Skip to main content

WI-GR-009 Workin Packing

1. วัตถุประสงค์

เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อควบคุมมาตรฐานในการปฏิบัติงานของส่วนตรวจรับสินค้า GR ในเรื่องของ “ กระบวนการ Pack” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ PM-SP-002 กระบวนการ Pack สินค้า เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในด้านการตรวจสอบสินค้า พิจารณารูปแบบการ Pack บรรจุผลิตภัณฑ์ที่พร้อมขายตามความต้องการของลูกค้า ทำการ Marking ติด Barcode สินค้า เพื่อป้องกันการขายสินค้าผิดรายการ พร้อมทั้งติดป้ายบ่งชี้ ป้ายกำกับ และการ Test Scan ที่ถูกต้อง

2. ขอบเขต

เป็นวิธีปฏิบติงานเพื่อให้เป็นแนวทางในการ Pack สินค้าประเภทต่าง ๆ ให้มีรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับสินค้านั้น ๆ ให้มีความสวยงาม เรียบร้อย และมีรูปแบบในทิศทางเดียวกัน

3. คำจำกัดความ

  • การ Pack สินค้า หมายถึง กระบวนการพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับสินค้านั้น ๆ ให้มีความสวยงาม เรียบร้อย และมีรูปแบบในทิศทางเดียวกัน

  • การ Test Scan สินค้า หมายถึง การทดสอบสินค้า ด้วยเครื่อง Scan เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้านั้นๆสามารถสแกนผ่านเครื่องได้และรหัสสินค้า ราคาสินค้า ตรงกับตัวสินค้าจริง เมื่อลูกค้านำไปชำระเงินที่จุดแคชเชียร์

4. หน้าที่และความรับผิดชอบ

ตำแหน่งงาน Admin GR หน้าที่
1. เป็นพนักงานผู้จัดพิมพ์เอกสารใบบันทึกผลการตรวจรับสินค้าเข้าคลัง
2. ตรวจสอบ แก้ไข ข้อผิดพลาดที่ตรวจพบจากการ Pack
3. ทำเอกสารการประกอบชุดสินค้า พร้อมตรวจสอบการประกอบชุดสินค้า
4. เป็นพนักงานผู้พิมพ์ Barcode 

ตำแหน่งงาน End Control หน้าที่
1. เป็นพนักงานผู้ทำการ Packing สินค้า ออกแบบการ Pack การบรรจุสินค้า
2. เป็นพนักงานที่ตรวจสอบปัญหาจากการ Pack
3. เป็นพนักงานผู้ทำการ Test Scan สินค้า

5. วิธีปฏิบัติงาน

   กระบวนการ Packing มีส่วนการ Packing 2 กรณี คือ 

5.1. การรับสินค้าเข้ามาใหม่ มีขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรก ดังนี้.-

5.1.1.พนักงานประจำสินค้า/Section/พนักงานคลัง บันทึกขอซื้อสินค้าจัดพิมพ์ใบขออนุมัติสั่งซื้อสินค้า พร้อมทั้งเขียนแบบฟอร์มใบขอป้ายราคา/Barcode โดยระบุจำนวนสินค้าที่ต้องการให้ติด Barcode หรือต้องการให้ Pack โดยละเอียดและชัดเจน 

5.1.2.ส่งเอกสารทั้งหมดให้กับทางแผนกบริหารสินค้าทำการจัดซื้อสินค้าตามเอกสารใบขออนุมัติสั่งซื้อสินค้า(หากแผนกบริหารสินค้ามีการตัดจำนวนสินค้าลงจากใบขอซื้อจะต้องแก้ไขในแบบฟอร์มขอพิมพ์ป้ายราคา/Barcodeให้สมดุลกันด้วย)

5.1.3. เมื่อแผนกบริหารสินค้าจัดทำใบสั่งซื้อ ผู้อนุมัติเรียบร้อยแล้ว ส่งเอกสารทั้งหมดให้กับแผนกบัญชี

5.1.4.แผนกตรวจรับสินค้าทำการรับสินค้าเข้าและจัดพิมพ์เอกสารใบบันทึกผลการตรวจรับสินค้าเข้าคลังพร้อมกับแนบ แบบฟอร์มใบขอป้ายราคา/Barcode ให้กับพนักงาน End Control Packing เพื่อทำการตรวจสอบการติดบาร์โค๊ต การจัดทำบาร์โค๊ต ตามใบขอพิมพ์ป้ายราคา/Barcode 

