Skip to main content

WI-SP-002 กระบวนการจัดการสินค้าติดลบ

กระบวนการจัดการสินค้าติดลบ

1. วัตถุประสงค์

  • คู่มือการปฏิบัติงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการสินค้าติดลบ เป็นแนวทางในการควบคุมกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการ การตรวจสอบสินค้าติดลบและการส่งเอกสารปรับปรุง ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นช่องทางในการดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกระบวน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น 

2. ขอบข่าย

  1. Section Manager ควรเป็นผู้ควบคุม ดูแล ตรวจสอบสต๊อคสินค้าของตนเองให้ถูกต้อง 
  2. การขายสินค้าผิดที่เก็บ ควรโอนย้ายสินค้าระหว่างคลังให้ถูกต้อง
  3. ผู้รับผิดชอบควรดำเนินการตรวจสอบสินค้าของตนเอง เพื่อไม่ห้สินค้าติดลบ 
  4. การตรวจสอบสินค้า ควรตรวจสอบและตรวจนับสินค้าใกล้เคียงด้วย 

3. คำจำกัดความ

  • สินค้าติดลบ หมายถึง สินค้าที่มีตัวตนจริงแต่ในระบบไม่มียอดสินค้าทำให้เวลาขายออกไปจึงติดลบ

4. หน้าที่และความรับผิดชอบ

  • Sale Division
    1. ตรวจสอบผลการตรวจนับ
    2. พิมพ์ใบบันทึกผลการตรวจนับ 
    3. อนุมัติผลการตรวจนับ ผ่านระบบ Moble Application ให้ แผนกคอมพิวเตอร์
    4. ดูรายงานสินค้าต่างๆที่ทางแผนกคอมพิวเตอร์ออกรายงานให้
    5. แจ้งความเคลื่อนไหวโดยรวมของสินค้าให้ Section ทราบ
    6. พิจารณาผลการขอปรับปรุงสินค้าและเซ็นต์ชื่อเพื่อให้อนุมัติปรับปรุง
  • Section Manager
    1. กำกับดูแลการตรวจสอบพื้นที่ขายและอัพเดทป้ายทะเบียนชั้นเก็บสินค้า
    2. กำกับดูแลการจัดเรียงสินค้าให้เป็นหมวดหมู่
    3. กำกับดูแลการตรวจนับสินค้า
    4. กำกับดูแลการบันทึกผลการตรวจนับโดยใช้ Hand held
    5. เซ็นต์รับผลการตรวจนับร่วมกับพนักงานขาย
    6. ดูรายงานสินค้าต่างๆที่ทางแผนกคอมพิวเตอร์ออกรายงานให้
    7. ตรวจสอบสินค้าที่เกิดปัญหาจากรายงานต่าง ๆ เช่นรายงานสินค้าติดลบ
    8. ทำการตรวจนับสินค้าจริงในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบแล้วแก้ไขปัญหา
    9. ควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานั้นอีก
  • พนักงานขาย
    1. ดูแลสินค้าที่ตนเองรับผิดชอบ
    2. ตรวจสอบพื้นที่ขายและอัพเดทป้ายทะเบียนชั้นเก็บสินค้า
    3. จัดเรียนสินค้าให้เป็นหมวดหมู่
    4. ตรวจนับสินค้า
    5. บันทึกผลการตรวจนับโดยใช้ Hand held
    6. เซ็นต์รับผลการตรวจนับ

5. วิธีการปฏิบัติงาน

     5.1 รายงานสต๊อกสินค้าติดลบ ออกรายงานสินค้าติดลบ HMX แยกตาม Section เพื่อทำการตรวจสอบเอกสาร และตรวจสอบสินค้าติดลบในส่วนงานต่าง ๆ ของ Section Manager และ Division

     5.2 พิจารณารายงาน/ตรวจสอบ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานฯ ในข้อที่ 1 ดังต่อไปนี้
          5.2.1 ยอดสินค้าในระบบ BC โดยกระทบยอดสินค้าระหว่างคลังกับชั้นเก็บ
          5.2.2 ตรวจสอบรายงานความเคลื่อนไหวสินค้าในระบบ BC
          5.2.3 ตรวจสอบจากรายงานเคลื่อนไหวสินค้าใน Internet 
          5.2.4 ตรวจสอบเอกสารการรับสินค้าเข้าคลัง

   5.2.5 ตรวจสอบข้อมูลในระบบ BC รายละเอียดสินค้า การกำหนดคลังเริ่มต้น คลังซ้อ คลังขาย ที่เก็บ อัตราส่วน หน่วยนับ 

     5.3 เมื่อทำการตรวจสอบแล้ว จะทำให้ทราบสาเหตุของสินค้าติดลบ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

