Skip to main content

WI-GR-011 กระบวนการรับสินค้าโครงสร้าง

1. วัตถุประสงค์

ตามนโยบายของบริษัทฯ เพื่อให้มีขั้นตอนในการรับสินค้าโครงสร้าง ให้ชัดเจน มีการวิเคราะห์ข้อมูล ติดตามสินค้า และกำหนดรอบระยะเวลา ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งการติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจัดทำวิธีการปฏิบัติงานในการทำงานอยู่ในกระบวนการทำงานที่ถูกต้อง และเป็นมาตรฐาน

2. ขอบข่าย

ขั้นตอนในการรับสินค้าโครงสร้าง จะต้องรับสินค้าให้เสร็จภายในสิ้นวันและมีการตรวจนับอย่างถูกต้อง ทำให้การปฏิบัติงานการรับสินค้าโครงสร้างทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. คำจำกัดความ

ไม่มี

  1. หน้าที่และความรับผิดชอบ

พนักงานตรวจรับสินค้า GR     

มีหน้าที่  - ตรวจรับสินค้าเข้าคลัง

- ตรวจเอกสารใบส่งสินค้า / ใบกำกับภาษี จากคนขับรถ

- บรรทึกข้อมูลการรับสินค้าเข้าระบบ

- จัดทำป้ายราคา หรือบาร์โค๊ท

- ส่งมอบให้กับพนักงานประจำสินค้า/พนักงานขาย

พนักงานประจำสินค้า/พนักงานขาย 

มีหน้าที่   - พนักงานประจำสินค้า ตรวจนับและติดป้ายใบตรวจรับบริเวณมุมล่างซ้ายทุกพาเลท

5. วิธีปฏิบัติงาน

5.1 รถมาส่งสินค้า 

5.1.1. ขนส่งบริษัท

5.1.2. ขนส่งนอก

5.1.3. ขนส่งของ Supplier

5.2. ตรวจสอบเอกสารใบกำกับสินค้า/ใบส่งของ 

พนักงานตรวจรับสินค้า GR รับเอกสารใบส่งสินค้า / ใบกำกับภาษี จากคนขับรถแล้วนำไปตรวจสอบใบสั่งซื้อ 

( PO) ที่แผนกรับสินค้า หากไม่มี PO ให้ GR ติดต่อกับฝ่ายบริหารสินค้าทันที เมื่อได้รับเอกสารแล้วจัดพิมพ์เอกสารสำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับสินค้าเข้าคลัง แนบกับใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี GR ทำการตรวจนับสินค้าร่วมกับ LP และ Section

  5.2.1. ในกรณี สินค้า Pass ส่ง 

  • กรณีรับแจ้งจากพนักงานขาย หรือจัดซื้อ หรือบัญชี GR พิมพ์ สำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับสินค้าเข้าคลัง พร้อมบันทึกลงในเครื่อง แจ้งพนักงานขายเพื่อทำการออกบิล

  • บันทึกการรับสินค้า บันทึกรายละเอียดการรับสินค้าเข้าในเอกสารทุกครั้งเพื่อป้องกัน Stock สินค้าขาด เกิน พร้อมหมายเหตุร้านค้าหรือลูกค้าที่ Pass ส่ง

5.2.2. กรณีสินค้าลงร้าน ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

5.2.2.1. ตรวจสอบสภาพรถบรรทุก 

  • LP ถ่ายรูปรถก่อนลงสินค้า สภาพ / ทะเบียน

  • LP ตรวจสอบสภาพผ้าใบคลุมรถ การปิดผนึกตู้ ตลอดถึงการเปิดผ้าใบ พร้อมถ่ายรูปเป็นหลักฐาน

  • เตรียมอุปกรณ์ และ พนักงานที่จะทำการลงสินค้า เช่น เครื่องชั่ง เครน

  • Section อนุมัติ และ ลงสินค้า เมื่อได้ทำการตรวจสอบสภาพรถขนส่งจาก LP เสร็จ Section อนุมัติ และ ลงสินค้า

5.2.2.2. LP GR พนักงานประจำสินค้า ตรวจสอบสภาพสินค้า จำนวน

5.3. ตรวจสอบสภาพสินค้าโครงสร้าง

5.3.1. ตักสินค้าลงเป็นพาเลท ด้วยความระมัดระวัง

5.3.2. พนักงานที่ขับรถโฟล์คลิฟท์จะต้องมีใบอนุญาตขับรถและได้รับอนุญาตเท่านั้น

5.3.3. ตรวจสอบรายการสินค้า / สภาพสินค้า / จำนวน / รายละเอียดของสินค้า/ ชื่อ/ รุ่น / สี เทียบกับ ใบส่งสินค้า หรือใบกำกับภาษี

5.3.4. ในกรณีที่สินค้ามีปัญหาให้บันทึกลงในแบบฟอร์ม สำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับ สินค้าเข้าคลังและแยกของชำรุดออก ชัดเจนพร้อมทั้งแจ้งให้พนักงานขับรถลงชื่อรับทราบ

5.3.5. เขียนระบุในเอกสารใบส่งสินค้า ใบส่งสินค้าชั่วคราว ใบกำกับภาษี ระบุจำนวนสินค้าตามที่ได้รับจริงโดยแยกของดีและชำรุดออกจากกัน พนักงานขับรถลงชื่อรับทราบ

5.3.6. ตรวจนับสินค้าโดยระบุวันที่รับสินค้า / รายละเอียด / จำนวนสินค้า ลงในใบกำกับสินค้าให้ชัดเจนติดมุมล่างซ้ายของทุกพาเลท 

