Skip to main content

WI-GR-006 การรับสินค้าปูน

1. วัตถุประสงค์

ตามนโยบายของบริษัทฯ เพื่อให้มีขั้นตอนในการรับสินค้าโครงสร้าง ให้ชัดเจน มีการวิเคราะห์ข้อมูล ติดตามสินค้า และกำหนดรอบระยะเวลา ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งการติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจัดทำวิธีการปฏิบัติงานในการทำงานอยู่ในกระบวนการทำงานที่ถูกต้อง และเป็นมาตรฐาน

2. ขอบข่าย

ขั้นตอนในการรับสินค้าโครงสร้าง จะต้องรับสินค้าให้เสร็จภายในสิ้นวันและมีการตรวจนับอย่างถูกต้อง ทำให้การปฏิบัติงานการรับสินค้าโครงสร้างทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. คำจำกัดความ

ไม่มี

  1. หน้าที่และความรับผิดชอบ

พนักงานตรวจรับสินค้า GR   

มีหน้าที่ - ตรวจรับสินค้าเข้าคลัง

- ตรวจเอกสารใบส่งสินค้า / ใบกำกับภาษี จากคนขับรถ

- บรรทึกข้อมูลการรับสินค้าเข้าระบบ

- จัดทำป้ายราคา หรือบาร์โค๊ท

- ส่งมอบให้กับพนักงานประจำสินค้า/พนักงานขาย

พนักงานประจำสินค้า/พนักงานขาย  

มีหน้าที่ - พนักงานประจำสินค้า ตรวจนับและติดป้ายใบตรวจรับบริเวณมุมล่างซ้ายทุกพาเลท

5. ขั้นตอนวิธีปฏิบัติงาน

5.1. รถมาส่งสินค้า 

5.1.1. ขนส่งบริษัท

5.1.2. ขนส่งนอก

5.1.3. ขนส่งของ Supplier

5.2. ตรวจสอบเอกสารใบกำกับสินค้า/ใบส่งของ 

พนักงานตรวจรับสินค้า GR รับเอกสารใบส่งสินค้า / ใบกำกับภาษี จากคนขับรถแล้วนำไปตรวจสอบใบสั่งซื้อ 

(PO) ที่แผนกรับสินค้า หากไม่มี PO ให้ GR ติดต่อกับฝ่ายบริหารสินค้าทันที เมื่อได้รับเอกสารแล้วจัดพิมพ์เอกสารสำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับสินค้าเข้าคลัง แนบกับใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี GR ทำการตรวจนับสินค้าร่วมกับ LP และ Section 

5.2.1. ในกรณี สินค้า Pass ส่ง 

  • กรณีรับแจ้งจากพนักงานขาย หรือจัดซื้อ หรือบัญชี GR พิมพ์ สำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับสินค้าเข้าคลัง พร้อมบันทึกลงในเครื่อง แจ้งพนักงานขายเพื่อทำการออกบิล

  • บันทึกการรับสินค้า บันทึกรายละเอียดการรับสินค้าเข้าในเอกสารทุกครั้งเพื่อป้องกัน Stock สินค้าขาด เกิน พร้อมหมายเหตุร้านค้าหรือลูกค้าที่ Pass ส่ง

5.2.2. กรณีสินค้าลงร้าน ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

5.2.2.1. ตรวจสอบสภาพรถบรรทุก 

  • LP ถ่ายรูปรถก่อนลงสินค้า สภาพ / ทะเบียน

  • LP ตรวจสอบสภาพผ้าใบคลุมรถ การปิดผนึกตู้ ตลอดถึงการเปิดผ้าใบ พร้อมถ่ายรูปเป็นหลักฐาน

  • เตรียมอุปกรณ์ และ พนักงานที่จะทำการลงสินค้า เช่น เครื่องชั่ง เครน

  • Section อนุมัติ และ ลงสินค้า เมื่อได้ทำการตรวจสอบสภาพรถขนส่งจาก LP เสร็จ Section อนุมัติ และ ลงสินค้า

5.2.2.2. LP GR พนักงานประจำสินค้า ตรวจสอบสภาพสินค้า จำนวน

กรณี ปูนที่มาส่งไม่ได้จัดเรียงบนพาเลท

  • จัดเรียงพาเลทเปล่าข้างๆรถ

  • ลงปูนโดยใน 1 พาเลทจะมีปูน 50 ถุง โดยที่ชั้นแรกระหว่างปูนกับพาเลทควรมีกระดาษแข็งรองระหว่างกลางเพื่อกันปูนแตก(ถ้าในกรณีที่จะวางพาเลทซ้อนกัน 3 ชั้นให้วางแผ่นกระดาษลังขั้นระหว่างถุงปูนกับพื้นผิวพาเลททุกครั้งเพื่อกันถุงปูนแตก)