      • ขายสินค้าผิดที่เก็บ
      • การออกเอกสารซื้อสินค้าเป็น Back Order นำสินค้าขายให้ลูกค้าผ่านจุด Pos
      • การระบุคลังขายเริ่มต้นผิด
      • การกำหนดอัตราส่วนสินค้าผิด
      • การขายสินค้ากรรมสิทธิ์ Vender / Show
      • การปรับเปลี่ยนที่เก็บสินค้า ไม่ทำการเปลี่ยนคลังขายเริ่มต้น
      • การปรับปรุงสินค้าจากการตรวจนับสต๊อกคลาดเคลื่อน
      • สินค้า ISP
      • เปลี่ยนรหัสสินค้าฝากขาย เป็นสินค้าซื้อขาด ทำเอกสารขายเป็นสินค้าฝากขาย
      • ไม่สามารถตรวจสอบหาสาเหตุได้ 

หมายเหตุ  : ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจมีการปรับเปลี่ยน เพิ่ม ได้ หากพบว่ามีสาเหตุอันเนื่องมาจาก สาเหตุอื่น ซึ่งสามารถเพิ่มเข้าไปใน Work In นี้ได้ 

5.3.1 ขายสินค้าผิดที่เก็บ

      1. แจ้งพนักงานผู้รับผิดชอบจัดทำเอกสารใบขอโอนย้ายสินค้าระหว่างคลัง
      2. พนักงานส่งเอกสารให้ Section ทำการตรวจสอบ
      3. นำเอกสารส่งให้ End Control เพื่อทำการโอนย้ายสินค้าระหว่างคลัง และเซ็นต์เอกสารให้ถูกต้อง
      4. ทำการตรวจสอบสต๊อกสินค้าอีกครั้ง ภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ 

5.3.2 ออกเอกสารเป็น Back order (SPO) นำสินค้าขาย จุด Pos

      1. ตรวจสอบพนักงานผู้ทำการสั่งซื้อสินค้า
      2. ตรวจสอบลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นคนเดียวกันหรือไม่ ในกรณีที่เป็นคนเดียวกันทำการยกเลิก Back Order ในกรณีที่เป็นคนละคนกันต้องดำเนินการแจ้งแผนกจัดซื้อเพื่อทำการจัดหาสินค้าให้ลูกค้าทดแทนที่ขายออกไปทันที

หมายเหตุ การนำสินค้าของลูกค้าที่สั่งของมาเป็นพิเศษ หากต้องการขายสินค้า จะต้องติดต่อกับพนักงานผู้สั่งซื้อสินค้าก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเกิดขึ้นภายหลัง เมื่อลูกค้าต้องการเร่งด่วน

5.3.3 การระบุคลังขายเริ่มต้นผิด

      1. แจ้งหน่วยงานจัดซื้อเพื่อดำเนินการแก้ไขข้อมูลคลังขายสินค้า ให้ถูกต้องตามสินค้า
      2. ในส่วนสินค้าที่มีการติดลบ ให้แจ้งพนักงานผู้รับผิดชอบ จัดทำเอกสารใบขอโอนย้าย ส่งให้ Section ตรวจสอบ และส่งเอกสารให้พนักงาน End Comtrol ทำการโอนย้ายสินค้าระหว่างคลัง เซ็นเอกสารให้ถูกต้อง พร้อมทำการตรวจสอบสินค้า

5.3.4 การกำหนดอัตราส่วนสินค้าผิด การกำหนดอัตราส่วนของสินค้าผิด เป็นการกำหนดในลักษณะซื้อสินค้า 1 กล่อง กล่องละ 20 แผ่น และขายเป็นหน่วยนับเป็นแผ่น ซึ่งพบว่ามีการกำหนดอัตราส่วนไม่ถูกต้อง เป็น 1 กล่อง แต่หน่วยขายเป็นแผ่น ทำให้สต๊อคสินค้ามีการติดลบ 

      1. ดำเนินการตรวจสอบหากพบว่าอัตราส่วนผิด ให้แจ้งแผนกจัดซื้อ เพื่อทำการเปลี่ยนอัตราส่วนใหม่ให้ถูกต้อง
      2. เมื่อแก้ไขอัตราส่วนหน่วยนับถูกต้องแล้ว ดำเนินการคำนวณยอดสินค้าให้ถูกต้องทั้งหน่วยนับและการขาย 