5.1.5. แจ้งพนักงานในส่วนของ Admin จัดพิมพ์บาร์โค๊ตสินค้า ตามใบขอพิมพ์ป้ายราคา/Barcode 

5.1.6. ทำการ Test Scan บาร์โค๊ตสินค้า 

5.1.7. ในการตรวจสอบสินค้า บาร์โค๊ต สิ่งที่ต้องตรวจสอบให้ละเอียด และเฝ้าระวัง พนักงานต้องปฎิบัติดังนี้.-

  • พนักงานต้องทำการตรวจสอบบาร์โค๊ตสินค้าให้ถูกต้องตรงตามสินค้า

  • พนักงานต้องตรวจสอบรายละเอียดสินค้า โดยสินค้าที่มาต้องระบุลักษณะให้ชัดเจน

  • เมื่อพบว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ตรง เช่น รายละเอียดสินค้าไม่ตรงกับสินค้าและ ลักษณะการบรรจุ ไม่ตรงกับสินค้า ลักษณะของแพ็คไม่ตรง ให้ดำเนินการแจ้งบริหารสินค้า เพื่อวิเคราะห์และสอบถามข้อมูลทุกครั้ง

  • ในกรณีที่เป็นสินค้าใหม่ ไม่มีความคุ้นเคยกับสินค้านั้น ๆ ให้บริหารสินค้าเป็นผู้พิจารณา รวมทั้งเซ็นต์กำกับในเอกสาร ให้ถูกต้อง และยืนยันตามนั้น

  • การ Test Scan สินค้า เมื่อดำเนินการแก้ไขแล้ว ให้ตรวจสอบอีกครั้ง ซึ่งสินค้านั้นจะต้องมีรายละเอียด ชื่อสินค้า  รหัส บาร์โค๊ด  ยี่ห้อ  หน่วยนับ ครบถ้วนถูกต้องตรงตามสินค้า และการแก้ไขสินค้านั้น (ถ้ามี)

5.1.8. End Control Packing ติดบาร์โค๊ตสินค้าตามแผนใบขอพิมพ์ป้ายราคา/Barcode 

5.1.9. เมื่อติดบาร์โค๊ตเสร็จ ดำเนินการแจ้งพนักงานคลัง เพื่อติดต่อขอรับสินค้าเข้าคลังต่อไป

5.2. การนำสินค้าจากโฮมมาร์ทแม็กซ์ออกมาทำการ Packing สินค้า มีแนวนโยบายให้ใช้วิธีการโอนย้ายระหว่างคลัง เป็นการโอนย้ายระหว่างชั้นเก็บสินค้าในคลัง 014 และกำหนดให้ห้อง Packing สินค้าเป็นที่เก็บ SPK (PKS) มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้.-

5.2.1. พนักงานประจำสินค้าที่ทำการนำสินค้าจากคลังสินค้าโฮมมาร์ทแม็กซ์ มาทำการติดบาร์โค๊ต จะต้องนับสินค้าที่นำมา ติดบาร์โค๊ต และทำใบขอโอนย้ายสินค้าระหว่างคลังตามที่นำสินค้ามาจริง 

5.2.2. ส่งเอกสารใบขอโอนย้ายสินค้าระหว่างคลัง พร้อมกับสินค้าให้ Endcontrol ตรวจสอบสินค้าที่โอนออกมาเพื่อติดบาร์โค๊ต ทำการโอนย้ายสินค้าระหว่างคลังจากคลัง 014 ที่เก็บ AVL เป็นคลัง 014 ที่เก็บ SPK(PKS) เพื่อสามารถระบุที่อยู่ของสินค้าได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

5.2.3. พนักงานในส่วนงาน End Control Packing ดำเนินการติดบาร์โค๊ต Packing สินค้า ให้เรียบร้อย แล้วทำการแจ้งยังพนักงานคลัง เพื่อนำสินค้าเข้าคลัง

5.2.4. พนักงานคลังนำสินค้าที่ติดบาร์โค๊ตเสร็จ หรือ Packing สินค้าเรียบร้อยแล้ว ตรวจสอบจำนวนสินค้าที่ Packing และติดบาร์โค๊ตเสร็จ นำเข้าสู่กระบวนการโอนย้ายสินค้าระหว่างคลัง โดยโอนจากคลัง 014 ที่เก็บ SPK (PKS) เข้าสู่คลัง 014 ที่เก็บ AVL ตามจำนวนที่ตรวจนับได้จริง

