้า

1. รับสินค้าจาก GR ตรวจสอบสินค้าและป้ายบ่งชี้ เช่น ป้ายแถบสีกำกับอายุสินค้า หากกรณีสินค้ามีมาเต็มพาเลทให้ติดป้ายทุกครั้งว่า 1 พาเลทมีจำนวนเท่าใด 

image-1657174887397.png

2. ขนถ่ายสินค้าเข้าชั้นเก็บ
3. ตรวจสอบความเสียหายของสินค้าก่อนนำสินค้าเข้าเก็บเข้าคลัง
4. บันทึกสินค้าลง Stock Card 

Loss Prevention

ตรวจสอบสินค้าเสียหาย

ผังกระบวนการ


 


วิธีปฏิบัติ

ขั้นตอนที่ 1 รับสินค้าจากแผนก GR 
            เจ้าหน้าที่คลังรับ GR1-F05 ใบบันทึกผลการตรวจรับสินค้าจากแผนกตรวจรับสินค้า(GR)
ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบสินค้าและป้ายบ่งชี้ 
            เจ้าหน้าที่คลังตรวจสอบสินค้าและป้ายบ่งชี้สินค้าว่าสินค้าที่จะนำเข้าคลังได้บันทึกการรับสินค้าถูกต้อง ตรงกับเอกสารหรือไม่ เช่น จำนวน รายละเอียดสินค้า เป็นต้นโดยอ้างอิง GR1-F05 ใบบันทึกผลการตรวจรับสินค้าแบ่งเป็น
กรณี 1 สินค้ามีปัญหาให้ดำเนินการส่งสินค้าและเอกสารกลับแผนกตรวจรับสินค้าทันที
กรณี 2 สินค้าไม่มีปัญหาให้ดำเนินการนำสินค้าเข้าไปเก็บในคลังตามขั้นตอนขนถ่ายต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 การขนถ่ายสินค้าเข้าชั้นเก็บ เจ้าหน้าที่คลังขนถ่ายสินค้าเข้าชั้นเก็บและจัดเรียงสินค้าให้เหมาะสมโดยดูเอกสารประกอบทุกครั้ง
ขั้นนตอนที่ 4. ตรวจสอบสินค้าเสียหาย เจ้าหน้าที่คลังตรวจสอบสินค้าโดยใช้ WH3-F02 การ Check List การจัดเก็บ และเมื่อตรวจพบว่าเจอ สินค้าที่แตกหักเสียหายให้แจ้ง Loss Prevention ทันทีและบันทึกข้อมูลสินค้าเสียหายใน F-LP-102 การแจ้งสินค้าเสียหายระหว่างการจัดเก็บเพื่อดำเนินการเคลมต่อไป

ขั้นตอนที่ 3  ระบุชั้นเก็บสินค้า 

               พนักงานประจำสินค้า เมื่อทำการตรวจสอบสินค้า และนำสินค้าเข้าไปจัดเก็บแล้ว ต้องระบุชั้นเก็บในเอกสาร F-GR-105 ใบบันทึกผลการตรวจรับสินค้าเข้าคลัง โดยให้ระบุชั้นเก็บสินค้าหลัก หรือ ที่เก็บหลักของสินค้า เท่านั้น กรณีที่นำสินค้าไปเก็บบน Top Stock ให้ใช้ป้าย Next Location ระบุที่เก็บสินค้ารองจากที่เก็บหลัก จนกว่าจะมีระบบเข้ามารองรับหลายชั้นเก็บ    สินค้า  SPO  ในส่วนของสาขาให้จัดเก็บไว้ในส่วนของอาคาร D  เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ    และการสูญหาย

.
              สินค้าที่เก็บบนที่สูงหรือบนเชลล์ ให้มีการแลปสินค้าทุกชิ้น เช่น สี กระเบื้อง ปูนกาว และ อื่นๆ 

เอกสารอ้างอิง

       GR1-F05             ใบบันทึกผลการตรวจรับสินค้า
       A-WH-301           โปรแกรมบันทึกรหัสชั้นเก็บ
       LP1-F02              รายงานการสอบสวน

บันทึกคุณภาพ (แบบฟอร์ม, รายงาน)



บันทึกสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเข้า-ออก ภายในคลังสินค้า

บันทึกคุณภาพ

ชื่อ

วัตถุประสงค์เพื่อ

ผู้รับผิดชอบ

ระยะเวลาจัดเก็บ

WH3-F01

ใบ Stock Card

บันทึกสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเข้า-ออก ภายในคลังสินค้า

เจ้าหน้าที่คลัง

6 เดือน

WH3-F02

ใบ Check List การจัดเก็บ

ใช้ตรวจสอบความเรียบร้อยของการจัดเก็บสินค้า

ธุรการคลัง

6 เดือน