WI-GR-007 การรับสินค้าเหล็ก
1. วัตถุประสงค์
ตามนโยบายของบริษัทฯ เพื่อให้มีขั้นตอนในการรับสินค้าโครงสร้าง ให้ชัดเจน มีการวิเคราะห์ข้อมูล ติดตามสินค้า และกำหนดรอบระยะเวลา ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งการติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจัดทำวิธีการปฏิบัติงานในการทำงานอยู่ในกระบวนการทำงานที่ถูกต้อง และเป็นมาตรฐาน
2. ขอบข่าย
ขั้นตอนในการรับสินค้าโครงสร้าง จะต้องรับสินค้าให้เสร็จภายในสิ้นวันและมีการตรวจนับอย่างถูกต้อง ทำให้การปฏิบัติงานการรับสินค้าโครงสร้างทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
คำจำกัดความ
ไม่มี
-
หน้าที่และความรับผิดชอบ
พนักงานตรวจรับสินค้า GR มีหน้าที่ - ตรวจรับสินค้าเข้าคลัง
- ตรวจเอกสารใบส่งสินค้า / ใบกำกับภาษี จากคนขับรถ
- บรรทึกข้อมูลการรับสินค้าเข้าระบบ
- จัดทำป้ายราคา หรือบาร์โค๊ท
- ส่งมอบให้กับพนักงานประจำสินค้า/พนักงานขาย
พนักงานประจำสินค้า/พนักงานขาย มีหน้าที่ - พนักงานประจำสินค้า ตรวจนับและติดป้ายใบตรวจรับ
บริเวณมุมล่างซ้ายทุกพาเลท
5. วิธีปฏิบัติงาน
5.1. รถมาส่งสินค้า
5.1.1. ขนส่งบริษัท
5.1.2. ขนส่งนอก
5.1.3. ขนส่งของ Supplier
5.2. ตรวจสอบเอกสารใบกำกับสินค้า/ใบส่งของ
พนักงานตรวจรับสินค้า GR รับเอกสารใบส่งสินค้า / ใบกำกับภาษี จากคนขับรถแล้วนำไปตรวจสอบใบสั่งซื้อ ( PO) ที่แผนกรับสินค้า หากไม่มี PO ให้ GR ติดต่อกับฝ่ายบริหารสินค้าทันที เมื่อได้รับเอกสารแล้วจัดพิมพ์เอกสารสำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับสินค้าเข้าคลัง แนบกับใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี GR ทำการตรวจนับสินค้าร่วมกับ LP และ Section
5.2.1. ในกรณี สินค้า Pass ส่ง
-
กรณีรับแจ้งจากพนักงานขาย หรือจัดซื้อ หรือบัญชี GR พิมพ์ สำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับสินค้าเข้าคลัง พร้อมบันทึกลงในเครื่อง แจ้งพนักงานขายเพื่อทำการออกบิล
-
บันทึกการรับสินค้า บันทึกรายละเอียดการรับสินค้าเข้าในเอกสารทุกครั้งเพื่อป้องกัน Stock สินค้าขาด เกิน พร้อมหมายเหตุร้านค้าหรือลูกค้าที่ Pass ส่ง
5.2.2. กรณีสินค้าลงร้าน ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
5.2.2.1. ตรวจสอบสภาพรถบรรทุก
-
LP ถ่ายรูปรถก่อนลงสินค้า สภาพ / ทะเบียน
-
LP ตรวจสอบสภาพผ้าใบคลุมรถ การปิดผนึกตู้ ตลอดถึงการเปิดผ้าใบ พร้อมถ่ายรูปเป็นหลักฐาน