กรณี ปูนที่มาส่งจัดเรียงบนพาเลทอยู่แล้ว

  • ทำการสุ่มตรวจสอบสภาพปูนแข็งบนรถขนส่ง

  • ใช้รถโฟล์คลิฟท์ยกสินค้าพร้อมเก็บสินค้าเข้าคลังสินค้า

  • ตรวจนับพาเลทเพื่อทำการแลกเปลี่ยนตามจำนวนพาเลทที่รับมากับสินค้า

 กรณีเมื่อพบถุงปูนแตกและถุงปูนที่แข็งให้แยกออกมาใส่พาเลทอื่นทันที

  • กรณีปูนแข็ง: ห้ามรับถุงปูนที่แข็งให้คืนกลับไปพร้อมกับรถ 

  • กรณีปูนแตก: ให้นำถุงที่แยกไว้นำไปกรอกปูนกลับภายในวันนั้น ก่อนเลิกงาน

  • กรณีบล๊อคมวลเบา: ให้แยกสินค้าชำรุดออกและเขียนระบุในเอกสาร GR1-F01 สำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับสินค้าเข้าคลัง 

หมายเหตุ

  1. กรณีที่สินค้ามาส่งไม่มีพาเลท (ราคารวมขนลง) จะเป็นหน้าที่ของกรรมกร

  2. ในกรณีขนส่งนอก สินค้าชำรุดออกบิลเก็บเงินขนส่ง

5.2.2.3. ตรวจนับและติดป้ายกำกับสินค้า พนักงานประจำสินค้า ตรวจนับและติดป้ายใบตรวจรับปูนโดยระบุรายละเอียดให้ครบถ้วนและติดบริเวณมุมล่างซ้ายทุกพาเลท

5.3. บันทึกการตรวจรับสินค้าเข้าคลัง พร้อมแนบเอกสาร GR ทำการบรรทึกข้อมูลเข้าระบบตามสำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับสินค้าเข้าคลัง พร้อมแนบเอกสารประกอบดังนี้.-

  • ใบรับสินค้าชั่วคราว 

  • ใบส่งสินค้า / ใบกำกับภาษี

  • สำเนาใบสั่งซื้อ/ใบบันทึกผลการตรวจรับสินค้าเข้าคลัง

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (เบิกค่าแรง) ถ้ามี

5.4. GR แจ้งพนักงานประจำสินค้า เพื่อ รับสำเนาใบสั่งซื้อ/ใบตรวจรับสินค้าเข้าคลัง 

5.4.1. พนักงานประจำสินค้าตรวจสอบเอกสารการรับเข้า พนักงานประจำสินค้าตรวจเช็ครายการสินค้าและจำนวนว่าถูกต้องตามที่ได้รับสินค้าหรือไม่ลงชื่อยืนยัน การรับสินค้า ในกรณีที่เอกสารและสินค้าไม่ถูกต้องตรงกันจะต้องแจ้งฝ่าย GR ดำเนินการแก้ไขทันที บันทึกการรับสินค้าลงใน สมุดรับสินค้า และรับสินค้าเข้าแผนกต่อไป

5.4.2. GR จัดทำป้ายราคา หรือบาร์โค๊ท GR จัดทำป้ายราคา บาร์โค๊ต ส่งมอบให้กับพนักงานประจำสินค้า/พนักงานขาย

5.4.3. ตรวจสอบป้ายราคาและบาร์โค๊ตเพื่อความทุกต้อง พนักขายตรวจสอบป้ายราคาและบาร์โค๊ตเพื่อความทุกต้อง หากไม่ถูกต้องให้ GRดำเนินการแก้ไขทันที

5.4.4. จัดเก็บสินค้าเข้าคลัง พนักงานประจำสินค้าจัดเก็บสินค้าเข้าคลัง 

5.5. การเก็บปูนเข้าคลังสินค้า

5.5.1. พื้นที่ในการเก็บปูนจะมีช่องว่างในแต่ละแถวกว้าง 150 เซนติเมตร การวางพาเลทนั้นจะซ้อนกันได้ ไม่เกิน3 ชั้น (อยู่ที่ดุลยพินิจของผู้จัดการแผนก) โดยพาเลตในแต่ละแถวต้องวางห่างกันไม่เกิน 20 เซนติเมตร