5.3.7. จัดเตรียมสินค้าตัวอย่างสำหรับโชว์สินค้า มีป้ายบ่งชี้ หรือป้ายกำกับสินค้า ระบุ จำนวน รายละเอียด ชัดเจน

5.3.8. ตรวจนับและติดป้ายกำกับสินค้า พนักงานประจำสินค้า ตรวจนับและติดป้ายใบตรวจรับปูนโดยระบุรายละเอียดให้ครบถ้วนและติดบริเวณมุมล่างซ้ายทุกพาเลท

5.4. บันทึกการตรวจรับสินค้าเข้าคลัง พร้อมแนบเอกสาร GR ทำการบันทึกข้อมูลเข้าระบบตามสำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับสินค้าเข้าคลัง พร้อมแนบเอกสารประกอบดังนี้.-

  • ใบรับสินค้าชั่วคราว 

  • ใบส่งสินค้า / ใบกำกับภาษี

  • สำเนาใบสั่งซื้อ/ใบบันทึกผลการตรวจรับสินค้าเข้าคลัง

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (เบิกค่าแรง) ถ้ามี

5.5. GR แจ้งพนักงานประจำสินค้า เพื่อ รับสำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับสินค้าเข้าคลัง 

5.5..1. พนักงานประจำสินค้าตรวจสอบเอกสารการรับเข้า พนักงานประจำสินค้าตรวจเช็ครายการสินค้าและจำนวนว่าถูกต้องตามที่ได้รับสินค้าหรือไม่ลงชื่อยืนยัน การรับสินค้า ในกรณีที่เอกสารและสินค้าไม่ถูกต้องตรงกันจะต้องแจ้งฝ่าย GR ดำเนินการแก้ไขทันที บันทึกการรับสินค้าลงใน สมุดรับสินค้า และรับสินค้าเข้าแผนกต่อไป

5.5.2. GR จัดทำป้ายราคา หรือบาร์โค๊ท GR จัดทำป้ายราคา บาร์โค๊ต ส่งมอบให้กับพนักงานประจำสินค้า/พนักงานขาย

5.5.3. ตรวจสอบป้ายราคาและบาร์โค๊ตเพื่อความทุกต้อง พนักขายตรวจสอบป้ายราคาและบาร์โค๊ตเพื่อความทุกต้อง หากไม่ถูกต้องให้ GRดำเนินการแก้ไขทันที

5.5.4. จัดเก็บสินค้าเข้าคลัง พนักงานประจำสินค้าจัดเก็บสินค้าเข้าคลัง 

5.6. การเก็บสินค้าโครงสร้าง

5.6.1. ทุกพาเลทมีใบกำกับสินค้าติดทุกพาเลท เพื่อระบุรายละเอียดสินค้า จำนวนของดีของชำรุด ผู้รับ วันเดือนปีที่รับ ในใบกำกำสินค้า

5.6.2. การจัดเก็บสินค้าซ้อนทับโดยมีไม้หมอนรองที่ถูกต้องแนวไม้หมอนที่ใช้ซ้อนทับตรงกันในแนวดิ่ง

5.6.3. สินค้าที่ลงเสร็จเรียบร้อยต้องเก็บสินค้าเข้าคลังให้เสร็จภายในวันต่อวัน / สินค้าทุกอย่างจัดเก็บเข้าในคลัง 

5.6.4. ระยะเวลาการรับสินค้าตั้งแต่ 09.00 น - 16.00 น. หลัง 16.00 น ให้ Division พิจารณาเป็นรายกรณี และรับให้เสร็จภายในสิ้นวัน 

5.6.5. จัดเรียงสินค้าตามหลัก FIFO มีพาเลทแบ่งจ่ายเพียงรุ่นละ 1 พาเลทไม่มีสินค้าชำรุดปนกับสินค้าขาย

5.6.6. ห้ามวางพาเลทกระเบื้องปูพื้นซ้อนทับกระเบื้องผนัง

5.7. มาตรฐานการทำงานสินค้าแผนกโครงสร้าง

5.7.1. การจัดการพื้นที่ 

5.7.2. เอกสารต่างๆ ทุกพาเลทต้องมีใบกำกับสินค้าแปะพาเลท 

5.7.3. ระบุ รายละเอียดสินค้าจำนวนของดี ของชำรุด ผู้รับ วันเดือนปีที่รับ

5.7.4. ซ้อนทับโดยมีไม้หมอนรอง ซ้อนทับในแนวดิ่ง ไม่เกินจำนวนที่กำหนดจัดเรียงสินค้าตามหลัก FIFO

5.7.5. สินค้าทุกอย่างจัดเก็บเข้าในคลัง ยกเว้นกระเบื้องคอนกรีต และอุปกรณ์ไม่มีสินค้าชำรุดปนกับสินค้าขายมีพาเลทแบ่งจ่ายเพียงรุ่นละ 1 พาเลท

5.7.6. การจัดการสินค้า

5.7.7. การจัดการสินค้าชำรุดจัดเตรียมพื้นที่สำหรับสินค้าชำรุดให้ชัดเจน

5.7.8. แยกสินค้าชำรุดทุกครั้งที่เจอ

5.7.9. แยก Supplier ให้ชัดเจน

5.7.10. ทำเอกสารควบคุมกองเก็บระบุ รายการ จำนวน สาเหตุ เอกสารอ้างอิง

5.7.11. รวบรวมทำการส่งคืนทุกรอบที่กำหนด

5.7.12. เก็บเอกสารไว้รอ Supplierระบุระยะเวลาการรับคืน หรือให้ทำลายกับตัวแทน Supplier แน่นอนให้ลงชื่อรับทราบครบกำหนดเวลาแนบหลักฐานแจ้งจัดซื้อขออนุมัติจำหน่าย / ทำลายจาก ผอ.สาขา ทำการ