5.3.5 การขายสินค้ากรรมสิทธิ์ VND/SHW

      1. แจ้งพนักงานผู้รับผิดชอบจัดทำเอกสารใบขอโอนย้ายสินค้าระหว่างคลัง
      2. พนักงานส่งเอกสารให้ Section ทำการตรวจสอบ
      3. นำเอกสารส่งให้ End Control เพื่อทำการโอนย้ายสินค้าระหว่างคลัง และเซ็นต์เอกสารให้ถูกต้อง
      4. ทำการตรวจสอบสต๊อกสินค้าอีกครั้ง ภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ
      5. จัดทำเอกสารใบเสนอซื้อสินค้า ทดแทนสินค้าที่ขายให้กับลูกค้า ส่งให้หัวหน้างานพิจารณา และให้จัดซื้อดำเนินการต่อไป

5.3.6 การปรับเปลี่ยนที่เก็บสินค้าไม่เปลี่ยนคลังขายเริ่มต้น

      1. พนักงานผู้ทำการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือปรับเปลี่ยนที่อยู่สินค้าจากคลังหรือที่เก็บหนึ่งไปยังที่เก็บหนึ่ง จัดทำบันทึกการเปลี่ยนคลัง /ชั้นวาง
      2. พนักงานแจ้งให้กับหัวหน้าหน่วยงานรับทราบ
      3. พนักงานแจ้งหน่วยงานจัดซื้อ ดำเนินการปรับเปลี่ยนคลังขายเริ่มต้น / ที่เก็บสินค้าให้ถูกต้อง ตามการเคลื่อนย้ายสินค้าจริง ในระบบ BC
      4. ตรวจสอบการแก้ไขอีกครั้งในระบบ BC

5.3.7 การปรับปรุงสินค้าจากการนับสต๊อค เป็นข้อมูลที่มีการปรับปรุงเข้า-ออก จากการตรวจนับสินค้าที่คลาดเคลื่อน หรือสินค้าอยู่ผิดที่เก็บในช่วงการตรวจนับ จึงทำให้เกิดสินค้าขาด-เกิน การดำเนินการดังนี้

      1. ทำการตรวจนับสินค้าที่มีอยู่จริงในสต๊อค 
      2. ตรวจสอบรายงานเคลื่อนไหวสินค้า หากพบว่าเป็นการปรับปรุงจากการตรวจนับ ให้ระบุเลขที่เอกสารดังกล่าว
      3. จัดทำเอกสาร FM-AC-004 ใบขอปรับปรุงสินค้า ระบุรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วนพร้อมแนบเอกสารการตรวจนับสินค้า
      4. เซ็นเอกสารให้ครบทุกช่อง นำส่งเอกสารทั้งหมดให้กับหน่วยงาน ICC เพื่อดำเนินการปรับปรุงสินค้า 
      5. ตรวจสอบยอดสต๊อคสินค้าภายหลังการปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว ให้ถูกต้องกับของจริง และในระบบคอมพิวเตอร์

5.3.8 สินค้า ISP ที่เก็บ ISP เป็นที่เก็บสินค้าที่ทำขึ้นเพื่อเป็นการโอนสินค้า กรณีที่ในเครืองมีสต๊อค แต่สต๊อกสินค้าไม่มีจึงโอนย้ายสินค้ามาไว้ที่เก็บ ISP ทำให้มียอดเป็น บวก เช่นเดียวกันในกรณีที่สต๊อคสินค้าในเครื่องไม่มี แต่ของจริงมี การโอนจาก ISP จะทำให้เป็นยอด ISP เป็นลบ ในกระบวนการนี้จะเป็นส่วนงานของ ICC เป็นผู้ตรวจสอบ ดังนี้

      1. ICC จัดพิมพ์เอกสารตรวจนับสินค้าส่งให้พนักงานประจำสินค้าตรวจนับ
      2. พนักงานประจำสินค้าตรวจนับสินค้าตามเอกสารและสินค้าใกล้เคียง
      3. ส่งเอกสารการตรวจนับให้กับพนักงาน ICC ตรวจสอบ
      4. พนักงาน ICC ระบุเหตุผล สาเหตุ เพื่อขออนุมัติปรับปรุงต่อไป

5.3.9 เปลี่ยนรหัสสินค้าฝากขายเป็นซื้อขาดแต่ออกเอกสารบิลขายเป็นสินค้าฝากขาย ในกรณีนี้พนักงานประจำสินค้าต้องดำเนินการตามข้อที่ 5.3.1

5.3.10 ไม่สามารถตรวจสอบหาสาเหตุได้ ในกรณีนี้ให้พนักงานประจำสินค้า จัดพิมพ์ใบเอกสารตรวจนับสินค้าและ ใบตรวจสอบสินค้าใกล้เคียง เมื่อดำเนินการตรวจนับเรียบร้อยแล้ว ส่งให้ ICC เป็นผู้ตรวจสอบเอกสารดังกล่าว ซึ่งการตรวจสอบในส่วนของ ICC พนักงานประจำสินค้าต้องให้ความร่วมมือในการตรวจสอบสินค้าด้วย