-
เตรียมอุปกรณ์ และ พนักงานที่จะทำการลงสินค้า เช่น เครื่องชั่ง เครน
-
Section อนุมัติ และ ลงสินค้า เมื่อได้ทำการตรวจสอบสภาพรถขนส่งจาก LP เสร็จ Section อนุมัติ และ ลงสินค้า
5.2.2.2. LP GR พนักงานประจำสินค้า ตรวจสอบสภาพสินค้า จำนวน
-
การรับเหล็กโดยการชั่งน้ำหนัก
-
การรับเหล็กจะต้องทำการชั่งน้ำหนักทุกครั้งและทุกรายการสินค้าที่รับเข้า
-
ใช้เครนที่ติดด้วยตาชั่งและตะขอเกี่ยวมัดเหล็กบนรถเกี่ยวบริเวณหัวและท้ายของมัดเหล็ก ( ยกลงครั้งละไม่เกินน้ำหนักเครน 3 ตัน )
-
ทำการอ่านค่าจากตาชั่งที่อยู่บนเครน (ต้องเป็นค่าที่ตัวเลขที่นิ่งแล้ว) แล้วทำการจดบันทึกค่าใน ใบบันทึกน้ำหนักเหล็ก
-
ในกรณีที่รับเหล็กโดยการชั่งน้ำหนักแล้วน้ำหนักของเหล็กผิดปกติเช่น น้ำหนักเบา หรือหนัก จะต้องนับจำนวนเหล็กในมัดซ้ำอีกครั้ง
-
นำเหล็กไปวางบริเวณที่เตรียมไว้ พร้อมตรวจนับอย่างถูกต้อง และเตรียมการทาสีหัวเหล็กก่อนนำเข้าเก็บพื้นที่สต็อกที่เตรียมไว้
-
กรณีมีสินค้าชำรุดหรือไม่ครบตามจำนวนให้ระบุลงใน สำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับสินค้าเข้าคลัง แจ้ง LP ทำการถ่ายรูป แนบส่งให้ GR ต่อไป
5.2.3. พนักงานประจำสินค้าทำการลงบันทึกลงใน สมุดรับสินค้า โดยหมายเหตุระบุจำนวนน้ำหนักเหล็กที่แจ้งมากับใบส่งสินค้า / ใบกำกับภาษี และน้ำหนักเหล็กที่ทางแผนกชั่งได้ขาด เกิน
5.2.4. บันทึกข้อมูลในเอกสารใบส่งของ /ใบกำกับภาษี ใบส่งสินค้าชั่วคราว ระบุน้ำหนักเหล็กตามใบส่งสินค้าและน้ำหนักที่ชั่งได้ขาดเกิน ลงชื่อผู้รับเหล็ก ทะเทียนรถที่ส่งสินค้า พนักงานขับรถลงชื่อรับทราบและฉีกสำเนาให้คนขับรถนำกลับไป
5.3. บันทึกการตรวจรับสินค้าเข้าคลัง พร้อมแนบเอกสาร GR ทำการบรรทึกข้อมูลเข้าระบบตามสำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับสินค้าเข้าคลัง พร้อมแนบเอกสารประกอบดังนี้.-
-
ใบรับสินค้าชั่วคราว
-
ใบส่งสินค้า / ใบกำกับภาษี
-
สำเนาใบสั่งซื้อ/ใบบันทึกผลการตรวจรับสินค้าเข้าคลัง
-
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (เบิกค่าแรง) ถ้ามี
5.4. GR แจ้งพนักงานประจำสินค้า เพื่อ รับสำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับสินค้าเข้าคลัง
5.4.1. พนักงานประจำสินค้าตรวจสอบเอกสารการรับเข้า พนักงานประจำสินค้าตรวจเช็ครายการสินค้าและจำนวนว่าถูกต้องตามที่ได้รับสินค้าหรือไม่ลงชื่อยืนยัน การรับสินค้า ในกรณีที่เอกสารและสินค้าไม่ถูกต้องตรงกันจะต้องแจ้งฝ่าย GR ดำเนินการแก้ไขทันที บันทึกการรับสินค้าลงใน สมุดรับสินค้า และรับสินค้าเข้าแผนกต่อไป