5.5.2. ขั้นตอนการจัดเก็บปูนและการจ่ายปูน

  • ปูนที่เข้าในวันนั้นๆจะต้องเก็บในแถวเดียวกัน โดยมีป้ายกำกับสินค้า ที่ระบุวันที่ให้เห็นอย่างชัดเจน

  • การจ่ายปูนนั้นต้องจ่ายแถวที่ระบุเข้าก่อนตาม FIFO (มีวันที่ระบุก่อน) ให้หมดจึงจะจ่ายปูน ที่เข้าวันถัดมาได้ เพื่อป้องกันการแข็งของปูน

หมายเหตุ :

  1. การจ่ายปูนนั้นต้องจ่ายแถวที่ระบุเข้าก่อน FIFO (มีวันที่ระบุก่อน) ให้หมดจึงจะจ่ายปูนที่เข้าวันถัดมาได้ เพื่อป้องกันการแข็งของปูน

  2. ส่วนกรณีที่มีปูนห้ามจ่ายให้เขียนรายละเอียดในใบห้ามจ่าย พร้อมนำไปติดไว้บนพาเลทให้มองเห็น ได้ชัดเจน (กรณีที่ปูน Lot แรก ยังไม่หมดห้ามจ่ายสินค้า Lot ต่อไป)

  3. ปูนที่ส่งมากับรถเมื่อพบว่าปูนเปียกหรือแข็ง แจ้ง LP Store รับทราบ ออกบิลเงินสดในนามบริษัทขนส่งหรือออกใบกำกับภาษี (เงินสด) ให้คนขับรถจ่ายเงิน แล้วส่งมอบไปพร้อมกับรถ หรือออกเอกสารใบกำกับภาษีเงินเชื่อเพื่อหักเงินจากบริษัทขนส่งต่อไป

5.6. มาตรฐานการทำงานแผนกปูน

5.6.1. การจัดการพื้นที่โกดังปูน 

  • ต้องไม่มีเศษฝุ่นปูนแข็งจับตัวเป็นคราบ

  • ไม่มีปูนแข็งตกค้างในบริเวณกรอกปูนพื้นที่กรอกปูนต้องมิดชิด 

  • ลูกค้าต้องมองไม่เห็นเศษถุงปูนแตก 

  • ถุงปูนเปล่าต้องแพ็คเป็นมัดจัดเก็บในที่จัดเตรียมถุงปูน เป็นระเบียบ 

  • ป้ายราคาชัดเจนมองเห็นได้ชัด

  • มีการเปลี่ยนแปลงราคาทันทีที่มีการแจ้ง 

  • เอกสารต่างๆแยกเก็บง่ายต่อการตรวจสอบ ค้นหา

5.6.2. การจัดการสินค้า

  • มีกระดาษวางพาเลทก่อนวางปูนเพื่อป้องกันปูนแตกทุกพาเลท 

  • มีใบกำกับสินค้าติดทุกพาเลท 

  • ระบุจำนวนชัดเจน 

  • ระบุวันเดือนปี ที่รับสินค้า 

  • จัดเรียงสินค้าตามหลัก FIFO 

  • จัดวางปูนพาเลทละไม่เกิน 50 ลูก ซ้อนทับไม่เกิน 3 พาเลท

  • จัดเรียงอิฐมวลเบาอย่างระมัดระวัง

  • แยกสินค้าชำรุดออกจากสินค้าดีมีการจัด 

  • เคลมสินค้าตามงวดการส่งเคลมสินค้า 

  • เมื่อเคลมเสร็จมีการประมูลจำหน่าย โดย ผู้จัดการสาขาเป็นผู้ตั้งราคาสิน ชำรุดต้องไม่มากเกินมาตรฐาน ยอดการชำรุดต้องไม่เกินที่ Supplier เคลมให้

5.6.3. การจัดการทั่วไป

5.6.3.1 การนับสต๊อกปูนประจำวัน

  • ลงบันทึกเอกสารการรับจ่ายปูนทุกครั้ง

  • ตรวจสอบเอกสารการเช็คสต๊อกปูน ( ใบตรวจนับสต๊อคสินค้าของ ICC)

  • ตรวจสอบเอกสารใบจ่ายสินค้าและบิลที่ไม่ได้จ่ายสินค้ากับเอกสารค้างรับสินค้าแผนกจัดส่ง เพื่อให้ได้ยอดสินค้าที่ตรวจนับได้อย่างถูกต้อง 

5.6.3.2 การกรอกปูน

  • ถุงปูนเปล่าเก็บเป็นระเบียบเรียบร้อย

  • กรอกปูนที่แตกในวันต่อวัน