5.2.5. สินค้าคลัง 014 ที่ โอนเข้ามาห้อง Packing จะต้องมีจำนวนเท่ากับจำนวนที่โอนกลับคลังเดิม หากมีการสูญหาย ถือเป็นความรับผิดชอบของห้อง Packing 

5.2.6. พนักงานสามารถตรวจสอบจำนวนสินค้าที่ค้างในห้อง Packing ได้จากรายงาน ศูนย์บริการระบบรายงาน นพดลพานิช Home > MC-Merchandising(ฝ่ายบริหารสินค้า) > GR-Good Receiving(ตรวจรับสินค้า) > รายงานประจำวัน >รายงานสินค้าสถานะSP

อุปกรณ์ในการ Packing ประกอบด้วย 

  • หัวถุงประเภทต่าง ๆ 



  • ถุงพลาสติกขนาดต่าง ๆ 



  • ฟิล์มหด 

  • เครื่องมือในการ Pack 



  • แผ่นฟิล์ม



  • เครื่องพิมพ์ 




  • บาร์โค้ด


วิธีการติดสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ด (Bar Code)

  1. สินค้าชนิดที่เป็นกล่อง สินค้าที่มีลักษณะเป็นกล่องให้ติดสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ด ตรงมุมบนด้านขวาของกล่อง ติดในด้านที่เหมือนกันเพื่อความสะดวกในการเช็คสินค้าและความเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ตะปูที่ขายเป็นกล่อง สินค้าประเภทโคมไฟ,ไฟกิ่ง,พัดลมโคมไฟที่เป็นกล่อง เป็นต้น

  2. สินค้าที่มีลักษณะเป็นแท่งยาว ให้ติดสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ด ตามแนวยาวของตัวสินค้า เช่น ฟุตเหล็ก เหล็กฉาก ระดับน้ำ คิ้วกระเบื้อง ท่อน้ำไทย แท่งกาวโหลด รางเก็บสายไฟ ดอกสว่านที่ไม่ต้องแพ็ค เป็นต้น

  3. สินค้าที่มีลักษณะโค้ง ขรุขระ ไม่สามารถติดสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ดได้ ให้แพ็คใส่ถุงพลาสติกใสที่ทางบริษัทได้เตรียมไว้ให้ ซึ่งจะมีหัวถุงของบริษัทนพดล พานิช จำกัด ใช้ปิดปากถุง ก็ให้ติดสติกเกอร์บาร์โค๊ด ตรงหัวถุงด้านที่ใช้สำหรับให้ติดสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ด เช่น สกรูเกลียวที่แบ่งขายเป็นแพ็ค ตะปูที่แบ่งขายเป็นแพ็ค 

  4. สินค้าที่แบ่งขายเป็นแพ็ค เช่น ปูน แชล็ค รวมถึงกาวยาแนว ให้ติดสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ด ตรงมุมบนด้านขวาของถุงที่ทำการแพ็คเสร็จเรียบร้อยแล้ว ติดทางด้านหน้าของตัวสินค้า

  5. สินค้าที่ไม่สามารถแพ็คใส่ถุงได้ เช่น ข้อต่อ ข้องอ บอลวาล์ว ท่อพันเกลียว ให้ติดสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ด ตรงตำแหน่งที่สามารถติดสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ดได้ ไม่ไห้ติดตามความโค้งงอของตัวสินค้า ซึ่งจะทำให้สแกนบาร์โค๊ดไม่ได้ หรือสแกนบาร์โค๊ดไม่ผ่าน

  6. สินค้าที่ลื่นไม่สามารถติดสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ดได้ ให้ใช้ฟิล์มหดเป็นตัวห่อสินค้านั้น แล้วใช้เครื่องเป่าลมร้อนเป่า แล้วจึงติดสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ดได้ เช่น ข้องอแป๊บ ยูเนี่ยนแป๊บ เป็นต้น

  7. สินค้าประเภทประตู/บานซิงค์ที่อยู่ในกล่อง ให้ติดสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ดตรงด้านข้างของกล่องของสินค้าและต้องติดในแนวเดียวกัน ซึ่งเวลาที่วางซ้อนกันหลายๆชั้น จะสามารถดูบาร์โค๊ดได้ว่าเป็นสินค้ารุ่นเดียวกัน ประเภทเดียวกันหรือไม่ เพื่อความสะดวกในการเช็คสินค้า และหยิบขายให้ลูกค้า 