5.4.2. GR จัดทำป้ายราคา หรือบาร์โค๊ท GR จัดทำป้ายราคา บาร์โค๊ต ส่งมอบให้กับพนักงานประจำสินค้า/พนักงานขาย
5.4.3. ตรวจสอบป้ายราคาและบาร์โค๊ตเพื่อความทุกต้อง พนักขายตรวจสอบป้ายราคาและบาร์โค๊ตเพื่อความทุกต้อง หากไม่ถูกต้องให้ GRดำเนินการแก้ไขทันที
5.4.4. จัดเก็บสินค้าเข้าคลัง พนักงานประจำสินค้าจัดเก็บสินค้าเข้าคลัง
-
หมายเหตุ :
-
เหล็กรูปพรรณพ่นสีหัวเหล็กทั้งสองด้าน เหล็กเส้นพ่นสีด้านหัว สีตามมาตรฐานสี
-
การจัดเก็บ การกองทับกันแนวไม้หมอนต้องเรียงตรงกันเป็นแนวยาว ทุกกอง ทุกรุ่นต้องติดป้ายราคาชัดเจน
-
รถส่งสินค้าที่เข้าก่อนเวลา 16.00 น. ได้รับการลงสินค้าจนเสร็จทุกคัน
-
การจ่ายสินค้าจะต้องทำการจ่ายสินค้าที่เข้าก่อนทุกครั้งตามหลัก FIFO
5.5. มาตรฐานการทำงานแผนกเหล็ก
5.5.1. การจัดการพื้นที่ เอกสารต่างๆ ให้ชัดเจน เช่น
-
จัดพื้นที่สำหรับพักเหล็ก
-
จัดพื้นที่สำหรับจัดเรียงสินค้ากองโชว์ พร้อมขาย
-
จัดพื้นที่สำหรับเหล็กที่จัดเพื่อรอจ่ายสินค้าให้ลุกค้าหรือรอจัดส่ง
-
จัดพื้นที่สำหรับเก็บสินค้าชำรุด
-
จัดทำเอกสารควบคุมกองเก็บระบุรายการ จำนวนให้ชัดเจน
5.5.2. การจัดการสินค้า
-
เรียงสินค้าแยกเป็นรุ่น ชัดเจนไม่ปนกัน
-
สินค้าต้องถูกแยกมัดขายทีละมัด
-
การกองทับกันแนวไม้หมอนต้องเรียงตรงกันเป็นแนวดิ่ง ทุกกอง ทุกรุ่น
-
ต้องติดป้ายราคาชัดเจน ความหนาน้ำหนัก ของเหล็กต้องระบุเป็นตัวอักษร ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
5.5.3. สินค้าชำรุดให้ทำการแยกทุกครั้งที่เจอ ให้ Loss ร่วมตรวจสอบสาเหตุ เอกสารอ้างอิง เช่น บิลใบกำกับภาษีรวบรวมขอโอนไปหมวดสินค้าชำรุดกับจัดซื้อส่งเอกสารต่อ ผอ. สาขาเพื่อขอจำหน่ายราคาพิเศษหรือเบิกใช้งานต่อไป
5.5.4. การจัดการทั่วไป อุปกรณ์การทำงาน
-
ถุงมือเก็บในที่เก็บให้เรียบร้อย
-
สลิง โซ่ ตะขอ ที่คีบเหล็ก สมบูรณ์พร้อมใช้งาน
-
ตาชั่งอิเล็คโทรนิค พร้อมใช้งาน แบตเตอร์รี่เต็ม จัดเก็บ เป็นที่ปลอดภัย
-
บำรุงรักษาเครน ตรวจสอบก่อนใช้งานทุกครั้งการเตรียมสินค้าก่อนขาย
-
เหล็กเส้นมัดที่เบาที่สุดได้รับการสุ่มนับจำนวน
-
เหล็กแบนรีดต้องนับจำนวนทั้งหมดให้เสร็จภายใน 1 วัน
-
เหล็กรูปพรรณพ่นสีหัวเหล็กทั้ง2ด้านเหล็กเส้นพ่นด้านหัว
-
เหล็กชำรุดถูกแยกออกไว้ในพื้นที่ที่กำหนด
No Comments