  8. สินค้าที่ไม่ต้องติดสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ด เช่น กระดาษทรายที่ไม่ต้องติดบาร์โค๊ด และสินค้าอื่นๆ ที่ไม่ต้องติดบาร์โค๊ด จะใช้ยิงบาร์โค๊ดที่แคชเชียร์ ซึ่งตรงจุดแคชเชียร์จะมีแฟ้มที่เก็บสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ดสินค้าเพื่อสแกนขาย ซึ่งจะมีการแยกประเภทสินค้าไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกของแคชเชียร์

  9. สินค้าที่มีส่วนประกอบ 2 ส่วน ในการแพ็คกิ้งสินค้าดังกล่าว ให้ แพ็คสินค้าดังกล่าวเข้าด้วยกัน โดยซ้อนไว้ข้างบน หรือ แพ็คติดกัน โดยใช้เทปปิดกล่องสีใส พันสินค้าเพื่อยึดสินค้าเข้าด้วยกัน เช่น ดีดีโพลียูรีเทน สีอีพ๊อกซี่ ฯลฯ

  10. สินค้าที่เป็นแพ็ค โดยไม่นำมาแยกขาย ให้จัดทำ บาร์โค๊ตแบ่งขายใช้ในการติดสินค้า โดยระบุจำนวนสินค้าที่อยู่ในแพ็คให้ชัดเจน อ่านออกง่าย เช่น ผ้าปิดจมูก พรมกันลื่น 

ข้อควรระวังในการติด Bar code 

  1. สินค้าที่มีรายละเอียดของสินค้า ไม่ให้ ติดสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ดทับตรงที่มีรายละเอียดของสินค้า ให้ติดตรงตำแหน่งที่ว่างของตัวสินค้า เพื่อที่ลูกค้าจะได้อ่านดูรายละเอียดของสินค้า และใช้ตัดสินใจในการซื้อสินค้านั้นๆ เช่น คุณภาพสินค้า บริษัทผู้ผลิต วัน/เดือน/ปี ที่ผลิต เป็นต้น 

  2. การติดสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด ต้องพิจารณาก่อนว่า สินค้าที่จะนำมาติดสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด มีลักษณะเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้ทำการแพ็คหรือการติดสติ๊กเกอร์ได้ถูกต้องตามวิธีที่ระบุไว้ข้างต้น

  3. การติดบาร์โค้ด ในแต่ละครั้งจะต้องติดในแนวเดียวกัน เพื่อเป็นมาตราฐานในการติดบาร์โค้ด

  4. บาร์โค้ดแบ่งขาย ต้องระบุจำนวนสินค้าให้อ่านได้ชัดเจน ถ้าเขียนจำนวนไม่ชัดเจนต้องเปลี่ยนใหม่ทันที

  5. ต้องตรวจสอบสินค้าโดยการ Test Scan Barcode ทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง



ตัวอย่างรูปแบบการ Packing

 




ตัวอย่างสินค้าแบ่ง Pack เป็น กก. 


ตัวอย่างสินค้าที่ใช้แขวน 





ตัวอย่างสินค้าประเภท แปรงทาสี 


ตัวอย่างสินค้าประเภท สกรู 

ตัวอย่างสินค้าประเภท ตะปู 




การบรรจุสินค้าประเภทชุด 



การบรรจุสินค้าประเภทเกรียงใบโพธิ์ 

การบรรจุสินค้าผ้าปิดจมูก 




การติดบาร์โค๊ต สินค้าแบ่งขาย เป็นหีบห่อ ชุด 





การบรรจุสินค้าประเภท อุปกรณ์ไฟฟ้า





การบรรจุสินค้าประเภท กระเบื้องแต่งลาย 



การติด Barcode อุปกรณ์ PVC 





การติด Barcode ท่อ PVC 




การติด Barcode อุปกรณ์ ท่อเหลือง 



การ Packing และ การติด Barcode บอลวาล์ว และประตูน้ำ

 

วิธีการแพ็คสินค้า SPO ประกอบเซ็ท

  1. เมื่อสินค้าเข้าพนักงาน GR จะต้องจัดแพ็คสินค้าประกอบเซ็ทไว้ให้เรียบร้อย กรณีอุปกรณ์ต่างๆ ให้จัดเซ็ทใส่กล่องหรือแลปรวมกันไว้ให้เรียบร้อย